จังหวัดนราธิวาสเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง
ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำบางนราติดชายทะเลอ่าวไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านบางนราถูกจัดให้อยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี
ต่อมาถูกย้ายมาอยู่ในปกครองของเมืองระแงะ ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลปัตตานี ปี พ.ศ.
๒๓๕๕ เกิดมีโจรร้ายปล้นสะดมมากมายในมณฑลปัตตานี
เหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะจัดการลงได้
จึงขอความช่วยเหลือไปยังพระยาสงขลาให้ช่วยมาปราบปรามจนสำเร็จ
พร้อมทั้งวางนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง คือเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี
และเมืองยะหริ่ง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดกบฏใน ๔ หัวเมืองปักษ์ใต้
โดยมพระยาปัตตานี พระยาหนองจิก พระยายะลา และพระยาระแงะ สมคบร่วมกัน
พระยาสงขลาจึงยกกำลังมาปราบปรามโดยมีพระยายะหริ่งเป็นกำลังสำคัญช่วยทำการปราบปรามจนสำเร็จ
ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะสืบต่อจากพระยาระแงะที่หลบหนีไป
และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส หรืออำเภอระแงะ
ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกการปกครองแบบเก่า
ขณะเดียวกับบ้านบางนราได้เจริญขึ้นเป็นชุมชนใหญ่
จนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าขายทั้งทางบกและทางทะเล
และเพื่อให้การดูแลและขยายเมืองเป็นไปด้วยดี ในวันที่ ๒๗
กรกฎาคมปีเดียวกันจึงมีประกาศพระบรมราชโองการให้แยก ๗ หัวเมืองออกจากมณฑลเทศาภิบาล
เรียกว่า มณฑลปัตตานี ในช่วงนี้ได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้
ได้เสด็จพระราชดำเนินยังบ้านบางนราในวันที่ ๑๐ มิถุนายน และพระราชทานชื่อว่า นราธิวาส อันมีความหมาย
ว่าที่อยู่ของคนดี ถัดมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕
มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่
โดยการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด
เมืองนราธิวาสจึงเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนราธิวาสนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น