ประเพณีมาแกปูโล๊ะเป็นประเพณีไทยดั้งเดิมของชนชาวมลายูท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน
ตั้งแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อท้องถิ่นมลายูก่อนที่จะรับเอาศาสนาอิสลามในเวลาต่อมา
ในท้องถิ่นมลายูในจังหวัดชายแดนใต้มีการเรียกงานมาแกปูโล๊ะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละงาน
เช่น งานดุหรี งานมาแกแต งานมาแกปูโล๊ะ
งานแบะเวาะห์
หรือกินเหนียวและกินบุญของชาวไทยพุทธนั้นเอง
และอีกความหมายหนึ่งนั้นหมายถึง
เป็นการตั้งคำถามกับหนุ่มสาวว่าเมื่อไหรจะมาแกปูโล๊ะกับเขาบ้าง (
เมื่อไหรจะมีงานแต่งงานเป็นของตนเอง )
ประเพณีมาแกแต
เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า กินน้ำชา เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประเพณีมาแกแต
หรือกินน้ำชา ไม่ใช่วัฒนธรรมทางศาสนาอิสลาม
แต่เป็นเรื่องที่สังคมในท้องถิ่นคิดจัดขึ้นมาเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหาเงิน
เนื่องในกรณีต่างๆเช่น
1.
หาเงินเพื่อสร้างโรงเรียน มัสยิด สุเหร่า ศาลา ฯลฯ ซึ่งเป็นศาสนสถานต่างๆ
2.
หาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมกกะฮฺ
ซึ่งไม่ใช่บัญญัติของศาสนา
3.
หาเงินไปใช้จ่ายในกรณีต่างๆ เช่น ขับรถยนต์ชนคน ชำระหนี้สิน ซื้อปืน
หรือถูกจับในข้อหาต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น