วันนี้ในอดีตเมื่อ
22 ปีที่แล้ว ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ
สมเด็จย่า เสด็จสวรรคตที่โรงพยาบาลศิริราช รวมพระชนม์มายุ 95 พรรษา
พสกนิกรชาวไทยต่างตกอยู่ในความตกใจระคนกับความเศร้าโศกเสียใจที่ได้ทราบข่าว
แถลงการณ์สำนักพระราชวังฉบับที่
18 ประกาศว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระอาการทรุดลง
เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน
พระหทัยทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต
คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่างๆ
รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิด
ปกติของพระยกนะ แต่พระอาการตั้งแต่เช้าจนเที่ยงของวันที่ 18
กรกฎาคมคงอยู่ในภาวะวิกฤต
เวลาประมาณ
18 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าฯ
สมเด็จพระบรมราชชนนี ณ ห้องประทับ ตึก 84 ปี
ประทับข้างพระแท่นสมเด็จพระบรมราชชนนีพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระนัดดา ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย
ศรสงคราม
ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าฯ ด้วย
เวลา
21.17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกราบที่พระหัตถ์ พระประยูรญาติทรงกราบ
และผู้ที่เข้าเฝ้าฯ ทุกคนในที่นั้นจึงหมอบกราบพร้อมกัน
เมื่อประมาณ
16.30 น. ก่อนที่จะมีพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา
อากาศก็เปลี่ยนไปมีเมฆครึ้มและฝนตกอย่างหนัก
"สายฝนที่หลั่งไหลทำให้บรรยากาศซึมเศร้าเป็นที่อัศจรรย์แก่พสกนิกรทั่วกัน"
ในระหว่างที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่มากมาย ที่เป็นการช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์
ไม่ว่าจะเป็นโครงการหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.)
โครงการมูลนิธิขาเทียม โครงการมูลนิธิถันยรักษ์
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โครงการพัฒนาดอยตุง ฯลฯ
เมื่อวันที่
21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United
Nations for Education, Science and Culture Organisation: UNESCO) จึงได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็น
"บุคคลสำคัญของโลก" ยังความภาคภูมิใจของพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก
ในด้านการปกครองราชอาณาจักรไทย
พระองค์ทรงเป็น "สมเด็จพระราชชนนี" ของในหลวงถึง 2 รัชกาลด้วยกัน
ยิ่งไปกว่านั้นยังทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยมในพระราชจริยวัตรของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
โดยเฉพาะในเรื่องของความประหยัด ความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่เราไม่อาจหาแบบอย่างใดที่ดีเยี่ยมไปมากกว่านี้ได้แล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพ
ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระบรมศพ ณ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
และจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ระหว่างวันที่ 9 - 14 มีนาคม 2539 วันที่ 9 มีนาคม บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันที่
10 มีนาคม เวลา 07.00 น. อัญเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศเวลา 16.30 น.
ถวายพระเพลิงพระบรมศพเวลา 22.00 น. ถวายพระเพลิงพระบรมศพ (จริง) วันที่ 11 มีนาคม เก็บพระบรมอัฐิ
และเชิญพระโกศพระบรมอัฐิและผอบพระราชสรีรางคาร ไปยังพระบรมมหาราชวัง
12
มีนาคม บำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 13 มีนาคม
เลี้ยงพระ และเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
14
มีนาคม 2539 อัญเชิญพระราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์
ไปยังอนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น