“คำขวัญประจำอำเภอ หลายประเพณีที่สร้างตน ต้นลำธาร หวานผลไม้ ใต้เหมืองทอง”
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
(สมเด็จย่า) พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายเจ๊ะนาแว หะมะ เข้า
เฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่ดินบริเวณเขาไอดีแยให้นิคมก่อสร้าง
ตำหนักประทับ
..เรารัก.....สุคิริน.... คำว่า "สุคิริน" เป็นชื่อตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระราชทานเมื่อคราวเสด็จมาประทับแรม เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งหมายความว่า "พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม" ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระราชทานเพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยป่าและภูเขา
มีพรรณไม้นานาชนิดขึ้นอยู่อย่างงดงาม
อำเภอสุคิรินเดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้น
พ.ศ. 2474
ชื่อ กิ่งอำเภอปาโจ ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ (อำเภอแว้งในปัจจุบัน) กิ่งอำเภอนี้จัดตั้งเพราะมีชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาขอสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณเทือกเขาลีซอ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโต๊ะโมะ มีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก
ทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง
ดูแลผลประโยชน์ของทางราชการในการจัดเก็บภาษีอากรและให้บริการประชาชน
โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลโต๊ะโมะและตำบลมาโมง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482
เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น ชาวฝรั่งเศสเจ้าของกิจการเหมืองแร่ทองคำได้หนีภัยสงคราม
จึงทิ้งเหมืองแร่ทองคำ ดังนั้นรัฐบาลไทยโดยกรมโลหะกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม
ได้แต่งตั้งพระอุดมธรณีศาสตร์ มาเป็นผู้ดำเนินการเหมืองแร่ทองคำดังกล่าวแทน
ประมาณปีเศษเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในบริเวณเหมืองแร่ทองคำ และต่อมาได้ล้มเลิกกิจการไป
คนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้อพยพออกหมด
ต่อมาใบปี
พ.ศ. 2506
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้
จังหวัดนราธิวาส เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจนและไม่มีที่ดินทำกินจากท้องที่ต่าง ๆ
เข้ามาประกอบอาชีพ เขตนิคมคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ
อำเภอสุคิรินและอำเภอจะแนะ เมื่อวันที่ 1
มีนาคม พ.ศ. 2520 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอสุคิริน ขึ้น
ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลมาโมงและตำบลสุคิริน และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.
2529 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอสุคิรินเป็น อำเภอสุคิริน
จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น