ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
เพียง 4 กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย
18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ
หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มัสยิดวาดิลฮูเซ็น
เป็นมัสยิดเก่าแก่และมีประวัติอันยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ามัสยิด 200 ปีบ้าง
มัสยิด 300 ปีบ้างมัสยิดวาดิลฮูเซ็น (มัสยิดตะโละมาเนาะ : 200 ปี)
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาสเพียง 4 กิโลเมตร
ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย 18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี
ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ
อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
มัสยิดแห่งนี้สร้าง
แบบศิลปไทยพื้นเมืองประยุกต์กับศิลปแบบจีนและศิลปแบบมลายู
ส่วนที่เด่นที่สุดของมัสยิดนี้จะอยู่ที่หลังคาอาคารหลังแรกส่วนที่เป็นมิหรอบ
หลังคามี 3 ชั้น มุงด้วยกระเบี้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 3
มีโดมเป็นเก๋งจีนอยู่บนหลังคา เป็นศิลปแบบจีนแท้ เสาจะแกะสลักเป็นรูปดอกพิกุล
ในสมัยนั้นเก๋งจีนจะใช้เป็นหออะซาน(สำหรับตะโกนเรียกคนมาละหมาด) ส่วนหลังที่ 2
จะมีหลังคา 2 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 2
จะมีจั่วอยู่บนหลังคาชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง
มีรูปแบบทรงไทย แบบหลังคา โบสถ์วัดทั่ว ๆ ไปรอบ
ๆฐานดอกพิกุลหงายจะแกะสลักเป็นลายเถาว์ก้านมุมหลังคาด้านบนของอาคารทั้ง 2 หลัง
ใช้ปูนปั้นเป็นลายกนก ลายเถาว์ก้าน มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่
ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมาหลายชั่วอายุคนซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชุมชนมาก
ประวัติมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็นมัสยิดวาดี
อัล ฮูเซ็น หรือ มัสยิด ตะโละมาเนาะ หรืออีกชื่อหนึ่งคือมัสยิด ๓๐๐ ปี
เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะเพียง ๔ กิโลเมตร
ทางเข้ามัสยิดแห่งนี้แยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ (สายเอซีย๑๘ )
เส้นนราธิวาส – ปัตตานี
ตรงทางแยก บ้านบือราแง รถยนต์สามารถเข้าถึงมัสยิด มัสยิดแห่งนี้สร้างโดย วันฮูเซ็น
อัส ซานาวี ซึ่งเป็นครูสอนศาสนาอพยพมาจากบ้านสะนอ จังหวัดปัตตานี
ตามบัญชาของราชาซาลินดงบายู หรือ
ราชาตะลูบันเมื่อครั้งอพยพหนีการรุกรานของกองทัพสยามแต่ความจริงแล้วกองทัพสยามไม่ได้ยกทัพมาตีเมืองปัตตานี
ผู้บุกเบิกมัสยิดวาดี อัล
ฮูเซ็น (มัสยิดตะโละมาเนาะ)
มัสยิด วาดี อัล ฮูเซ็น
ได้ริเริ่มสร้างโดย วันอูเซ็น อัส-ซานาวี เป็นอิหม่ามคนแรกของมัสยิด
หลังจากที่ท่านเสียชีวิตผู้ครอบครองมัสยิดก็ยังคงเป็นบรรดาลูกหลานของท่านจนถึงทุกวันนี้
วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี
คือใคร
วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี
คือผู้ริเริ่มก่อสร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ หรือ มัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น
หรืออีกชื่อหนึ่งคือ มัสยิด ๓๐๐ ปี มัสยิดเรือนไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในแถบนี้ คำว่า “อัส-ซานาวี”
คือ
ชื่อเรียกตามภูมิลำเดิมของท่าน คือ ท่านมาจากหมู่บ้านสะนอญัณญาร์ จังหวัดปัตตานี
ท่านและภรรยานางกัลซุม(ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านม่วงหวาน
จังหวัดปัตตานี)พร้อมด้วยลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นผู้บุกเบิกหมู่บ้านตะโละมาเนาะ
รายงานกล่าวว่า
อิหม่ามวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี เป็นอิหม่ามใหญ่แห่งบ้านสะนอ ญันญาร์ ได้ผลิตอูลามะอฺ
(นักปราชญ์หรือผู้รู้ในด้านศาสนา)ของเมืองปัตตานี ท่านเป็นศิษย์ของ ท่านสุนัน
อัมเปล อูลามะอฺที่ไปเปิดสถาบันปอเนาะ ณ เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย
และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่าน
อิหม่ามวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี
เป็นอูลามะอฺที่สามารถท่องจำภัมคีร์อัลกรุอานได้หมดทุกบทอย่างลึกซึ้ง(ฮาฟิส)ทั้งยังสามารถเขียนอัลกุรอานด้วยลายมือตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากมายต่อชาวไทยมุสลิมและตำราด้านศาสนาอิสลามให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา
ซึ่งปัจจุบันนี้อัลกุรอานที่ท่านเขียนไว้ยังคงอยู่และอยู่ในความดูแลของหะยีอับดุลฮามิด
บินหะยีอับดุลยูโซะ(ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) เชื้อสายตระกูลวันฮุเซ็น ลำดับที่ ๖
วันฮุเซ็น มีพี่น้องหลายคน
รายงานระบุว่าท่านมีพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน คนโตมีชื่อว่าวันสนิหรือวันอิดริส
กระทั่งนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงคนหนึ่งของเมืองปัตตานีที่มีนามว่า
เชคดาวุด อับดุลเลาะ อัล ฟาตอนี ก็คือหลานคนหนึ่งของวันฮุเซ็น
บิดาของวันฮุเซ็นมีชื่อว่า สุลต่าน ก็อมบุล หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สัยยิดอะลี
นูรุล-อาลัม มีประวัติที่พิสดารมาก และมีความสัมพันธ์กับวาลี(ผู้มีญานวิเศษ)ทั้ง ๙
ของอินโดนีเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น