วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

ประวัติตาลโตนด ของดีเมืองสทิงพระ จ.สงขลา



คนไทยรู้จักตาลโตนดมาครั้งปู่ย่าตายาย หลายคนคุ้นเคยกับต้นตาลโตนดตั้งแต่เล็กจนโตเห็นตาลโตนดยืนต้นอยู่หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ต้นตาลโตนดให้ผลผลิตติดต่อกันถึง 80 ปี
บนคาบสมุทรสทิงพระตอนล่าง  ( อำเภอกระแสสินธุ์  อ. สทิงพระ อ.สิงหนคร)  ประชาชนส่วนใหญ่ทำนาน้ำฝนปีละครั้งหลังจากนั้นคนจะว่างงาน ในช่วงนี้เองต้นตาลโตนดจะให้ผลมาก ทั้งลูกทั้งน้ำ จะให้ผลผลิตน้อยในฤดูฝนชาวบ้านก็หันไปทำนาต่อเป็นการเติมช่วงวัฎจักรของอาชีพในรอบปีของชาวบ้าน ตาลโตนดเป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกปีติดต่อกันหลายชั่วอายุคนหรือประมาณ 80 ปี มีสารพัดประโยชน์ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอและมั่นคงก่อให้เกิดอาชีพหลากหลายในชุมชน ทั้งอาชีพโดยตรงและอาชีพเสริมได้แก่  เกษตรกรผู้ดำเนินกิจกรรมการเพาะเมล็ดเพื่อให้ได้จาวตาล อาชีพปาดตาล อาชีพทำน้ำตาลโตนด อาชีพขายน้ำตาลโตนด อาชีพเกี่ยวของกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด เช่นน้ำผึ้ง น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่น  หรือขนมต่างๆ เช่นขนมตาล จาวตาลเชื่อม หัตถกรรมจากใยตาล ใบตาล ไม้ตาล ฯลฯ ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอผลผลิตและรายได้ไม่ผันผวนมากนัก สามารถผลิตและดำรงชีพอยู่ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลารายงานว่าในปี 2542 เกษตรกรในจังหวัดสงขลามีรายได้จากการประกอบอาชีพจากตาลโตนดเป็นรายได้เสริมรวมประมาณ 394.7 ล้านบาท / ปี



ต้นตาลโตนดสามารถใช้ทำประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งราก ถึงยอด ซึ่งสามารถสรุปได้ดั่งนี้
         ลำต้น   ใช้ทำเครื่องเรือน   ก่อสร้าง  เชื้อเพลิง  แปรรูปเป็นงานหัตถกรรมไม้ตาล
         ทางตาล  ใช้ทำรั้ว คอกสัตว์เลี้ยง เชื้อเพลิง  ทำเส้นใยงานจักสาน  ทำขะเน็ด ( เชือก )  ผูกพะอง ไม้ไผ่หรือใช้เย็บใบจากสำหรับมุงหลังคา  ทำเก้าอี้
         ใบตาล  ใช้มุงหลังคา เชื้อเพลิง  เถ้าถ่านให้ธาตุโปรแตสเซื่ยม ลิ้นขลุ่ย  หมวก  กระเป๋า  และภาชนะต่างๆ
         ใยตาล ใช้ในงานหัตถกรรม  เช่นทำ  หมวก   กระเป๋า   กล่องทีชชู่  ที่ครอบผม   โคมไฟ
          ผลตาล  ใช้ผลอ่อนบริโภค ผลสุก ใช้




การทำแว่นจากตาลตโหนด



น้ำตาลโตนด  นำมาบริโภค ในรูปของน้ำตาลสด  น้ำส้มสายชูหมัก  น้ำตาลเมา ที่เรียก หวาก หรือกระแช่  เคี่ยวเป็นน้ำผึ้งเหลว  (น้ำตาลเข้มข้น ) สำหรับทำน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลแว่น น้ำตาลผง ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (  เหล้าพื้นบ้าน )






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น