สังคมไทยแต่ละภูมิภาค
ต่างดำรงชีวิตและความเป็นอยู่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา
มีทั้งชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน
นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพื้นที่ ที่แตกต่างจากสังคมไทยในภูมิภาคอื่นๆ
หลายประการ
สังคมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ผ่านมา ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข เข้าใจกัน ดำเนินวิถีชีวิตร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมก็อย่างกลมกลืน
ชาวไทยพุทธมักจะร่วมงานประเพณีต่างๆ ของชาวไทยมุสลิม เช่น กวนอาซูรอของชาวมุสลิม
การแต่งกาย การจัดประเพณีงานแต่งงาน การร่วมบริจาคทำบุญเพื่อพัฒนามัสยิด
เป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยมุสลิม
ชาวไทยมุสลิมก็เข้าร่วมประเพณีวัฒนธรรมงานแต่งงาน งานบุญงานบวชของชาวไทยพุทธ
ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาหมู่บ้าน พัฒนาวัดในพื้นที่ สำหรับในด้านอาหารการกินก็มีให้เลือกรับประทานอย่างหลากหลาย
ทั้งอาหารไทย อาหารจีน อาหารมุสลิม อาหารมุสลิมที่มีชื่อของสามจังหวัดชายแดนใต้
เช่น มะตะบะ ตือโบ๊ะ ไก่กอและ ก็เป็นอาหารที่นิยมของผู้คนในพื้นที่
จากความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ถึงแม้ว่า จะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่อยู่บ้าง
อย่างไรก็ตาม
แม้เหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในพื้นที่ในอดีต อาจทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้
แต่วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ทั้งชาวไทยพุทธ มุสลิม คนไทยเชื้อสายจีน
ก็ยังคงมีความรักความผูกพัน สมัครสมานสามัคคี
ช่วยเหลือเกื้อกูลกันซึ่งกันอย่างแน่นแฟ้น รวมถึง
ร่วมมือกันเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยหวังว่า
จะนำความสงบสุขในพื้นที่จะกลับมาอีกครั้ง
เพื่อให้เป็นสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ดึงดูดผู้คนมาท่องเที่ยวและและมาเยี่ยมเยี่ยมดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น