วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

ซัมบูซะ


ซัมบูซะ หรือ ซาโมซา(Samosa) เป็นอาหารว่างของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะรูปร่างคล้ายกระหรี่ปัํบของไทย แต่มี
วิธีการทำและส่วนผสมที่แตกต่างมาก โดยทั่วไปจะนิยมกับประทานเป็นจำนวนมากในประเทศอินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซียและสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย


ประวัติศาสตร์ของซัมบูซะ
Samosa ได้รับความนิยมเป็นขนมขบเคี้ยวในชมพูทวีปมานานหลายศตวรรษ เป็นที่เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดในช่วงก่อนศตวรรษที่10ในเอเชียกลาง (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ samsa) นักประวัติศาสตร์ชาว

อิหร่านชื่อ Abolfazl Beyhaqi (995-1077) ได้กล่าวถึงซาโมซ่าในบันทึกของเขา(Tarikh-e Beyhaghi) ซึ่งมีข้อมูลว่า Samosa ถูกนำไปชมพูทวีปในสมัยศตวรรษที่ 13 หรือ 14 โดยพ่อค้าชาวอิหร่า Amir Khusro (1253-1325) 



นักวิชาการและกวีของสุลต่านแห่งเดลีได้เขียนในช่วงศตวรรคที่13 ว่าเจ้าชายและขุนนางทรงมีความสุขกับการทาน Samosa ที่เตรียมจากเนื้อเนยหอมและส่วนประกอบอื่นๆ  Ibn Battuta นักเดินทางและ

นักสำรวจในช่วงศตวรรษที่ 14 ได้อธิบายถึงอาหารในราชสำนักของ Muhamad bin Tughluq ว่า samushak หรือ sambusak คือ พายขนาดเล็กอัดแน่นไปด้วยเนื้อสับ almonds pistachio walnuts และ


เครื่องเทศในช่วงศตวรรษที่16มีเอกสารจากบันทึกของโมกุลเกียวกับวิธีการทำ Qutab ซึ่งคนอินเดียวเรียกว่า “Sanbúsah  เราชาวมาลายูก็เรียกสิ่งนี้ว่าซัมบูซ๊ะจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น