ประเพณีมาแกปูโล๊ะเป็นประเพณีดั้งเดิมของชนชาวมลายูท้องถิ่นในสามจังหวัดชานแดนภาคใต้ที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน
ตั้งแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อท้องถิ่นมลายูก่อนที่จะรับเอาศาสนาอิสลามในเวลาต่อมา
ช่วงที่ยังนันถือศาสนาพราหมณ์นั้นในการจัดงานแต่ละครั้งจะมีวัฒนธรรมและพิธีกรรมที่ไม่เหมือนกับปัจจุบัน
ส่วนใหญ่แล้วจะนับถือพวกผี เทวดา เจ้าที่ เจ้าทาง
พิธีกรรมบางอย่างจะอยู่ในรูปของการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ
เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามีบทบาทมากขึ้นมีการเผยแพร่ศาสนากระจายในวงกว้างขึ้น
และมีอิทธิพลต่อคนในพื้นที่มาก ซึ่งได้สอนถึงการนับถือพระจ้าองค์เดียว (อัลลอฮฺ)
เท่านั้น
เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ประเพณีบางอย่างในอดีตค่อยๆหายไปเพราะเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการของอิสลาม
(ซิริก) แต่ไม่ใช่ว่าสูญหายไปแต่จะถูก ปรับ เปลี่ยนอย่างไร จึงจะสามารถดำเนินอยู่ได้ในชุมชนมุสลิมบางชุมชนถึงทุกวันนี้ได้
และจากที่วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปทำให้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในสังคมนั้นอย่างไร
ประวัติความเป็นมาของประเพณีมาแกปูโล๊ะ
การกินข้าวเหนียวนั้นสันนิษฐานว่าแต่เดิมคงจะเป็นประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่ชาวบ้านท้องถิ่นยังนับถือศาสนาพราหมณ์ดังยังที่ปฏิบัติตัวอยู่ในระหว่างชนชาวไทยพุทธในภาคนั้น
เช่นพิธีแต่งงานเรียกว่า “งานกินเหนียว” ต่อมาชนชาวท้องถิ่นภาคใต้ได้รับเอาศาสนาอิสลามมานับถือแล้ว จึงได้แก้ไขให้เข้ากับหลักการของศาสนาอิสลาม
แต่ยังคงรักษาชื่อเดิมไว้อยู่
และสันนิษฐานว่าแต่ก่อน เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ
แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจน กลายเป็นข้าวเจ้า
แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่ากินเหนียวอยู่
ความหมายของมาแกปูโล๊ะ
ในท้องถิ่นมลายูในจังหวัดชายแดนใต้มีการเรียกงานมาแกปูโล๊ะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละงาน
เช่น งานดุหรี งานมาแกแต งานมาแกปูโล๊ะ
งานแบะเวาะห์
หรือกิเหนียวและกินบุญของชาวไทยพุทธนั้นเอง
"มาแกปูโละ" เป็นภาษาท้องถิ่น
แปลว่า "กินเหนียว"คำว่า “มาแก”ในภาษาไทยหมายถึง(กิน) “ปูโล๊ะ” หมายถึง ข้าวเหนียว ประเพณีการกินเหนียวของชาวไทย
ที่นับถือศาสนาอิสลาม จะใช้ในหลายโอกาส เช่น แต่งงานและเข้าสุนัต คำว่า
"กินเหนียว" มิได้หมายความว่า
เจ้าภาพจะบริการอาหารเฉพาะข้าวเหนียวเท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงอาหารธรรมดาทั่ว ๆ
ไปนั้นเอง ซึ่งจะมีอาหารหลายอย่างให้รับประทานกัน และอีกความหมายหนึ่งนั้นหมายถึง
เป็นการตั้งคำถามกับหนุ่มสาวว่าเมื่อไหรจะมาแกปูโล๊ะกับเขาบ้าง(
เมื่อไหรจะมีงานแต่งงานเป็นของตนเอง )
คำว่า
"กินเหนียว" ในกลุ่มชาวพุทธมักจะหมายถึงงาน "แต่งงาน"
มากกว่างานอย่างอื่น เช่น บ้านใดมีลูกสาวหรือลูกชายควรแก่วัยจะมีเหย้ามีเรือนได้แล้ว
ก็มะมีคนถามว่า "บ้านนี้เมื่อไร จะได้กินเหนียว"
การกินเหนียวในกลุ่มชาวพุทธ แขกได้กินเหนียวจริง ๆ กล่าวคือ หลังจาก
รับประทานอาหารคาวซึ่งจะมีอาหารชนิดต่างๆ เสร็จแล้ว เจ้าของงานจะถอนชามกลับ
แล้วยกเอา "ข้าวเหนียว" มาเลี้ยงต่อ "ข้าวเหนียว" ที่ได้รับประทานกันในงานแต่งงาน
มีหลายแบบ เช่น เหนียว สีขาวธรรมดาหรือสีเหลืองคู่กับสังขยา
หรือมะพร้าวผัดกับน้ำตาลเรียกว่า "หัวเหนียว" บางแห่งก็ใช้
ข้าวเหนียวแก้ว บางแห่งใช้กะละแมเป็นหัว ถ้าเป็นสมัยก่อนลงไปอีกหน่อย
แขกสตรีเมื่อไปช่วยงาน จะเอาข้าวสาร ขมิ้น พริกขี้หนู กระเทียม
ตลอดจนเครื่องครัวอื่น ๆ ใส่ "หม้อเหนียว" ไปช่วยงานแทน เงิน
กรณีนี้เจ้าของงานจะต้องห่อข้าวเหนียวใส่ "หม้อเหนียว"
กลับไปให้เจ้าของหม้ออีกด้วย แต่ โดยทั่วไปแล้ว สำหรับแขกสตรีแม้ไม่มี
"หม้อเหนียว"ไปก็จะได้รับห่อข้าวเหนียวกลับบ้านเสมออาหารที่นิยมมาจัดเลี้ยงในงานมาแกปูโล๊ะ
อาหารที่นิยมเลี้ยงในงานมา แกปูโล๊ะก็จะเป็นอาหารธรรมดา เช่น พะแนงเนื้อ มัสมั่น
กอและ คั่วเนื้อ นาสิกราบู (ข้าวยำ)
ขนมจีนเป็นต้น ในชนบทจริง ๆ เครื่องเคียงอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะขาดไม่ได้ คือ
"ษมา" พริกตำกับเกลือ ปรุงรสให้อร่อยมีสีแดงน่ารับประทาน)
สำหรับในตัวเมืองอาหารก็พิสดารไปตามความนิยม ถ้า
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้รับเชิญไปในงาน
กับข้าวที่ต้อนรับก็จะจัดกันพิเศษไปจากการต้อนรับแขก ทั่วไป
ถือว่าเป็นการให้เกียรติกันเป็นพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น