วัดช้างให้ แม้จะได้ยินเรื่องราวและเหตุการณ์ร้ายๆ
เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอยู่ตลอด
แต่ความงดงามในความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชนก็ยังคงดำรงอยู่ ในเรื่องร้ายๆ
ก็มักจะยังมีสิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ เหมือนใน จ.ปัตตานี ที่แม้จะผ่านเรื่องไม่ดีมามาก
แต่ก็ยังมีของดีซ่อนอยู่มากมาย
การเดินทางลงมาที่ปัตตานี
วิธีที่ง่ายที่สุดคือนั่งเครื่องบินมาลงที่สนามบินหาดใหญ่
แล้วนั่งรถต่อมาที่ปัตตานี และก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองปัตตานีนั้น
ก็ต้องแวะสักการะหลวงปู่ทวด ที่ “วัดช้างให้” หรือ
“วัดราษฎร์บูรณะ” อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีแล้ว
ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดขนาดเท่าองค์จริงประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปสักการะ
ใกล้กับวิหารก็มีสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง
สักการะหลวงปู่ทวด
ใครที่รู้จักวัดช้างให้ ก็คงเคยได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
อันเป็นเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาว่า เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา
ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก ท่านจึงได้แสดงเมตตาหย่อนเท้าลงไปในน้ำทะเล
ปรากฏว่าน้ำทะเลบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำจืดและสามารถดื่มกินได้
ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็เป็นที่กล่าวถึงไปทั่ว
ปืนใหญ่พญาตานี
(จำลอง) บนสะพานศักดิ์เสนี จาก อ.โคกโพธิ์ ตรงเข้ามาสู่เขตอำเภอเมืองปัตตานี
เริ่มต้นกันที่ “ศาลหลักเมืองปัตตานี” ที่ตั้งอยู่บริเวณสนามศักดิ์เสนีย์
ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด เมื่อสักการะศาลหลักเมืองแล้ว ก็เดินชมบริเวณรอบๆ
ซึ่งใกล้กันนั้นก็เป็นสะพานศักดิ์เสนีย์ ที่เชิงสะพานฝั่งหนึ่งมี “หอนาฬิกาสามวัฒนธรรม” ที่สร้างขึ้นด้วยการผสมผสานศิลปะไทย
จีน และมุสลิมเข้าไว้ด้วยกัน
ท่าเทียบเรือประมง
ริมแม่น้ำปัตตานี อีกฝั่งหนึ่งของสะพานก็มี “ปืนใหญ่พญาตานี (จำลอง)”
ตั้งอยู่ ปืนใหญ่พญาตานีกระบอกนี้ จำลองขนาดครึ่งหนึ่งจากกระบอกจริง
ส่วนกระบอกจริงนั้นปัจจุบันจัดแสดงอยู่ด้านหน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร
ซึ่งจังหวัดปัตตานีก็ได้ใช้ปืนใหญ่พญาตานีมาเป็นตราประจำจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ สะพานศักดิ์เสนีย์เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปัตตานี
ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดปัตตานี
ริมแม่น้ำปัตตานีใกล้กับสะพานศักดิ์เสนีย์นั้นเป็นท่าเทียบเรือประมง
เราจะได้เห็นเรือประมงของชาวบ้านจอดเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
มัสยิดกลางปัตตานี
และเมื่อเข้ามาถึงเมืองปัตตานีแล้ว ก็อย่าลืมแวะมาที่ “มัสยิดกลางปัตตานี” ซึ่งเป็นศาสนสถานและศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิมในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่ง
มัสยิดกลางปัตตานีสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
25 พฤษภาคม 2506 โดยมีต้นแบบมา จากทัชมาฮาล มียอดโดมสีเขียวขนาดใหญ่กลางอาคาร
และโดมขนาดเล็กลงไปล้อมรอบ 4 ด้าน ด้านข้างมีหออะซาน และมีสระน้ำเบื้องหน้าส่องสะท้อนแสงเงาของมัสยิดอย่างงดงาม
ศาลเจ้าเล่งจูเกียง
หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อีกหนึ่งจุดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเมืองปัตตานีก็คือ
“ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” หรือ “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” ที่นี่เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปัตตานีมาแต่โบราณ
ภายในประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอื่นๆ
ในทุกๆ วันก็จะมีประชาชนเข้ามาสักการะขอพรองค์เจ้าแม่และองค์พระต่างๆ
กันอยู่ไม่ขาดสาย ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่เล่าขานต่อกันมานั้นมีหลากหลาย
แต่ที่คุ้นเคยกันที่สุดก็คือเรื่องที่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อครั้งยังอยู่ที่เมืองจีน
ได้ออกมาตามหาพี่ชายที่หลบหนีการถูกใส่ร้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ปัตตานี
ด้วยความกตัญญู เจ้าแม่จึงออกติดตามหาพี่ชายเพื่อให้เดินทางกลับไปเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย
และได้ลั่นวาจาไว้ว่า หากพี่ชายไม่ยอมกลับมาหามารดา
ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น