จากสภาพปัญหาทรัพยากรทางทะเลที่เสื่อมโทรม
เนื่องจากการจับสัตว์น้ำอย่างผิดวิธีของชาวประมงในสมัยก่อน
ที่มุ่งเน้นเพียงแต่เฉพาะเรื่องของธุรกิจ
จนลืมตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม
จนทำให้สัตว์น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
พี่น้องชาวประมงในหมู่บ้านตันหยงเปา ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
จึงมีแนวคิดในการรวมกลุ่มกัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร
ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์
และสามารถสร้างอาชีพให้กับพี่น้องในพื้นที่ได้อีกครั้งเหมือนในสมัยอดีต
นับเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันจากภาคประชาชนที่คอยขับเคลื่อนการสร้างงาน
สร้างอาชีพในท้องถิ่นขึ้น
โดยไม่ได้มุ่งเน้นแต่ผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ตนเอง เพียงให้รู้ถึงคุณค่า
และรู้จักหวงแหนทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเข้าใจ
สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี
เป็นการรวมกลุ่มกันของพี่น้องประชาชนในชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 52 หมู่บ้าน มีเรือจำนวนกว่า 2,900 ลำ
ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติแล้วนั้น ขณะนี้
ทางสมาคมได้มีความพร้อมในการทำธุรกิจชุมชน
โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการท้องถิ่นและภาครัฐ ในการยกระดับสินค้า
เพิ่มมูลค่า รวมทั้งการสร้างมาตรฐานในการผลิตสินค้าชุมชน
ซึ่งเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ปลากุเลาเค็ม ที่เป็นผลผลิตจากชุมชน
ซึ่งเดิมนั้นชาวบ้านจะนิยมขายเป็นปลาสดให้กับจังหวัดนราธิวาส
ซึ่งขายได้เพียงกิโลกรัมละ 250 บาท
แต่เมื่อมีการเพิ่มมูลค่าและสร้างเรื่องราวให้กับตัวสินค้าแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้นั่น
คือ ผลิตภัณฑ์ปลากุเลาเค็มตากแห้งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก
และมีราคาสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 1,700 บาท
ในอนาคตทางสมาคมได้มีตั้งมาตรฐานของกลุ่มไว้
คือ สินค้าจะต้องสะอาด ปลอดสารเคมีและปลอดภัยกับผู้บริโภค และยังวางเป้าหมายไว้ว่า
ชุมชนแห่งนี้จะต้องเป็นธุรกิจชุมชนประมงต้นแบบ
ที่สร้างความเข็มแข็งให้อำเภอหนองจิก และสามารถเป็นเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ได้ด้วยความร่วมมือกันของคนในพื้นที่และการสนับสนุนจากภาครัฐอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น