ประวัติ
วัดพุทธาธิวาส
ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐
โดยมีคณะผู้เริ่มดำเนินการ คือ พระพิทักษ์ธานี (เล็ก), นายอำเภอเบตงในสมัยนั้น, นายพุ่ม คชฤทธิ์, นายกิมซุ้ย ฟุ้งเสถียรและนายผล สุภาพ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน
พ.ศ.๒๕๑๐ วัดพุทธาธิวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕ ถนนรัฐกิจ หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง อำเภอเบตง
จังหวัดยะลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินเขาสูงเอียงลาดลงไปทางทิศเหนือ
จัดแบ่งพื้นที่วัดออกเป็นชั้นรวม ๕ ชั้น
วัดพุทธาธิวาส
ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขามีพระธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศตั้งโดดเด่นมองเห็นศิลปกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์สวยงามมาก
โดยในองค์มหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา
นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชินีนาถ
ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้พระราชทานนาม และเสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดฉัตรเมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค.
๒๕๓๖
นอกจากนั้นยังมีพระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธานพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, วิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และวิหารพระครูพิศิษฐ์อรรถการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกวัดพุทธาธิวาสเป็นอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญตั้งแต่วันที่
๒ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖
วัดพุทธาธิวาส เป็นวัดที่เงียบสงบ
อยู่ในตัวเมืองเบตง การเดินทางสะดวก นอกจากพระพุทธธรรมกายมงคลแล้ว
ยังมีพระพุทธรูปอื่นให้กราบไหว้อีก ลักษณะของวัดอยู่บนที่สูง ผู้ที่ไม่แข็งแรง
อาจจะเดินไม่สะดวก
จากด้านตัวเมืองหนาแน่น
มองไปทางขวาเห็น “พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ”แห่งวัดพุทธาธิวาส
ตั้งตระหง่านโดดเด่นท่ามกลางแบ็คกราวน์ภูเขาน้อยใหญ่
“วัดพุทธาธิวาส” เดิมชื่อ“วัดเบตง” ไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดมาเมื่อบ่ายวันวานในทันทีที่มาถึงเมืองนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล
เพราะได้ยินถึงกิตติศัพท์ในความเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเบตงมาช้านาน
ในวัดมีเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ
ที่หมายถึงการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า ตั้งเด่นเป็นสง่าด้วยศิลปะศรีวิชัยอันสวยงามสมส่วน
ภายในเจดีย์ชั้นบนสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
และมีพระพุทธธรรมประกาศเป็นพระประทาน มีรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่อยู่ที่ชั้นล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น