วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เมนูอาหารอร่อย...ในภาคใต้ ที่คุณจะต้องลอง !!

          ใครๆ ที่มาเที่ยวปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วก็ไม่พลาดที่จะต้องขอลองลิ้มอาหารอร่อยๆ ประจำท้องถิ่นกันด้วย และแน่นอนว่าเมื่อมาเยือนถึงถิ่นใต้ก็ต้องหาอาหารภาคใต้รสเด็ดมากินกัน ซึ่งทางมุสลลิมไทยโพสต์จึงรวบรวม อาหารภาคใต้ ที่คุณมาปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วต้องลอง!...


          ละแซ เป็นอาหารที่หาซื้อทานได้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ     นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ดูแล้วคล้ายขนมจีนผสมก๋วยเตี๋ยว เพราะเส้นที่ใช้คล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ ส่วนน้ำราดคล้ายน้ำยาปลา ทานกับผักต่างๆเหมือนขนมจีน


          ข้าวยำ จัดเป็นอาหารจานเดียวและถือเป็นอาหารท้องถิ่นของผู้คนทางภาคใต้นิยมกินกันปัจจุบันนิยมกินกันพอสมควร คนทางใต้นิยมกินเป็นอาหารเช้าหรืออาหารกลางวัน
ข้าวยำประกอบด้วยข้าวที่หุงค่อนข้างแข็งนิดหน่อย เครื่องเคียงต่าง ๆ อาทิ มะพร้าวคั่ว  กุ้งแห้งป่น พริกแห้งคั่วป่น ผักชนิดต่าง ๆ ผักที่นิยมใช้ประกอบในข้าวยำอันได้แก่  สะตอหั่นฝอย ถั่วงอก ถั่วฝักยาวหั่นฝอย แตงกวา ตะไคร้หั่นฝอย ใบชะพลูหั่นฝอย  ส้มโอเอามาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ข้าวตังทอดหรือเส้นหมี่ทอดเข้าไปด้วยก็อร่อยล้ำ


          นาซิดาแฆ หรือ นาซิดาฆัง สามารถนิยามเป็นภาษาไทยว่า "ข้าวมันแกงไก่" เป็นอาหารชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ที่นิยมรับประทานกันในตอนเช้า


          ข้าวหมกไก่ รสชาติอร่อยด้วยผงข้าวหมกไก่ เช่น ผงกะหรี่ ผงขมิ้น ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น อบเชยป่น ใบกระวาน พร้อมวิธีทำน้ำจิ้มข้าวหมกไก่อย่างง่ายๆ  และมีการดัดเแปลงเป็นเนื้อวัว หรือ ปลา มากมาย


          ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและ เป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้ของไทย  คำว่า"golek" ในภาษามลายู หรือ ฆอและ หมายถึง กลิ้ง คงหมายถึงการเอาไก่ไปกลิ้งบนไฟ  การนไน้ำกระทิปรุงรส มาราดบนตัวไก่ แล้วย่างไฟ  อาจจะดัดแปลงเป็นปลา เนื้อ ก็ได้



             กะโป๊ะ หรือ กือโป๊ะ เป็นข้าวเกรียบปลาเป็นชิ้นบางๆเอาไปทอด  อาจเป็นชั้นแว่นหนาๆ เป็นอาหารว่าง หรือ ของฝาก ทานพร้อมกับน้ำจิ้ม


          นาซิกาเป๊ะ หรือลาซิติเนะ ซึ่งถ้าจะเรียกแบบไทยๆ ก็คือ ข้าวอัด นั่นเอง คนที่นั่นนิยมทานเป็นอาหารเช้าทานกันสมัน(ซามา) หรือสะเต๊ะ  วิธีทำก็ง่ายๆ คือ หุงข้าวธรรมดาให้ค่อนข้างแฉะ พอข้าวสุกทั่วก็เทใส่ภาชนะที่รองด้วยใบตอง ปิดหน้าข้างบนด้วยใบตองอีกที แล้วหาของหนักทับไว้ ๑ คืน แล้วเอาข้าวอัดนั้นมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม บางคนก็อาจจะเอาข้าวห่อเป็นสามเหลี่ยมแล้วเอาไปต้มให้สุกก็ได้ ข้าวอัดนี้จะทานกับ สมัน หรือสะเต๊
ขนมปำ  เป็นขนมหวานชนิดหนึ่ง บ้างเรียกว่าขนมปำจอก ทำโดยหยอดแป้งลงในถ้วยตะไล ภาษาใต้ เรียกว่า"จอก" ทำโดยนำแป้งข้าวเจ้าผสมกับน้ำตาลโตนดที่มีเชื้อยีสต์อยู่ด้วยแล้วนำไปนึ่งให้สุก ใช้รับประทานกับมะพร้าวขูดคลุกเกลือ"



          ขนมโค หรือขนมโก เป็นขนมพื้นบ้านปักษ์ใต้มาแต่โบร่ำโบราณ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ในการไหว้เจ้าที่เจ้าทาง การสะเดาะเคราะห์ เป็นต้น เป็นขนมที่มีวิธีทำง่ายๆ แค่น้ำแป้งข้าวจ้าวมาละลายกับน้ำพอปั้นได้ ใส่ไส้ด้วยน้ำตาลแว่น แล้วนำไปลวกน้ำร้อนให้พอสุก แล้วนำไปคลุกมะพร้าวอีกทีก็สามารถรับประทานได้แล้ว จะรับประทานเปล่า ๆ หรือ รับประทานกับกาแฟ หรือเครื่องดื่มต่างๆก็อร่อย


           ขนมต้มใบกระพ้อ ขนมต้มใบพ้อ หรือที่เรียกกันว่า ขนมต้ม หรือ ต้ม เป็นข้าวต้มลูกโยนชนิดหนึ่งที่ทำในเทศกาลบุญชักพระของชาวใต้ และยังเป็นขนมที่ใช้ในงานประเพณีหลายๆงานในท้องถิ่นภาคใต้ ที่ใช้กันเป็นหลักคือในงานบุญออกพรรษา การตักบาตรเทโว งานชักพระ งานเดือนสิบ และงานบวช  ขนมต้มทำจากข้าวเหนียว เป็นข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำก็ได้ ผัดกับหัวกะทิให้พอสุก แล้วห่อด้วยใบกะพ้อ เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายกระจับ จะเหลือก้านใบทำเป็นหางไว้สำหรับหยิบหรือ โยนใส่เรือพนมพระ ตามลักษณะของข้าวต้มลูกโยน แล้วเอาไปต้ม หรือนึ่งให้สุก ทานเป็นของหวานที่ทั้งอร่อยและอิ่มท้องด้วย


          ขนมเจาะหู หรือขนมเจาะรู เป็นขนมที่เค้าใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบ
ของภาคใต้ ความหมายปัจจุบ้น ถือเสมือนเป็นเครื่องประดับจำพวกตุ้มหูหรือต่าง
หู หรือเงินรูสมัยโบราณ


         รอเยาะ หรือ เต้าคั่ว บางทีก็เรียกเต้าคั่ว(ออกเสียงว่า ท่าวคั้ว) บางคนก็เรียกว่าสลัดทะเลสาบ เพราะเป็นอาหารชนิดหนึ่งของคนสงขลา สุราษฏร์ เรียกผักบุ้งไต่ราว สตูลเรียก ปัสสะมอต ชายแดนใต้แบบอิสลามมีน้ำราดข้นๆก็เรียกว่ารอเยาะ        อาหารนี้มีลักษณะคล้ายยำสลัด คือมีผักบุ้งหั่นลวก ถั่วงอกลวก แตงกวาหั่น เส้นหมี่ลวก ไข่ต้ม กุ้งทอด เต้าหู้ทอด หมูต้มหรือหูหมู บางทีก็มีเลือดหมูด้วย ทานกับน้ำราดหวานและพริกน้ำส้ม รสหวาน เค็ม และเปรี้ยว ถ้าแบบอิสลามก็จะทำน้ำราดแบบข้นใส่ถั่วป่นและมันบดลงไปด้วยคล้ายสลัดแขก


          ตูปะซูตง คือ อาหารหวานที่นำปลาหมึกมายัดข้าวเหนียวลงท้อง จากนั้นต้มด้วยกะทิและปรุงรสด้วยน้ำตาลแว่นและเกลือ เป็นขนมหวานที่นับวันจะหาซื้อได้ยาก จะหาซื้อกินทีก็ต้องรอช่วงเทศกาล



          ปูโละกายอ เป็นภาษามลายู ปูโละ คือ  "ข้าวเหนียว" กายอ คือ "สังขยา" รวมก็คือ ข้าวเหนียวสังขยา แต่ข้าวเหนียวสังขยาหรือปูโละกายอของปัตตานี จะแตกต่างกับข้าวเหนียวสังขยาของจังหวัดอื่น ๆ คือ ข้าวเหนียวสังขยาของปัตตานีอยู่ติดกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น