ดินแดนกลางหุบเขาและป่าลึกที่เติบโตด้วยทองคำแห่งนี้
ถูกเปลี่ยนเป็นเหมืองครั้งแรกใน พ.ศ.2473
โดยชาวฝั่งเศษเข้ามาติดตั้งเครื่องจักรทำเหมืองทองคำอยู่ระยะหนึ่ง
แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงยกเลิกกิจการไปก่อนเหมืองทองคำดำเนินการอย่างจริงจังใน
พ.ศ.2475 เมื่อบริษัทฝรั่งเศส ชื่อ Societed’Or de litcho เข้ามาสำรวจแล้วว่า
พบว่าลึกลงไปมีแร่ทองคำอยู่มาก
และเนื้อทองคำมีเปอร์เซ็นสูงจึงได้ขอสัมปทานจากรัฐบาลไทยทำเหมืองทองคำเป็นเวลา 20
ปี ภายในเหมืองมีการขุดเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ลึกเข้าไปตามสายแร่
มีประชากรโดยรวมประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นแผนกระเบิกหิน , แผนกเก็บหินใส่รถเข็น
เพื่อเข็นตามรางเข้าไปในเหมือง แผนกตำหินมี 9 สาก 9
กิจการดำเนินการไปจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมืองทองคำต้องปิดตัวลง ชาวฝรั่งเศส
ต้องดินทางกลับประเทศประวัติศาสตร์แห่งเหมืองทองคำโต๊ะโมะจึงเปิดบันทึกหน้าใหม่
โดยการดำเนินการของรัฐบาลไทย แต่ทำได้ไม่นานก็ประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
เพราะอยู่ในช่วงสงครามจึงต้องสั่งปิดเหมือง
ต่อมารัฐบาลให้สัมปทานบริษัทเอกชนดำเนินการอยู่พักหนึ่งก็ได้เลิกไป
เหมืองของที่เคยคึกคักก็กลายเป็นเหมืองร้าง ปัจจุบันเหมืองทองคำโต๊ะโมะได้เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติแล้ว
x
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น