เป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ของจังหวัดสงขลาสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายต้นๆ
กรุงธนบุรี (ประมาณ พ.ศ. 2311) ชื่อเดิมคือ "วัดคงคาวดี"
แต่ชาวบ้านมักจะเรียกกันติดปากว่า "วัดท้ายเสาะ"
ตามชื่อของหมู่บ้านเก่าแก่ของเกาะยอ ต่อมาชาวบ้านได้เรียกวัดแห่งนี้ว่า
"วัดท้ายยอ"
ตามชื่อของเกาะวัดท้ายยอมีโบราณวัตถุที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงาม อาทิ กุฏิเจ้าอาวาสที่เรียกว่า
"กุฏิแบบเรือนไทยปั้นหยา" ซึ่งอายุประมาณ 200 ปี หรือสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 3
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประกอบด้วยเรือน 3 หลัง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นภาคใต้ผสมผสานอิทธิพลจีน
กุฏิแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะคือเสาเรือนของกุฏิจะไม่ฝังลงในดิน
แต่จะตั้งอยู่บนตีนเสาซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างบ้านเรือนในภาคใต้
อีกทั้งการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเกาะยอและกระเบื้องลอนแบบเก่ามีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์
คือเสาเรือนกุฏิจะไม่ฝังลงในดินแต่จะตั้งอยู่บนตีนเสา
ซึ่งเป็นที่รองรับเสาอันเป็นลักษณะเฉพาะของบ้านชาวไทยในภาคใต้เท่านั้นนับว่างดงามและหาดูยากแล้วในสมัยปัจจุบันนี้
สำหรับประวัติการสร้างวัดท้ายยอนั้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างในสมัยใด
แต่คาดว่าน่าจะเป็นวัดแรกของเกาะยอต่อได้รับบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. 2311 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
นอกจากนั้นแล้ววัดท้ายยอยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุควรค่าแก่การศึกษาและเรียนรู้
อาทิ บ่อน้ำโบราณ โรงเรือพระ สถูป หอระฆัง ตลอดถึงร่องรอยของท่าเรือโบราณ
ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของชาวเกาะยอ
ด้านหลังของวัดท้ายยอเป็นที่ตั้งของเขาพิหารหรือเขาวิหาร
ซึ่งประดิษฐานเจดีย์ทรงลังกาที่งดงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้สืบไป
สำหรับกุฏิแบบเรือนไทยทรงปั้นหยาที่มีอายุกว่า 200 ปีนั้น
รูปแบบการสร้างตามสถาปัตยกรรมของภาคใต้ที่ถึงพร้อมด้วยมงคลสูตร
และมาตราสูตรคือด้านหน้าหันออกสู่ทะเลสาบสงขลามีลานกว้างส่วนด้านหลังเป็นเขาเรียกว่าเขาเพหาร
ซึ่งหมายถึงวิหารนั่นเอง
เกาะยอ
จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา
"วัดท้ายยอ"
ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ที่จะต้องมาสักการะ หาความสงบ
ร่มเย็น ในช่วงเวลาดีๆของชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น