ชุมชนธารโต
2
จังหวัดยะลา ขับเคลื่อนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร "โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ"
ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนยกระดับผลผลิต สร้างอาชีพ
และรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคงและยั่งยืน
วันที่
(23 ส.ค.
60) กลุ่มสมาชิกศูนย์เรียนรู้ทุเรียนแปลงใหญ่
อำเภอธารโต พร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมกันทำผลิตภัณฑ์แปรรูปทุเรียน
หลังศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอธารโต
จังหวัดยะลา ได้จัดทำโครงการพัฒนาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ภายใต้ "โครงการ
9101 ตามรอยเท้าพ่อ"
ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ต่อยอดการปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ อำเภอธารโต เพื่อให้เกษตรกร มีโอกาสในการทำงาน
และมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรได้ในราคาที่เป็นธรรม
รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
ให้กับกลุ่มเกษตรกรในกลุ่มผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลาม อีกด้วย
นายธำรงศักดิ์
ชุมนุมมณี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา กล่าวว่า สำหรับ "โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ของกลุ่มชุมชนธารโต 2
ที่นี่จะเป็นการพัฒนาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2560 โดยจะเน้นการนำทุเรียนมาแปรรูป
รองลงมาเป็นมะพร้าวและกล้วยหิน โดยช่วงแรกมีการผลิตแปรรูปทุเรียนเป็นหลัก จะมีชาวบ้านและสมาชิกในกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ใน 2
หมู่บ้าน คือ บ้านบังนังกาแจะ หมู่ที่ 5 และบ้านจาเราะแป หมู่ที่ 3 เข้าร่วมโครงการ
ส่วนรายได้ที่ชาวบ้านจะได้รับนั้น จากเดิมชาวบ้านทำสวน กรีดยาง อยู่แล้ว
เมื่อมาทำงานที่กลุ่มก็จะได้เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท ระยะเวลา 1 เดือน ทำงาน 20 วัน จันทร์ถึงศุกร์ เว้นเสาร์อาทิตย์
การดำเนินงานผลผลิตแปรรูปทุเรียน
จะมี 4
อย่าง คือ ทุเรียนเชื่อมแก้ว ทุเรียนเชื่อมแก้วอบแห้ง ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด
และอีกหลายๆ อย่าง ที่ทางกลุ่มกำลังคิดค้นเพื่อให้ทางกลุ่มอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรตีกรอบที่โรยหน้าทุเรียน
คุกกี้ทุเรียน แคร็กเกอร์ทุเรียน จะมีออกมาเรื่อยๆ
ซึ่งปีนี้คาดว่าผลผลิตทุเรียนแปรรูปจะมีไปเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปี
เนื่องจากทุเรียนในพื้นที่อำเภอธารโต จะออกมาหลายช่วงทำให้รับผลผลิตมาแปรรูป
จำนวนมาก
ในส่วนขั้นตอนการผลิต
หลังจากได้ผลผลิตทุเรียนเข้ามา ก็จะมาเข้าสู่กระบวนการคัดแยกเนื้อทุเรียนดี ไม่ดี
ขนาดเล็ก กลาง จัมโบ้ หรือเป็นรู
หลังจากนั้นก็จะนำทุเรียนมาผ่าเอาเนื้อออกจากเมล็ด ผ่านการสไลด์และทอด
เข้าอบไล่น้ำมัน และนำมาคัดแยกเกรด บรรจุหีบห่อ นำส่งตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง
ส่วนทุเรียนเชื่อมก็มีกระบวนการเหมือนกันทุกขั้นตอนใช้ทุเรียนเปอร์เซ็นต์เท่ากับการทอด
แต่ก่อนจะเชื่อมก็จะต้องนำไปแช่น้ำปูน 1 คืน การเชื่อม 1 ชุด จะใช้เวลา 10 ชั่วโมง เชื่อม 2 ครั้ง และก็จะได้ทุเรียนที่ใส เป็นแก้ว
น่ารับประทาน จากกนั้นก็นำไปบรรจุหีบห่อ แพ็คในกระปุกส่งลูกค้าต่อไป
หลังจากทำผลิตภัณฑ์แปรรูปออกจำหน่าย ผลตอบรับดีมาก ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนเชื่อม
ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน โดยเฉพาะทุเรียนเชื่อม ทุเรียนกวน
ช่วงนี้ทำไม่ทันกับออเดอร์ สั่งจองมาจำนวนมาก
นายธำรงศักดิ์ ชุมนุมมณี
เกษตรกรในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา กล่าวว่า หลังจาก "โครงการ 9101
ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
เข้ามาประโยชน์ที่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับ
จากเดิมชาวบ้านซึ่งทำสวนทุเรียนจะขายผลผลิตทุเรียน
และมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อถึงในสวน ทำให้บางรายโดนกดราคาบ้าง
ทำให้ราคาทุเรียนตกต่ำ เมื่อมี "โครงการ 9101
ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ชาวบ้านก็จะมีทางเลือกที่จะนำทุเรียนมาขายให้กับกลุ่ม
โดยทางกลุ่มจะรับซื้อแพงกว่าท้องตลาด 2-5 บาท ซึ่งก็ต้องแล้วแต่ราคา
คุณภาพผลผลิตด้วย ในส่วนของสมาชิกที่นำมาผลผลิตมาขาย ก็จะได้ส่วนต่าง
ผลกำไรจากการขายผลผลิตแปรรูป และถ้าสมาชิกรายใด
นำผลผลิตแปรรูปไปขายก็จะได้เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 10
บาท เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังทำให้พื้นที่มีความคึกคัก
ในอดีตบุคคลภายนอกมองพื้นที่อำเภอธารโต น่ากลัว และมีเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่ ณ วันนี้
มุมมองของที่นี่เปลี่ยนไป เมื่อมีผลผลิตต่างๆ ออกไป มีการสื่อสิ่งดีๆ ในพื้นที่
ออกไปให้สังคมได้รับรู้ ได้เห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้าน การรวมกลุ่ม
เห็นความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้ ทำให้ ณ วันนี้ มีประชาชนจากพื้นที่ต่างๆ
เข้ามาศึกษาดูงานกันเพิ่มมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น