วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

“นครพอเพียง” ต้นแบบการจัดการป่าชุมชนที่ยั่งยืน



แนวคิดเรื่องการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและป่าไม้ ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนนั้นมีหลายรูปแบบหลากหลายความคิด มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามีมีส่วนร่วมและดำเนินการในเรื่องนี้กัน หลายรูปแบบหลายวิธีการในช่วงที่ผ่านมา มีแนวทางหนึ่งที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด และถือว่าก้าวหน้ามากที่สุดในขณะนี้คือ "ป่าชุมชน



สำหรับ ป่าชุมชนเป็นแนวความคิดที่จะให้คนในชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์พึ่งพิง ป่าไม้ในรูปปัจจัย 4 ของการดำรงชีวิต ในขณะเดียวกันไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลและยั่งยืนเคียงคู่ไปกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนนั้นๆ โดยราษฎรในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าและเข้าถึงทรัพยากรป่าไม้ได้ มากขึ้น ซึ่งความพยามเหล่านี้ได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปี 2530 ได้มีป่าชุมชนเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร สนับสนุนการเพาะกล้าไม้ และส่งเสริมให้ชุมชนปลูกป่า และบริหารจัดการโดยชุมชนในพื้นเองจนถึงขณะนี้หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าสนับสนุนโครงการการดำเนินงานของป่าชุมชนมากยิ่งขึ้น




"นครพอเพียง เป็นแนวคิดการยกคนออกจากป่า โดยจัดสรรที่ดิน ประมาณ 150ไร่ที่เหมาะสมกับการกิน แบ่งให้สมาชิกครอบครัวละ 2 งาน พร้อมส่งเสริมาชีพให้พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำเกษตรสวนผสม ปลูกผักปลอดสาร เลี้ยงปลานิล เลี้ยงหมู ขณะนี้มีสมาชิกในนครพอเพียง 110 ครอบครัว แยกกันปลูกพืชแต่ละชนิดให้พอกินในสมาชิก มีการเลี้ยงปลารวมกัน แบ่งสรรประโยชน์ตามสัดส่วนการถือหุ้น มีโรงสี บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ กำหนดกฎกติกาในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ทำให้ป่าชุมชนเขาวงประสบความสำเร็จในดับหนึ่ง และได้หารือวางแผนถึงการพัฒนาที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตในนครพอเพียงให้ สมาชิกเพิ่มมีรายได้มากขึ้น




..............................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น