คำว่า "ทุเรียน" (durian) มาคำจากภาษามลายู
คือคำว่า duri (หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย -an (เพื่อสร้างเป็นคำนามในภาษามลายู)
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย
และมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่
19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า
"เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอาลมอนด์"
เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน
แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก
ในหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสมัยอยุธยา
ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เขียนขึ้นโดย เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Simon
de la Loubère) นักบวชนิกายเยซูอิต
หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสในสมัยนั้น ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2336
ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า "ดูเรียน (Durion) หรือที่ชาวสยามเรียกว่า
“ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้..."
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า
มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน
และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า
เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
สำหรับผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3
พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย
ซึ่งรายชื่อพันธุ์ทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์
------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น