ยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ที่มีปัญหายืดเยื้อยาวนานมากว่า 10 ปี ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งหลัก
เข้าใจ คือ เข้าใจปัญหา เข้าใจประชาชน เข้าใจงานที่ปฏิบัติและงานที่เกี่ยวข้อง เข้าถึง คือ เข้าถึงทุกพื้นที่ เข้าถึงจิตใจประชาชน และ พัฒนา คือ พัฒนาในทุกๆ ด้านควบคู่กันไป กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน พัฒนาอย่างเป็นระบบ
โดยทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ
ต่างได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่กับหลักการ การเมืองนำการทหาร รวมทั้งใช้แนวทางสันติวิธี เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกันการดำเนินยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น นอกจากจะน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง
พัฒนา มาปรับใช้แล้ว
สำหรับการมอบงานของ คปต.ส่วนหน้า ตามกรอบแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. พ.ศ.2558-2560 กำหนดภารกิจงานไว้ 7 กลุ่ม เพื่อให้ผู้แทนพิเศษฯ ได้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มภารกิจงาน รวมทั้งการดำเนินงานของกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มีการแบ่งมอบความรับผิดชอบไว้ทั้ง 20 กระทรวง
เพื่อให้ผู้แทนพิเศษฯได้ประสานเชื่อมโยงกับกระทรวงที่รับผิดชอบ และหน่วยงานอื่นที่ไม่สังกัดกระทรวง ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหา จชต.ในระยะต่อไปเป็นไปอย่างมีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี และปรากฏผลเป็นรูปธรรมตามคำสั่ง คสช.
สำหรับพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา
พล.อ.เอกชัยระบุว่า การน้อมนำเอาหลักปรัชญาดังกล่าวทุกหน่วยงานในพื้นที่ล้วนยึดถือมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านความมั่นคงเพราะว่าการจะเข้าใจและเข้าถึงคนในพื้นที่เราต้องดูก่อนว่าวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่เป็นอย่างไร เพราะร้อยละ 80% เป็นคนมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น อาจจะเข้าถึงและเข้าใจ เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องศึกษาความเป็นอยู่ของพวกเขาตั้งแต่เกิดจนตาย ว่ามีขนบประเพณีความเป็นอยู่เป็นอย่างไร อาทิ คนมุสลิมไม่ชอบหมูเพราะเป็นสัตว์สกปรก หรือการจะขึ้นบ้านเขาจะต้องถอดรองเท้า รู้ว่าการละหมาดเวลาใดบ้าง ในเมื่อเราเข้าใจ และเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว เราก็ต้องพัฒนาคนในพื้นที่ด้วย การพัฒนานั้นจะต้องพัฒนาบนพื้นฐานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพวกเขา มิใช่พัฒนาตามแบบส่วนกลางที่เป็นทุนนิยมเสรี เพราะคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรก็ต้องอยู่อย่างพอเพียง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น