วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

บ้านรอตันบาตู หมู่บ้านตัวอย่าง

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านรอตันบาตู

สภาพพื้นที่ของโครงการเป็นที่นาและที่ลุ่มติดแม่น้ำบางนรา เกษตรกรใช้พื้นที่บางส่วนทำนาโดยอาศัยน้ำฝนทำการเพาะปลูกซึ่งได้ผลผลิตไม่แน่นอน บางพื้นที่ใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และบางส่วนปล่อยทิ้งเป็นพื้นที่รกร้าง
ภาพรวมโครงการ       
โครงการนี้ ได้แบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ             
- หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 300 ไร่ โดยจัดสรรแบ่งแปลงจำนวน 150 แปลงๆละ 2 ไร่ ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักให้แก่ครอบครัวผู้ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- งานฟาร์มตัวอย่าง พื้นที่ 378 ไร่ เป็นการสาธิตด้านเกษตรกรรมและการพัฒนาที่ดินจากสภาพของพื้นที่นาร้างและทรัพยากรดินที่มีปัญหา  (ดินเปรี้ยว)  รวมทั้งการบริหารทรัพยากรน้ำ โดยวางแผนการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่ฟาร์มตามศักยภาพของดิน แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ได้แก่ เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เขตปลูกพืชผัก  พืชไร่ ไม้ผล เขตปศุสัตว์ และเขตทำนาที่นาร้างและทรัพยากร

วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่และประชาชน ที่ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อสร้างงานให้ราษฎรมีอาชีพ มีรายได้ และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การบริหารจัดการ
กรมชลประทานประสานกับกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการออกแบบผังบริเวณของโครงการฯ  เสร็จเรียบร้อยแล้ว   พร้อมได้นำเสนอต่อที่ประชุมซึ่ง  พล.อ.ณพล  บุญทับ  รองสมุหราชองครักษ์  เป็นประธานและได้ความเห็นชอบแล้วในวันที่  8  กันยายน  2547  ณ  ห้องประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทองฯ
การพิจารณาวางโครงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร  ประกอบด้วย
1) ระบบส่งน้ำ
- โรงสูบน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 4 นิ้ว 6 เครื่อง 1 แห่ง
- คลองชักน้ำ  ยาวประมาณ    400    ม.
- คูส่งน้ำดาดคอนกรีตและอาคารประกอบ รวมความยาวประมาณ 7.915 กม.
2) ระบบระบายน้ำ
- คลองระบายน้ำและคูระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบรวมความยาวประมาณ 5.330 กม.
3) ทางเข้าและลำเลียงภายในโครงการฯ
- ถนนทางเข้า  ความกว้างผิวจราจร 6.00 ม. และภายใน ความกว้างผิวจราจร 4.00 ม. รวมความยาวประมาณ 8.608 กม.
ผลการดำเนินงาน
กิจกรรมระบบส่งน้ำและถนนทางเข้าโครงการ
กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำให้กับพื้นที่ฟาร์มตัวอย่าง ระยะทางรวม 3,080 เมตร พร้อมถนนบนคันคลองลูกรังบดอัดแน่น กว้าง 4.00 เมตร กว้าง 6.00 เมตร นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการสร้างถนนทางเข้าโครงการและถนนภายในฟาร์ม ระยะทางรวม 5.528 กิโลเมตร และอาคารในระบบระบายน้ำ 10 แห่ง ปัจจุบันดำเนินการได้ประมาณร้อยละ 80
ทำให้ครอบครัวเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยัง สามารถช่วยส่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ได้มีน้ำใช้ตลอดปีและส่งน้ำให้แก่ราษฎรบ้านรอตันบาตู หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้มีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค

กิจกรรมขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า ไปยังพื้นที่โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  และฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู  หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันสามารถดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
สามารถสนับสนุนงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีไฟฟ้าใช้ในกิจวัตรประจำวัน ตลอดจนใช้ในการประกอบอาชีพ รวมทั้งสนับสนุนไฟฟ้าใช้ในกิจกรรมฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตูตามพระราชดำริได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 150 ครัวเรือน 600 คน
กิจกรรมฟาร์มตัวอย่างฯ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- งานอำนวยการและประสานงาน ดำเนินการก่อสร้างอาคารและโรงเรือนต่าง ๆ รวมทั้งจัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์มตัวอย่างปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
- งานปศุสัตว์ ดำเนินการจัดซื้อพันธุ์สัตว์ ได้แก่ แพะ เป็ดและไก่ ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนดำเนินงานด้านปศุสัตว์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
- งานประมง ดำเนินการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาแรด ปลาบ้า กบ ในบ่อเลี้ยงและในกระชัง ปัจจุบันดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
- งานพืชผักและไม้ผล ดำเนินการเพาะเลี้ยงเห็ด แปลงพืชผัก ไม้ผล ปัจจุบันดำเนินการได้ประมาณร้อยละ 60
- งานนาข้าว ดำเนินการปรับรูปแบบแปลงนาพื้นที่ 59 ไร่

- งานบอนสี ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงเรือนบอนสี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน สามารถสร้างอาชีพให้แก่ราษฎรได้อย่างต่อเนื่อง มีการจ้างแรงงานในพื้นที่ อีกทั้งเป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้เข้ามาทำงานในฟาร์มและราษฎรที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงานอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น