วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

ปัตตานีบ้านฉัน

เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้”

ประวัติจังหวัด เมืองปัตตานี เดิมมี ชื่อเรียก ว่า โกตามหลิฆัย คำ โกตา หมายถึง ป้อม กำแพง และเมือง คำ มหลิฆัย นั้น ให้ความหมาย ไว้สองนัย คือหมายถึง ปราสาท ราชมนเทียร อันเป็นที่ ประทับ ของราชวงศ์ ฝ่ายใน ที่เป็นสตรี และอีกนัยหนึ่ง หมายถึง รูปแบบ พระสถูป เจดีย์ ที่เรียกกัน ในเชิงช่าง ศิลปกรรม ว่า "สถูป ทรงฉัตรวาลี" เป็นสถูป แบบหนึ่ง ในศิลปะ สถาปัตยกรรม ทางพุทธ ศาสนา สมัย ศรีวิชัย

เมืองโกตามหลิฆัยนี้ ถูกทอดทิ้ง ให้ร้างไป ในสมัย ของพญาอินทิรา เนื่องจาก แม่น้ำ ลำคลอง หลายสาย ที่เคยใช้ เป็นเส้นทาง คมนาคม ระหว่าง เมืองโกตามหลิฆัย กับทะเล ได้ตื้นเขิน ทำให้ ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า เข้าออก ติดต่อ ค้าขาย กับพ่อค้า ต่างประเทศ ปี พ.ศ.๒๐๑๒ ถึง พ.ศ.๒๐๕๗พญาอินทิรา จึงย้ายเมือง โกตามหลิฆัย ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ บนบริเวณ สันทรายปากอ่าว เมืองปัตตานี อยู่บริเวณ หมู่บ้านบานา อำเภอเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน ประจวบกับ พญาอินทิรา ได้เปลี่ยน ศาสนา จากการ นับถือ ศาสนาพุทธ มารับ ศาสนา อิสลาม จึงให้นามเมือง ที่สร้างใหม่ เป็นภาษาอาหรับว่า "ฟาฎอนีย์ ดารุซซาลาม"หรือ "ปัตตานี ดารัสสลาม" แปลว่า "ปัตตานี นครแห่งสันติ" คล้ายคลึงกับชื่อประเทศ "บรูไน ดารุสสลาม" ซึ่งแปลว่า "บรูไน นครแห่งสันติ"

คำ "ปัตตานี" นี้ อาจจะมาจากคำ "ปฺตตน" ในภาษา สันสกฤต แปลว่า เมือง นคร กรุง ธานี ดังจะเห็น ได้จาก ชื่อเมืองหนึ่ง ของ อินเดียใต้ สมัย โบราณ คือเมือง "นาคปตฺตน" เมืองภัทรปตฺตน ในศิลา จารึก สดอกก๊อกธม ของเขมร และ ชื่อของผู้ว่าราชการ เมืองปัตตานี สมัยหนึ่ง ก็มีนามว่า "อำมาตย์ศรีพระปัตตนบุรี ศรีสมุทรเขต (เป๋า สุมนดิษฐ) อีกทั้ง ชื่อของ โรงเรียน สตรี ประจำ จังหวัด ปัตตานี ที่ตั้งขึ้น ในสมัยนั้น ก็ได้รับ การขนาน นามว่า "โรงเรียน สตรี เดชะ ปัตตนยานุกูล"



คำว่า "ปะฏานี"ในภาษาอาหรับ แปลว่า นักปราชญ์ ในภาษาบาลี สันสกฤต "ปตานี" แปลว่าหญิงที่เป็นใหญ่ ส่วนในภาษามลายูนั้น "ปะตานี"หมายถึงชาวนา ราชวงศ์ศรีวังษา
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 115 ตำบล 642 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองปัตตานี
อำเภอสายบุรี
อำเภอโคกโพธิ์
อำเภอไม้แก่น
อำเภอหนองจิก
อำเภอยะหริ่ง
อำเภอปะนาเระ
อำเภอยะรัง
อำเภอมายอ
อำเภอแม่ลาน
อำเภอทุ่งยางแดง
อำเภอกะพ้อ

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดปัตตานี แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. บริเวณที่ราบ เป็นที่ราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 20 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 874,063 ไร่ หรือร้อยละ 72.07 ของเนื้อที่ทั้งจังหวัดประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มน้ำ ซึ่งที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทราย สันทราย ที่ลุ่มระหว่างสันทรายและที่ราบลุ่มน้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งอยู่ทาง ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดเป็นแนวยาวกว้างขนานไปกับฝั่ง ทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าวและป่าชายเลน ส่วนบริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มน้ำ ที่เกิดจากอิทธิพลของแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ซึ่งอยู่ทางด้าน ทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ของจังหวัดพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนาและสวนผลไม้

2. บริเวณที่เป็นลูกคลื่นถึงเป็นเนินเขา ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดจากบริเวณที่ราบขึ้นไปถึงเนินเขา มีความลาดชันอยู่ ระหว่าง 2-16 เปอร์เซ็นต์ และสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไปถึง 100 เมตร ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ จังหวัดและทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ มีเนื้อที่ประมาณ 210.000 ไร่ หรือร้อยละ 17.33 ของเนื้อที่ทั้ง จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา
3. บริเวณที่เป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาบริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดในเขตอำเภอโคกโพธิ์ได้แก่ เขาคาราคีรี (เขาใหญ่) ความสูง 780 เมตร ส่วนบริเวณตอนกลางของจังหวัดมีเทือกเขาทอดตัวอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงใต้ขึ้น ไปทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือประกอบ ด้วย เขาน้ำค้าง (ความสูง 775 เมตร) อยู่ในเขตกิ่งอำเภอกะพ้อ เขาไหม้ (ความสูง 229 เมตร) เขาเปาะ ซีเกง (ความสูง 444 เมตร) อยู่ในเขตอำเภอมายอ เขากือลีแย(ความสูง 360 เมตร) เขาหินม้า (ความสูง 409 เมตร) ในเขต อำเภอสายบุรี และเขา พ่อมิ่ง (ความสูง 477เมตร) เขามะรวด(ความสูง 325 เมตร) ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปะนาเระ และ นอกจากนี้ยังมีเขาโดด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งภูเขาเหล่านี้ยังคงมีสภาพเป็นป่าอยู่ มีเนื้อที่ประมาณ 128.559 ไร่หรือ ร้อยละ 10.60 ของเนื้อที่ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดสงขลา ในท้องที่อำเภอเทพา
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ในท้องที่อำเภอบาเจาะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดยะลา ในท้องที่อำเภอยะลา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น