วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

แตงโมทุ่งยางแดงระดับพรีเมี่ยม รสชาติหอมหวาน กรอบ อร่อย สร้างรายได้นับแสนบาท



หากพูดถึงแตงโม ผลไม้หน้าร้อนที่ขายดีและนิยมทานมากที่สุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อแรกที่นึกถึงต้องเป็นแตงโมทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เพราะเป็นแตงโมที่เรียกได้ว่าเป็นแตงโมระดับพรีเมี่ยม เนื่องจากสถานที่ปลูกแตงโมนั้นเป็นป่าพรุที่อุดมด้วยสารอินทรีย์ ทำให้แตงโมที่นี่รสชาติหอมหวาน กรอบ อร่อย





นายอับดุลการีม  ยีดำ นายอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวภาคใต้ชายแดนว่า อยากจะให้ทำความรู้จักสถานที่ปลูกของแตงโมก่อนว่าทำไมถึงเป็นแตงโมที่ขายดี และขายแพงกว่าที่อื่น เหตุผลหลักๆคือความสำคัญของดินที่นี่ไม่ได้ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น เพราะพื้นที่ปลูกแตงโมแห่งนี้เป็นพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งคลอบคลุมตำบลน้ำดำ และตำบลตะโละแมะนา ของอำเภอทุ่งยางแดง จำนวน 1,279 ไร่โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม เป็นช่วงหน้าฝน จะทำให้น้ำท่วมป่าพรุแห่งนี้จนกลายเป็นทะเลน้ำจืด และเมื่อน้ำแห้งชาวบ้านจะพากันมาปลูกแตงโม เพราะหลังน้ำลดที่ตรงนี้จะเกิดจุลินทรีย์ อินทรียวัตถุ โดยตามหลักทางการเกษตรมีการวิเคราะห์ว่าที่นี่เป็นที่ที่ดีที่สุดในการปลูกแตงโม และแตงโมจะได้คุณภาพ ชาวบ้านที่ปลูกแตงโมที่นี่ มีมากถึง 276 ราย ใช้พื้นที่ทั้งมด 1,279 ไร่  โดยในปี2560 มีการยกระดับแตงโมทุ่งยางแดงให้เป็นแตงโมระดับพรีเมี่ยม มีผู้เข้าร่วมโครงการปลูกแตงโมพรีเมี่ยมทั้งหมด 165 ราย ใช้พื้นที่เฉพาะปลูกแตงโมพรีเมี่ยม 655 ไร่ การปลูกแตงโมพรีเมี่ยมนั้นจะมีการปลูก 5 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ช่วงที่1 เริ่มปลูกวันที่ 9 18 กุมภาพันธ์ จะเริ่มเก็บ 27 เมษายน – 6 พฤษภาคม คาดการณ์ประมาณ 199 ตัน ช่วงที่2 เริ่มปลูกวันที่ 19 25 กุมภาพันธ์ จะเริ่มเก็บ 7 13 พฤษภาคม คาดการณ์ประมาณ 200 ตัน ช่วงที่3 เริ่มปลูกวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม จะเริ่มเก็บ 14 พฤษภาคม เป็นต้นไป คาดการณ์ประมาณ 187 ตัน ช่วงที่4 เริ่มปลูกวันที่ 5 10 มีนาคม จะเริ่มเก็บ 15 พฤษภาคม เป็นต้นไป คาดการณ์ประมาณ 199 ตัน ช่วงที่5 เริ่มปลูกวันที่ 11 16 มีนาคม จะเริ่มเก็บ 30 พฤษภาคม เป็นต้นไป คาดการณ์ประมาณ190 ตัน







    แต่เนื่องจากในปีนี้อำเภอทุ่งยางแดง เจอสถานการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้ผลผลิตของแตงโมพรีเมี่ยมได้จำนวนน้อยกว่าปีที่ผ่าน และมีราคาที่แพงขึ้น มีความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยพ่อค้าส่วนใหญ่จะมารับซื้อหน้าสวนในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งขณะนี้มีปริมาณการสั่งซื้อแตงโมเพิ่มขึ้นมีออเดอร์จากทั้งในและนอกพื้นที่เพิ่มจากปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง คาดการว่าจะมีการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในการทำการเกษตรประมาณ 100,000 120,000 บาท ต่อครัวเรือน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น