วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ

ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺถูกบัญญัติให้ละหมาดรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ ดังฮะดีสของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่แจ้งว่า

แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้ออกไปคืนหนึ่งในกลางดึกแล้วท่านได้ละหมาดในมัสยิด และได้มีผู้คนมาร่วมละหมาดกับท่านนบี ในวันรุ่งขึ้นผู้คนได้พูดถึงกันและได้รวมตัวกันมากขึ้น แล้วท่านได้ละหมาด (ในคืนที่สอง) ผู้คนก็ได้มาร่วมละหมาดกับท่าน ต่อมาในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการกล่าวถึงกันอีก ผู้คนได้มารวมตัวกันในมัสยิดมากยิ่งขึ้นในคืนที่สาม ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ก็ได้ออกมาทำการละหมาดเช่นเคย ต่อมาในคืนที่สี่มัสยิดเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนกระทั่งท่านนะบีได้ออกไปละหมาดศุบฮฺ
เมื่อท่านละหมาดเสร็จแล้วท่านได้หันหน้าไปยังผู้ที่มาร่วมละหมาดแล้วได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และกล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วกล่าวว่า “พึง ทราบเถิดสถานภาพของพวกท่านเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ฉันแล้ว แต่ฉันกลัวว่าการละหมาดนี้จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรฎูแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็ไม่สามารถจะกระทำได้ ต่อมาท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ถึงอะญัลของอัลลอฮฺ การละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺก็คงสภาพอยู่เช่นนั้น”  บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม
หลังจากที่ท่านรอซูล (ซล.) ได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺแล้ว และบัญญัติศาสนาก็อยู่ในสภาพมั่นคงและมีเสถียรภาพดีแล้ว จนกระทั่งความกลัวที่จะเกิดการสับสนระหว่างอัลกุรอานและอัลอะฮาดีสได้สูญสิ้น ไป บัญญัติการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺเป็นญะมาอะฮฺก็ยังคงถือปฏิบัติกันอยู่เพราะสาเหตุที่จะทำให้เกิดการสับสนหมดสิ้นไปแล้ว
ในสมัยค่อลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ได้ฟื้นฟูซุนนะฮฺอันนี้ ดังที่อับดุรรอหฺมาน อิบนฺ อับดิน อัลกอรี้ยุ ได้บอกเล่าไว้ว่า
            ฉัน ได้ออกเดินไปคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนกับอุมัรอิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ยังมัสยิดอันนะบะวีย์ ก็เห็นมหาชนยืนละหมาดแยกกันเป็นกลุ่ม ๆ บ้างก็ยืนละหมาดคนเดียว บ้างก็ยืนละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ อุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า แท้จริงฉันเห็นว่าหากฉันจะรวมเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดกับอิหม่ามคนเดียวก็ จะเป็นการดียิ่ง แล้วอุมัรก็ได้ตัดสินใจรวมพวกเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดตามอุบั๊ย อิบนฺกะอฺบ ต่อมาฉันได้ออกไปกับอุมัรในคืนต่อ ๆ มา และได้เห็นผู้คนยืนละหมาดตามอิหม่ามคนเดียว อุมัรได้กล่าวชื่นชมขึ้นว่านี่มันเป็นเหตุการใหม่ที่ดียิ่ง การละหมาดในเวลาดึกซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนดีกว่าการละหมาดในเวลาหัวค่ำ” บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์
           
จำนวนร๊อกอะฮฺ**
ผู้คนมีความเห็นแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนร๊อกอะฮฺ ความเห็นที่สอดคล้องกับแนวทางของท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือ 8 ร๊อกอะฮฺ โดยไม่รวมละหมาดวิตร ดังคำกล่าวของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่ว่า “ท่านนะบีไม่เคยละหมาดมากกว่า 11 ร๊อกอะฮฺ ทั้งในเดือนรอมฎอนและในเวลาอื่น ๆ” บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม
ญาบิร อิบนฺอับดิลลาฮฺ เห็นคล้อยกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ เขากล่าวว่า
            “แท้จริงเมื่อท่านนะบีได้นำละหมาดร่วมกับมหาชนคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน ท่านได้ละหมาด 8 ร๊อกอะฮฺ และได้ทำวิตร” บันทึกโดย : อิบนฮิบบาน และอัฎฎอบรอนีย์ และอิบนนัศร
และ เมื่ออุมัร อิบนุลค็อฎฎ๊อบ ได้ฟื้นฟูการปฏิบัติตามซุนนะฮฺเช่นนี้ ผู้คนได้รวมตัวกันทำการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺจำนวน 11 ร๊อกอะฮฺ เพื่อให้ตรงกับซุนนะฮฺที่ถูกต้อง ดังที่มาลิก อิบนฺอะนัส ได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขา (1/115) ด้วยสายสืบที่ถูกต้องที่สุดจากมุฮัมมัด อิบนยูซุฟ จากอัซซายิบ อิบนยะซีด กล่าวว่า
             “อุมัร อิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ได้ใช้ให้อุบัย อิบนฺก๊ะอฺบ และตะมีม อัดดารีย์ เป็นอิหม่ามนำละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺแก่มหาชนจำนวน 11 ร๊อกอะฮฺ และกล่าวว่า ผู้นำละหมาดได้อ่านจำนวนหลายร้อยอายะฮฺ จนกระทั่งพวกเราใช้ไม้เท้ายัน เพราะต้องยืนเป็นเวลานาน และจะไม่เลิกจากการละหมาดจนกระทั่งก่อนจะถึงเวลาฟัจรฺเพียงเล็กน้อย"
** ร็อกอะฮฺ หรือ ร็อกอัต หมายถึง ยืน ก้ม(รูกั๊วะ) 1 ครั้ง กราบ(สุญูด ) 2ครั้ง เรียกว่า 1 ร็อกอะฮฺ
1.ญะมาอะฮฺก็ คืออะไร? ญะมาอะฮฺคือ กลุ่ม,ร่วมกัน , รวมกัน


วิธีละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ
เหมือนกับวิธีละหมาดศุบฮฺ คือละหมาด ครั้งละ 2 ร็อกอะฮฺ ** เหนียต(นึกในใจ) ก่อนละหมาด "ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตตะรอเวียะฮฺ สองรากาอัต ตามอีหม่าม เพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา"
ส่วนวิเตรก็คล้ายกัน "ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตวิเตร ตามอีหม่าม สองรากาอัตเพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา"

กรณีละหมาดคนเดียว
"ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตตะรอเวียะฮฺ สองรากาอัต เพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา" ส่วนวิเตรก็คล้ายกัน "ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตวิเตร สองรากาอัตเพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา"

จนกระทั่งครบจำนวนที่ต้องการคือ 8 ร็อกอะฮฺ ให้สล่ามทุกๆ 2 ร็อกอะฮฺ และร็อกอะฮฺสุดท้ายให้ละหมาดวิตรฺเป็นเอกเทศ อีก 3 ร็อกอะฮฺโดยไม่ต้องนั่งตะซะฮุดในร็อกอัตที่ 2 นั่งในร็อกอัตที่ 3 เลย (รวมเป็น 11 ร็อกอะฮฺ)
(หมายถึง แยกออกไม่เกี่ยวข้องกับ ตะรอเวี๊ยะฮฺ ละหมาดวิตรฺใช้เป็นละหมาดสุดท้ายในยามค่ำคืน)

เวลาของการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ
เริ่มตั้งแต่หลังละหมาดอีซาเป็นต้นไปจนกระทั่งก่อนแสงรุ่งอรุณจะปรากฏขึ้น จะละหมาดช่วงไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก (นิยมไปละหมาดพร้อมกันที่มัสยิด เมื่ออิหม่ามนำละหมาดอีซาจบแล้ว จะต่อด้วยละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ) ที่สำคัญต้องทำหลังละหมาดอีซา และก่อนละหมาดซุบฮฺ



ข้อมูลจาก www.muslimthaipost.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น