วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

พบ"ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า" ที่อุทยานแห่งชาติแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

             อุทยานแห่งชาติแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ร่วมกับเทศบาลตำบลบาเจาะ เปิดตัวโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชมผีเสื้อหลากหลายพันธุ์ ที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี หลังพบผีเสื้อกว่า 80 ชนิด รวมถึงผีเสื้อหายาก

             นายธีรมัตถ์ แวยูโซ๊ะ นายกเทศมนตรีตำบลบาเจาะ เปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชมผีเสื้อหลากหลายพันธุ์ ที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอุทยานฯ ให้เป็นที่รู้จักรวมถึงส่งเสริมการศึกษาผีเสื้อหลากหลายพันธุ์

             นายสิทธิชัย หมัดสี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดตัวกิจกรรมชมผีเสื้อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งที่อุทยานฯ มีผีเสื้ออยู่ 4 วงศ์ โดยเฉพาะวงศ์สีน้ำเงิน มีผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์กว่า 80 ชนิด รวมถึงผีเสื้อหายาก อาทิ ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า พบได้เฉพาะในป่าที่สมบูรณ์และเป็นที่นิยมของนักชมผีเสื้อ อย่างไรก็ตาม นอกจากชมปีเสื้อแล้ว ที่อุทยานฯ ยังมีนกเงือกมากถึง 6 ชนิด จาก 13 ชนิด ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งสามารถมาชมนกเงือกได้ และยังเป็นที่ตั้งของน้ำตกปาโจอีกด้วย

Drina maneia (Hewitson, 1863) : Blue Yam (ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า)
Family:  Lycaenidae
Subfamily: Theclinae
Genus:   Drina
Species: maneia
Common name: Blue Yam
Thai common name: ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า

            ในส่วนของการดู หรือส่องดูผีเสื้อ สามารถเดินดูได้ในบริเวณชั้น 1 รอบบริเวณป่าและน้ำตกตามเส้นปกติ และเส้นทางเดินป่า ซึ่งจะพบเห็นผีเสื้อหลายชนิดที่บินวน และเกาะกิ่งไม้ เป็นภาพผีเสื้อที่มีสีสันความสวยงามตามธรรมชาติเหนือคำบรรยาย ในการค้นหาวิจัยผีเสื้อในพื้นที่อุทยานบูโด-สุไหงปาดี ตลอดระยะแค่ 2 ปี สามารถเก็บข้อมูลผีเสื้อหลากหลายชนิดที่อาศัยในพื้นป่าแห่งนี้เกือบ 100 ชนิด และยังพบพันธุ์ผีเสื้อหายาก เช่น ผีเสื้อสกุล (haraga) ผีเสื้อท้ายขาวปุยหิมะ (darpa pteria) ผีเสื้อเจ้าหญิงสีฟ้า (prothoe franck) ผีเสื้อแหวนมลายู (ragadia makuta) และอีกชนิดที่สำคัญคือ ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า (drina maneia) เป็นชนิดผีเสื้อที่หายาก และในตำราหนังสือวิจัยผีเสื้อพบว่า มีที่เดียวในประเทศไทย คือ ที่อุทยานแห่งชาติบางสีดา จ.สระแก้ว และที่อุทยานน้ำตาปาโจ จ.นราธิวาส ค้นพบผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้าจำนวนมาก เป็นแหล่งที่ 2 ในประเทศไทย

             ซึ่งผีเสื้อดังกล่าวมีความสำคัญต่อหนักวิจัยมาก เพราะผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ในระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจจะดูผีเสื้อหลายหลายชนิด หรือนักท่องเที่ยว ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไกล สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกปาโจ ได้ตลอดทั้งวัน ในส่วนเวลาที่เหมาะสมในการดู หรือส่องดูผีเสื้อ ควรเป็นเวลาแดดออกประมาณ 09.00-15.00 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้คอยอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง

            น้ำตกป่าโจ อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี บ้านบาโจ ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส มีน้ำตกปาโจ เป็นแหล่งกำเนิดใบไม้สีทอง หรือย่านดาโอะ ที่เดียวในประเทศไทย และในโลก เป็นแหล่งอาศัยของนกเงือก 6 ชนิด รวมถึงแหล่งพันธุ์ผีเสื้อกว่า 100 ชนิด อีกทั้งเป็นผืนป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้  อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีผืนป่ามีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของระบบนิเวศ ทางอุทยานฯ ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้ามาชื่นชมและสัมผัสเรียนรู้ ตลอดจนเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ สัตว์ป่า เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถมาเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี โทร.08-9869-0259

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น