ประวัติ
กระจูด เป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก (Sedge) ชนิดหนึ่งในตระกูล
Cyperaccae ลักษณะลำต้นกลมกลาง ความสูงประมาณ 1.00 –
3.00 เมตร เป็นพืชที่ชอบขึ้นในบริเวณน้ำขัง ตามริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน
ซึ่งเรียกว่า
“พรุ” มีขึ้นมากที่สุดในจังหวัดนราธิวาส
นอกนั้นกระจัดกระจายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา พัทลุง ปัตตานี และตราด
ต้นกระจูดมี 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู
จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น
ความเหนียวน้อยกว่าจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ
ทำใบเรือ
ทำเชือกผูกมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่น ๆ
ผลิตภัณฑ์กระจูด เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งของภาคใต้
รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักทั่วไปคือ “เสื่อกระจูด” หรือ “เสื่อจูด” ภาษาพื้นเมืองภาคใต้เรียก
“สาดจูด” การสานเสื่อจูดถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงสืบทอดจากบรรพบุรุษมาแต่ครั้งอดีตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังสานเป็นผลิตภัณฑ์กระสอบสำหรับบรรจุสิ่งของ เช่น ข้าวสาร ข้าวเปลือก
น้ำตาล เกลือ ฯลฯ เสื่อจูดที่มีความสวยงามคือ เสื่อจูดประเภทลวดลายสีสันต่าง ๆ
อันเป็นเอกลักษณ์ของเสื่อภาคใต้ซึ่งได้มีการนุรักษ์และส่งเสริมให้มี
การผลิตมากขึ้นเพื่อสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและเป็นอาชีพเสริมทำรายได้แก่ครอบครัวราษฎรในชนบทตามโครงการพระราชดำริโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาสแต่เดิมการสานเสื่อจูดจะทำกันในแหล่งที่มีต้นกระจูดขึ้นจำนวนมากซึ่งเป็นละแวกดินพรุปัจจุบันต้นกระจูดมีน้อยลงผู้ผลิตจึงต้องหาซื้อต้นกระจูดจากแหล่งอื่นเช่นที่ตำบลเคร็งอำเภอชะอวดจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งต้นกระจูดแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของภาคใต้สำหรับกรรมวิธีสานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป
คือ
ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้แบนเพื่อให้มีความนิ่มตัวสำหรับใช้เป็นเส้นสานเสื่อลวดลายที่นิยมใช้สานคือลายสองเป็นลวดลายประสานขัดกันแน่น
เส้นสานเกาะตัวดี ไม่หลุดลุ่ยง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น