เปิดบ้าน
ชมวังพระยาระแงะ
พระยาภูผาภัคดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา
สภาพวังของพระยาระแงะในปัจจุบัน
สภาพวังพระยาระแงะในปัจจุบัน
สภาพวังพระยาระแงะในปัจจุบัน
เครื่องใช้ของพระยาระแงะ
เครื่องใช้ของพระยาระแงะ
เครื่องใช้ของพระยาระแงะ
เครื่องใช้ของเจ้าพระยาระแงะ
อำเภอระแงะตามประวัติศาสตร์เป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี
อันเป็นเมืองโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัยห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ด้วยเหตุผลทางการเมือง พระองค์ทรงพระกรุณษโปรดเล้าฯ
ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา ( เถียนจ๋อง ) ออกไปทำการแยก
เมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง พร้อมอัญเชญตราตั้ง
ออกไปพระราชทานแก่เมืองทั้งเจ็ดเรียกว่า "บริเวณ 7 หัวเมือง
ได้แก่ อำเภอระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 หัวเมือง
ประกอบด้วยเมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ
โดยมีการแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองแต่ละเมืองระแงะจึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส และทรงโปรดเล้าฯแต่งตั้งนายหนิเดะ
เป็นพระยาเมืองปกครอง และเมื่อนายหนิเดะได้ถึงแก่กรรม ตำแหน่งว่างลงจึงทรงโปรดแต่งตั้งให้นายหนิบอสูเป็นผู้รักษาราชการแทนสืบต่อเนื่องมาจนกระทั่งมีการโปรดเกล้าฯ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 หัวเมืองโดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2435พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระปิยมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานสัญญาบัตรตามบรรดาศักดิ์แก่เจ้าเมืองพระยาระแงะว่าพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา
และเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย พ.ศ.2444 ได้ประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง
ในการปกครองมอบหมายให้เจ้าเมืองปกครองดูแล โดยมีกองบัญชาการงานเมือง มีปลัดเมือง
ยกกระบัตรผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง โดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ควบคุมดูแล ตรวจตรา
แนะนำ ข้าราชการ และข้าราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการส่วนกลาง
โดยยกเลิกการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง
พ.ศ. 2450 ได้ย้ายเมืองระแงะ ที่บ้านตันหยงมัสไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านมะนาลอยู่ที่ตำบลบางนาค ใช้ชื่อว่า "เมืองบางนรา" ส่วนเมืองระแงะเดิม ได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอระแงะมาจนถึงปัจจุบัน และเมืองบางนราต่อมาก็เปลี่ยนเป็นจังหวัดนราธิวาสเมื่อพระยาระแงะ(หนิบอสู)ถึงแก่กรรมลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งพระศิริรัตนพิศาล(หวันโหนะ)บุตรของพระยาระแงะ(หนิบอสู)เป็นพระยาภูผาภัคดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา เจ้าเมืองระแงะ และตะวันแตะน้องชาย เป็นพระยาศิริรัตนไพศาลผู้ช่วยราชการเมืองแระ ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๔๓๒ พระยาระแงะ(หวันโหนะ)ถึงแก่กรรม และไม่มีทายาทสืบสกุล พระยาสุทรานุรักษ์ (ชม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการรักษาการเมืองสงขลา แต่งตั้งให้หวันเหงาะ ซึ่งเป็นบุตรของตวันสุหลง พี่ต่างมารดารกับพระยาระแงะ(หวันโหนะ)เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะจนถึงพุทธศักราช ๒๔๓๔ ซึ่งครบกำหนดที่หัวเมืองทั้ง ๗ ต้องนำต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องบรรณาการทั้งหลายเข้าทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๕๓) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งให้ตะวันเหงาะเป็นพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา เจ้าเมืองระแงะคนต่อมาพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา (ตะวันเหงาะ) ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองระแงะคนต่อมา ได้สมรสกับเจ๊ะแมะโวะ มีบุตร ๑ คน ชื่อว่า’’ตนกูกือแม’’ ต่อมาเจ๊ะแมะโวะถึงแก่กรรม พระยาระแงะ(ตะวันเหงาะ)ได้สมรสใหม่กับคุณนายภูผาภักดี ซึ่งมีเชื้อสายจีน แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ส่วนตนกูกือแม บุตรชายพระยาระแงะ(ตะวันเหงาะ)ได้สมรสกับพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา (รายามุกกา,รายาลือแฆะ,ตนกูสัมซูเด็น) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองระแงะคนสุดท้าย เป็นบุตรชายของน้องสาวพระยาระแงะ (ตะวันเหงาะ)มีบุตรชายด้วยกัน ๑ คน ชื่อ’’กูมะ’’ ต่อมาได้สมรสกับเจ๊ะซาฟีเย๊าะ มีบุตรสาว ๑ คน ชื่อ’’ตนกูไซนับ’’ กูจิ,ตวนยาลินี’’ ส่วนกูมะได้สมรสกับเจ๊ะสง มีบุตร ๒ คน ชื่อ’’ตนกูนะ’’ และ’’ตนกูเย๊าะ’’
พระยาระแงะ(รายามุกดา,รายารือแฆะ,ตนกูสัมซูเด็น
)ย้ายเมืองระแงะมาสร้างเป็นเมืองใหม่ที่บางนรา(จังหวัดนราธิวาสในปัจจุบัน)ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น
และสร้างวังหลังใหม่ไปพร้อมๆกัน พระยาระแงะ(รายามุกดา,รายารือแฆะ, ตนกูสัมซูเด็น) นั้น ท่านมีความชื่นชอบในสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบตรังกานู
จึงเกณฑ์ช่างฝืมือดีจากรัฐตรังกานู,ประเทศมาเลเซียมาก่อสร้าง
จวบจนกระทั้งปัจจุบันวังอันล้ำค่าทางสถาปัตยกรรมแห่งนี้ ยังคงตั้งอยู่ ณ
บริเวณริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางนรา
พงศาวดารเมืองปัตตานี กล่าวถึงอาณาเขตกว้างไกลของเมืองระแงะ
ไว้ว่า ‘’เขตเมืองระแงะตรี
ฝ่ายเหนือมีภูเขาใหญ่ที่ขวางยาวไปทางตะวันออก ตะวันตก เป็นเขตปักหลักบ้าง
มีต้นไม้ใหญ่บ้างเรียงรายไปจดครองตรอบ ฝ่ายเหนือเป็นเขตเมืองสายบุรี
ฝ่ายใต้เป็นเขตเมืองระแงะ ฝ่ายตะวันตกเขาหลิยอเป็นแดน ลงมาแบ๊หงอปักหลักบ้าง
มีต้นไม้ใหญ่บ้าง มีสายน้ำห้วยน้ำตลอดขึ้นมาบ้านสุเปะ บ้านปอฆอหลอ
ไปจนถึงคลองตามะหันต่อพรมแดนเมืองสายบุรี
ฝ่ายตะวันออกคลองตรอบเป็นแดนตลอดขึ้นไปบ้านโต๊ะเดะ
ปักหลักตั้งแต่บ้านโต๊ะเดะไปถึงพรุ สิ้นสุดพรุเป็นลำห้วยเรียกว่าอาเหอิหนอ
เป็นคลองเตแดนตลอดไปถึงโต๊ะโม๊ะเมืองทอง ฝ่ายตะวันออกต่อพรมแดนเมืองกลันตัน
ฝ่ายใต้ไม่มีหลัก ลงปางตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดไปปะโลม จดคลองน้ำเมืองเประ
ตั้งแต่โต๊ะโม๊ะ ไป ฝ่ายตะวันออกเฉียงใต้เป็นป่าดงใหญ่ตลอดไป ไม่มีหลัก ไม่มีสำคัญ
สิ้นสุดเมืองระแงะ ‘’ (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ ภาค
๓. ๒๕๐๖. ๑๑-๑๒)
ข้อความดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงอาณาเขตตาม
สภาพภูมิประเทศของเมืองระแงะได้เป็นอย่างดี เมืองระแงะอยู่ทางใต้จากสายบุรี
และต่อลงไปเป็นเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ ระแงะมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
รัฐที่ได้กล่าวถึงนั้นคือ รัฐเปรัคและกลันตัน
เป็นดินแดนทางภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรแร่ธาตุและไป่ไม้อย่างมหาศาลภายหลังความขัดแย้งในดินแดนเจ็ดหัวเมืองฝ่ายใต้ยุติ
พระยาอภัยสงคราม และพระยาสงขลา
(เถี้ยนจ๋อง)ได้แบ่งเขตแดนและการบริหารปกครองสำเร็จแล้ว
ได้ให้หนิเดะเป็นพระยาระแงะ แล้วจึงเริ่มก่อสร้างวังขึ้น
ซึ่งวังเจ้าเมืองนั้นนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็ยังใช้เป็นที่บริหารราชการงานเมืองด้วย
พระยาระแงะ (หนิเดะ)
ได้ตั้งวังขึ้นครั้งแรกอยู่บริเวณพรมแดนเมืองกลันตันต้นทางที่จะไปเมืองทองโต๊ะโม๊ะนั้นเอง
หนิบอสู ชาวบางปู ผู้รักษาราชการเมืองระแงะคนต่อมา
ได้ย้ายไปตั้งวังอยู่ที่ตะหยงหนะ(ปัจจุบันคือตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ
จังหวัดนราธิวาส)
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวังพระยาระแงะ(หนิเดะ)ห่างออกไปเป็นระยะทางเดินเท้าประมาณ
๑ วัน (พลชินพงค์,๒๕๒๙ : ๓๐๒๐)
เปิดบ้าน
ชมวังพระยาระแงะ
ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงามแบบมลายู วังระแงะในปัจจุบันนี้ตั้งอยู่บ้านเลขที่
2 ถนนจาตุรงค์รัศมี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
มีอาณาเขตด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือจดบ้านเรือนประชาชน
ทิศตะวันตกออกจดโรงยางนูซันตารา ทิศใต้จดถนนจาตุรงค์รัศมี วังระแงะ
สร้างโดยสถาปนิกจากรัฐตรังกานูที่มีฝีมือดีมาก ตัววังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะรูปทรงสร้างเป็นเรือนไม้
๒ ชั้นยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงมนิลาหรือบลานอ
ทางขึ้นวังมีบันไดอยู่ทางด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันตก
เนื่องจากวังสร้างด้วยไม้จึงไม่สามารถทนต่อกาลเวลาได้
ด้วยเหตุนี้รูปทรงดั้งเดิมของจึงเปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะส่วนที่ชำรุดได้รับการซ่อมแซมต่อเติมให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
โครงสร้างและองค์ประกอบของวังจึงผสมผสานกันระหว่างรูปทรงที่ใช้กับวัสดุเก่ากับรูปทรงที่ใช้วัสดุใหม่
โดยรอบล้อมด้วยกำแพง ๒ ชั้น
ก่ออิฐถือปูนเป็นกำแพงชั้นในปัจจุบันเหลือเพียงด้านหลังบางส่วน
ขอบกำแพงวังมีลายนูน กำแพงวังชั้นนอกไม่มีร่อยรอยเหลือให้เห็นแล้ว
ด้านหลังของตัววังมีบ่อน้ำห่างจากตัววังประมาณ ๑๕ เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๘
เซนติเมตร เดิมมีความสูง ๒๓ เซนติเมตร ต่อมาต่อเติมให้สูงขึ้นอีก
๓๖ เซนติเมตร รอบๆ บ่อน้ำใช้แผ่นซีเมนต์ปูพื้นซึ่งทำใหม่เป็นที่อาบน้ำ
เสาของตัววังใช้ไม้เนื้อแข็งจำพวกตะเคียน หลุมพอแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖.๕
เซนติเมตร และสูง ๑.๗๕ เมตร จำนวน ๓๐
ต้นอาศัยโครงสร้างที่ยึดกันและน้ำหนักของตัวอาคารที่ได้สัดส่วนจึง
ทำให้เสาที่วางอยู่บนฐานคอนกรีตบนพื้นดินปรับเรียบเสมอกัน ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง
ส่วนด้านหลังของวังใช้เสาก่ออิฐ ถือปูน ๒๙ ต้น กว้าง ๕๓ เซนติเมตร สูง ๑.๕๙ เมตร
ด้านหน้ามีบันไดทางขั้น ซึ่งทำด้วยไม้กระดาน ๕ ขั้น
ขึ้นไปยังเฉลียงซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเติมใหม่สู่ชานขนาดเล็ก
แคบๆราวลูกกรงบันไดไม้กลึงแบบโปร่ง และยกพื้นขึ้นไป ๑ ขั้นสู้พื้นวัง
ส่วนหลังของวังมีบันไดขึ้นชั้นบน ๒ ด้าน ด้านละ ๑๑ ขั้น
เฉลียงด้านหน้านี้มีม้านั่งเป็นกระดานวางอยู่ใช้เป็นที่ผักผ่อนและพื้นที่เอนกประสงค์
พื้นวังและชานพักทำด้วยไม้กระดานเนื้อแข็งตามแนวขวางของวังทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
ส่วนฝายืนส่วนบนสุดของฝาผนังที่ติดกับโครงหลังคามีการฉลุลวดลายแบบเรขาคณิต
หลังคาวัง ออกแบบเป็นรูปจั่วแบบมนิลาหรือบลานอมุงด้วยกระเบื้องดินเผากระเบื้องหางแหลมแบบโบราณ
เมื่อมองจากภายในสามารถมองเห็นโครงสร้างหลังคาไม้ได้อย่างชัดเจน
เนื่องจากไม่มีฝ้าเพดาน ปลายมุมแหลมของยอดจั่วทำเป็นเสาขนาดเล็ก
ตกแต่งด้วยลวดลายฉลุไม้งดงาม แต่ในปัจจุบันยอดจั่วส่วนหลังของวังชำรุดเป็นบางส่วน
เชิงชายใช้ไม้กระดานเป็นเชิงชายแผ่นเดียว
ด้านล่างฉลุไม้เป็นลวดลายรอบตัวเรือนเป็นลายเรขาคณิต
ผสมผสานกันระหว่างรูปโค้งและรูปเหลี่ยมต่างๆ
ประตูใหญ่หรือประตูหน้า คือ
ประตูทางเข้าห้องโถง ทำเป็นประตูโค้ง กว้าง ๑ เมตร ๑๕.๕ เซนติเมตร สูง ๑ เมตร ๗๕
เซนติเมตร ส่วนโค้งด้านบนยาว ๑ เมตร กว้าง ๓๘ เซนติเมตร
สลักลวดลายพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวาอยู่ด้านบน ด้านข้างและด้านหลังยังมีประตูอีก ๔
บาน เป็นประตูภายในวัง ๒ บาน และประตูทางออก ๒ บาน บานประตูทำด้วยไม้ กว้าง ๑ เมตร
๘ เซนติเมตร สูง ๑ เมตร ๘๖ เซนติเมตร
ส่วนบนของบานประตูทำเป็นช่องลมฉลุลวดลายแบบต่างๆประตูบานที่ ๒ ซึ่งอยู่ภายในตัว
โถงลวดลายฉลุระหว่างลายเรขาคณิตกับลายพรรณพฤกษา ประตูบานที่ ๓
ซึ่งอยู่ภายในตัวโถงและประตูทางออกด้านขวา ฉลุลายพรรณพฤกษา
ส่วนประตูทางออกด้านซ้าย มีบานประตูเป็นลายลูกฟักแบบจีน
ด้านบนฉลุลายอักษรอาหรับประดิษฐ์ปัจจุบันประตูนี้ได้ปิดไม่ได้ใช้งาน
เนื่องจากมีการสร้างห้องขึ้นใหม่
หน้าต่าง เป็นแบบประตูเปิดคู่
ตัวบานทำเป็นลายลูกฟักเหนือขึ้นไปมีช่องลมฉลุลวดลายพรรณพฤกษาปละดาว
ช่องลมหน้าต่างส่วนหน้าของวังเป็นลวดลาวเรขาคณิต
ช่องลมภายในตัววังล้วนใช้ลวดลายพรรณพฤกษา ยกเว้นช่องลมชั้นบน
ใต้หลังคาตรงส่วนหลังเป็นลวดลายผสมระหว่างลายพรรณพฤกษาและลายเรขาคณิต
การใช้พื้นที่ภายในวังในอดีต
แบ่งเป็น ๒ ส่วน
คือส่วนชั้นล่างของวังและส่วนชั้นบนของวัง
๑.ส่วนชั้นล่างของวัง แบ่งออกเป็นส่วนหน้าและส่วนหลัง
๑.๑ ส่วนหน้า ประกอบด้วยลานดินโล่งด้านหน้าและด้านข่างก่อนถึงตัวอาคารซึ่งมีบันไดทางขึ้น
ภายในอาคารเป็นอาคารห้องโถงขนาดใหญ่มีการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย
ใช้สำหรับพิจารณาคดีความ ตนกูยาลินี สนิทวาที เจ้าของวังระแงะคนปัจจุบัน เล่าว่า
เจ้าเมืองระแงะจะนั่งอยู่มุมเสาทางด้านซ้ายของห้องโถง
ส่วนบริเวณด้านขวาใช้เป็นสถานที่ยื่นฏีการ้องทุกข์(สัมภาษณ์ ๓ กันยายน ๒๕๓๖ )
๑.๒ ส่วนหลัง จากประตูซึ่งกั้นส่วนหน้าและส่วนหลังเข้าไป
ด้านซ้ายเป็นห้องพักของเจ้าเมืองระแงะ ด้านขวา
เป็นน้องชายเจ้าเมืองระแงะผ่านประตูบานต่อไปเป็นห้องโล่งมีบันไดอยู่ทางขวาซึ่งใช้สำหรับขึ้นไปชั้นบน
ส่วนบันไดทางซ้ายเป็นบันไดที่เจ้าเมืองใช้ลงมาอาบน้ำ
โดยมีประตูไม้เปิดออกจากตัวอาคารวัง ๒ บาน หากเดินผ่านประตูออกไปทางด้านหลังจะเป็นที่อยู่ของเหล่าบริวาร
ด้านขวามือมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ๒ แห่ง ด้านซ้ายมือมีอีก ๑ แห่ง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้เก็บกักน้ำฝนแทนโอ่งน้ำ
๒.ส่วนชั้นบนของวัง
ด้านขวามีห้องใหญ่ ๑ ห้อง เป็นห้องของเจ้าเมืองระแงะ
ด้านหน้าของห้องเป็นที่โล่ง ด้านซ้ายเป็นบันไดสำหรับลงไปอาบน้ำ
นอกจากนี้ภายในวังระแงะมีสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่งที่มีความงดงาม
และมีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยกันหลากหลายชิ้น
อีกทั้งยังสะท้อนถึงการติดต่อสัมพันธมไมตรีกับชาวต่างชาติในขณะนั้น เช่น ชาวจีน
ชาวอินเดีย ชวา มลายู และสิงค์โปร์
เป็นต้นโดยเฉพาะเครื่องใช้ในครัวเรือนมีทั้งประเภทถ้วยโถโอชาม
ภาชนะต่างๆมีลวดลายแบบศิลปะจีน ลวดลายดอกไม้ ลายก้อนเมฆ ลายปลา ลายดอกไม้ใบไม้
ลายนกยูง ลายนกนางแอ่น
รวมทั้งเครื่องทองเหลืองหลากหลายรูปทรงหลากหลายรูปแบบการใช้งานอาทิ กาน้ำ เครื่องเขียนหมาก
กระปุกรูปทรงต่างๆที่สวยงามและเครื่องครัวประกอบอาหาร เนื่องจากวังระแงะแห่งนี้
เดิมเป็นสถานที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเครื่องทองเหลืองเป็นอย่างมาก
ณ วันนี้ แม้ว่าระแงะจะเสื่อมโทรมสภาพไปตามกาลเวลา
แต่สถาปัตยกรรมของวังที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ช่วยบ่งชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและเศรษฐกิจในสมัยนั้น
และบ่งบอกถึงการนำศิลปกรรมของชวา
และแบบตรังกานูเข้ามาผสมผสานกับศิลปกรรมของท้องถิ่นได้อย่างลงตัว
จนเกิดเป็นความสง่างามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงอดีตอันรุ่งโรจน์โชติช่วงของเมืองระแงะ จวบจนปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น