วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

วังเก่าเจ้าพระยาระแงะ



ความเป็นมาเมืองระแงะ
จังหวัดนราธิวาสของเราปัจจุบันเดิมเป็นอาณาบริเวณของเมืองระแงะ เมืองสายบุรี และบางส่วนของเมือง กลันตัน (Negeri kelantan) เมืองระแงะ (Negeri kelantan) ในอดีต ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะฯลฯ มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเมืองกลันตัน ดังจะกล่าวต่อไป ส่วนเมืองสายบุรี เป็นเมืองที่เก่าแก่ คือเก่าแก่กว่าปัตตานีพอๆกับลังกาสุกะเมืองสายบุรี คือเมืองสาย (Negeri sai) เป็นเมืองเก่าแก่ อาจเก่าแก่กว่าเมืองปัตตานีในมหากาพย์ Nagara Kertagama ของชวา ซึ่งได้เขียนในคริสศตวรรษที่ 13 ได้กล่าวถึงเมืองลังกาสุกะและเมืองสาย ไม่ได้กล่าวถึงปัตตานีเลย คงเป็นไปได้ว่า สมัยนั้นปัตตานียังไม่ได้เป็นเมือง คือ ยังเป็นเองลังกาสุกะอยู่ใน Hikayat Pattani ได้ระบุว่า เมื่อพระยาเมืองปาตานี (ปัตตานี) เข้ารับอิสลามทั้งครอบครัว มีธิดาองค์หนึ่ง เมือเข้ารับอิสลามแล้วเปลี่ยนพระนามเป็น ซีตีอาอีซะห์ ได้อภิเษกสมรสกับ Raja Jalal พระยาเมืองสายตอนที่มูซอฟฟารชาห์ พระยาเมืองปัตตานีไปอยุธยานั้นได้ทรงตั้งพระยาเมืองสายซึ่งเป็นน้องเขยของพระองค์เป็นผู้รักษาราชการเมืองปัตตานี แสดงว่า พระยาเมืองสายเข้ารับอิสลามสมัยเดียวกันกับพระยาเมืองปัตตานี หรืออาจเข้ารับอิสลามก่อนปัตตานีด้วยซ้ำไป เมืองระแงะ เพิ่งปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อปัตตานีถูกแบ่งออกเป็น 7 หัวเมือง ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ปัตตานีถูกแบ่งออกเป็น 7 หัวเมืองตั้งแต่เมื่อไร บ้างว่าใน พ.ศ.2335 บ้างว่า 2352 ถึงอย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2298 เมืองระแงะกับเมืองรามัน มีชื่อแล้ว ในประวัติศาสตร์ของกลันตันระแงะ เป็นคำภาษามลายู เพี้ยนจาคำว่า LEGEH หมายถึง บริเวณ โดยปกติเป็นที่สูง ที่แยกต้นน้ำสองสายหรือมากกว่าในประวัติศาสตร์ของมืองกลันตันระบุว่า สุลต่านกลันตันสืบเชื้อสายมาจากเมืองปัตตานี เจ้าเมืองกลันตันบางท่าน เป็นพ่อตา น้องเขย และบุตรเขยของเจ้าเมืองระแงะ เจ้าเมืองกลันตันบางท่าน ทางเจ้าเมืองระแงะ เป็นผู้แต่งตั้ง บางสมัยเช่นตอนที่พวกลูกหลานเจ้าเมืองกลันตันขัดแย้งกันในเรื่องผู้สืบแทนเจ้าเมือง มีอยู่ท่านหนึ่งมาหลบภัยอยู่ที่บางนรา คือหลงญีนัล ตอนที่ตนกูปะสา (ตนกูบือซาร์/Tengku Besar) อพยพมาเป็นเจ้าเมืองหนองจิก (ก่อนที่จะเป็นเตชจ้าเมืองปัตตานี) ก็มีพลพรรคอพยพติดตามมาด้วยประมาณ 6,000 คนไม่รวมพวกอพยพภายหลังที่มา ตั้งหลักแหล่งริมทะเล ตั้งแต่ตากใบเรื่อยจนถึงปากน้ำบางนรา หรือเลยขึ้นไปอีก เช่นบานทอน สายบุรี จนถึงปัตตานี เป็นต้น
ใน พ.ศ. 2264 เจ้าเมืองกลันตันที่มีนามว่า ราชาอุมาร์ ( Raja Umar ) สิ้นชีวิตด้วยโรคชรา หลงบาฮาร์ ลูกเขยของท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าเมืองกลันตัน หลงสุลัยมาน บุตรเจ้าเมืองกลันตันคนใหม่ ( หลงบาฮาร์ )มีบุตรี 2 คน กับบุตรชายอีก 1 คน มีนามว่า ต่วนเดวี ต่วนกึมบัง และหลงยูนุส ตามลำดับต่วนเดวี บุตรีคนโตของหลงสุลัยมานได้แต่งงานกับจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน/Long Deraman/Long Abdul Rohman )เจ้าเมืองกลันตัน ( หลงบาฮาร์ ) สิ้นชีวิตใน พ.ศ. 2276 ด้วยโรคชรา หลังจากปกครองเมืองกันตัน 13 ปี หลงสุไลมานเป็นเจ้าเมืองกลันตันแทนบิดา ( หลงบาฮาร์ ) ที่เสียชีวิต ใน พ.ศ. 2299 เกิดการนองเลือดในวังกลันตัน โดยเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน ) ซึ่งเป็นลูกเขยเจ้าเมืองกลันตัน ( หลงสุไลมาน/หลงสนิ/หลงนิ/Long Sulaiman/Long Senik/Long Nik ) แทงพ่อตายของท่านเองคือเจ้าเมืองกลันตัน ( หลงสุไลมาน ) จนเสียชีวิต เจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน) แต่งตั้งลูกพี่ลูกน้องของเจ้าเมืองกลันตัน(หลงสุไลมาน ) ที่ชื่อหลงปาเนาะ ( Long pandok ) บุตรต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมืองกลันตัน และเจ้าเมืองกลันตัน ( หลงปาเนาะ) ท่านนี้เป็นเขยของเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน ) พนักอยู่ที่วังกูบังลาบู วังกูบังลาบู ( ใกล้หมู่บ้านปาเซร์เปอกัน /Pasir Pekan ) สร้างประมาณ พ.ศ. 2245 โดยต่วนสุหลง บิดาของสุลต่าน ( หลงปาเนาะ ) ก่อนหน้านี้หนึ่งปี วังและตำหนักสนิง ( Sening )ใกล้บ้านยึมบัล ( Jembal) สร้างโดยหลงบือซาร์ ( หลงบาฮาร์/Long Besar/Long Bahar ) ซึ่งสืบเชื้สายจากาปัตตานี ใน พ.ศ.2262 หลงบือซาร์ได้รับแต่งตั้งเป็นสุลต่านที่ยึมบัล ท่านสิ้นชีวิตใน พ.ศ. 2276 หลงสุลัยมาน ได้รับแต่งตั้งเป็นสุลต่านแทนบิดา และต่อมาถูกเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน ) แทงจนสิ้นชีวิตดังได้กล่าวมาแล้ว ใน พ.ศ. 2297 เกิดการนองเลือดในวังกูบังลาบูอีกครั้งหนึ่งโดยสาเหตุจากความหึงหวง กล่าวคือ หลงยะห์ฟาร์ ( Long Jakfar/Long Gafar) บุตรเจ้าเมืองรามัน ได้ไปเยือนกลันตัน อังกูตือเงาะห์ ( Angku Tengah/Angku Mas ) ปราไหมสุรี สุลต่านเมืองกลันตัน( หลงปาเนาะ) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของหลงกาฟารืได้เห้นผ้าคาดเอวของหลงกาฟาร์มีลวดลายสวยงามมากจึงขอยืมเป็นตัวอย่างในการทอผ้าเพื่อให้สามีซึ่งเป็นสุลต่านเมืองกลันตันได้ใช้ผ้าคาดเอวสวยงามบ้าง  เมื่อหลงกาฟาร์กลับเมืองรามันก็ไม่ได้ขอคืนผ้าดังกล่าว เมื่อสุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) เห็นผ้าคาดเอวดังกล่าวแขวนอยู่ในห้องเลยคิดว่าเมื่อสุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) เห็นผ้าคาดเอวดังกล่าวแขวนอยู่ในห้องเลยคิดว่า หลงกาฟาร์คงมีอะไรๆกับภรรยาของตน จึงแทงภรรยาของตนทันทีโดยไม่ได้สืบสวนแต่อย่างใด อังกูมัส หรืออังกูตือเงาะห์สิ้นชีวิตทันที แล้วสุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) ได้เอาศพของอังกูมัสผูกบนช้าง นังมาลาด้วยผ้าคาดเอวของหลงกาฟาร์ และส่งกลับไปยังเมืองระแงะ เมื่อเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือารห์มาน ) เห็นศพลูกสาวของตนถูกมัดอยู่บนหลังช้างนังมาลา ซึ่งเป็นช้างที่ตนมอบเป็นของขวัญวันแต่งงานบุตรีของตนกับสุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) จึงตกใจมาก และเมื่อเห็นผ้าคาดเอวของหลงกาฟาร์บุตรเจ้าเมืองรามันถูกฉีกและทำเป็นเชือกมัดศพลูกสาวของตนจึงพอจะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร หลังจากเสร็จพิธีฝังศพเรียบร้อยแล้ว ทั้งเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน ) และหลงกาฟาร์ จึงนำกองกำลังไปตีวังกูบังลาบู สุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) ถูกเจ้าเมืองระแงะ ( หลงดือราห์มัน ) แทงด้วยกริชถึงแก่ชีวิต แล้วแต่งตั้งหลงมุฮัมมัด น้องชายของสุลต่านกลันตัน ( หลงปาเนาะ ) เป็นสุลต่านกลันตันต่อไป ( พ.ศ.2301 )
การที่เจ้าระแงะแต่งตั้งหลงมูฮัมมัดเป็นสุลต่านกลันตัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายในเมืองกลันตันในเวลาต่อมา กล่าวคือ สุลต่านคนก่อน ( หลงสุลัยมาน ) มีบุตรชายคนหนึ่งมีนามว่า หลงยูนุส บรรดาญาติพี่น้องเห็นว่า คนที่สมควรเป็นสุลต่านกลันตันนั้นคือ หลงยูนุส แต่เจ้าเมืองระแงะไม่ยอมฟังเสียงจึงแต่งตั้งหลงมูฮัมมัดสุลต่านกลันตัน ฝ่ายญาติพี่น้องก็ยอมแบบไม่เต็มใจนัก อีกอย่างหนึ่งขณะนั้นหลงยูนุสอายุยังน้อย คงคิดว่า โอกาสที่หลงยูนุสจะเป็นเจ้าเมืองนั้นยังมีอีกมาก หลงยูนุสเป็นบุตรเจ้าเมืองที่ชอบคลุกคลีกับชาวบ้าน งานอดิเรกของท่านอย่างหนึ่งก็คือ เล่นไก่ชน จึงเป็นเพื่อนสนิทกับ
หลงกาฟาร์บุตรเจ้าเมืองรามัน ซึ่งชอบเล่นไก่ชนเช่นกัน ทั้งสองจึงตระเวนไปตามบ้านเพื่อชนไก่ กล่าวกันว่า ถ้าชนะจะไม่เอาเงินเดิมพัน แต่ถ้าแพ้ยอมจ่ายสิ่งที่เดิมพัน ประชาชนจึงนิยมชมชอบมาก ซึ่งเป็นที่ระแวงของเจ้าเมืองกลันตันตลอดมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จๆ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัตตานี ถูกแบ่งออกเป็น 7 หัวเมือง คือ ปัตตานี ยะลา หนองจิก ยะหริ่ง รามัน สายบุรี และระแงะหนิเดะ ( ขุนปลัดหนิเดะ ) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาระแงะใน พ.ศ. 2359 ตั้งบ้านอยู่ที่บ้านระแงะ ต่อมาหนิเดะแข็งข้อ หนีไปเปรัก 
( พ.ศ. 2375 ) จึงแต่งตั้งหนิบอซู ชาวบ้านบางปู เป็นพระยาระแงะแทนหนิเดะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตันหยงมัส

เมื่อหนิบอซูสิ้นชีวิต ต่วนโหนะ ( พระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา ) บุตรต่วนบอซูเป็นพระยาระแงะ ในขณะเดียวกันต่วนแตะ ( Tuan Teh) น้องชายต่วนโหนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาศรีรัตนไพศาล ผู้ช่วยพระยาระแงะ ต่วนโหนะเสียชีวิตในปีฉลู ศักราช 1251 ( พ.ศ. 2432 ? ) ต่วนเหงาะ บุตรต่วนสุหลง พี่ชายต่างบิดาของต่วนโหนะ รับการแต่งตั้งเป็นพระยาระแงะ หนิเหงาะ/ต่วนเหงาะ ( พระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา ) สิ้นชีวิต พ.ศ. 2480 ( ? ) ซึ่งเป็นพรยาระแงะคนสุดท้าย ( ยกเลิกเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444 )
เครดิต: http://ahmadgroupservice.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น