จะมีใครทราบบ้างหรือไม่ว่า
ม.อ. ตานี บ้านหลังใหญ่ของเรา มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่มีชื่อว่า
เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ม.อ. ปัตตานี
ระยะทางไม่ไกลนัก เพียง 1.5 กิโลเมตร
เริ่มตั้งแต่บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนหลังคณะวทท. ไปจนแฟลต 13 คุณค่าของพื้นที่มีมากมาย และที่สำคัญเป็นแหล่งเรียนรู้
เป็นห้องเรียนธรรมชาติ ที่มีอยู่ใน ม.อ.
แม้กระทั่งการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนใกล้เคียงเช่น
วิถีการทำประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก บ้านรูสะมิแลก็สามารถทำได้ บริเวณเส้นทางฯ มี พืชป่าชายเลน เช่น ต้นลำพู โกงกาง แสมทะเล ฝาดดอกขาว
ตาตุ่ม ถั่ว และอื่น ๆ นานาพันธุ์ หิ่งห้อย นกหลากหลายสีสัน ทั้งชนิดนกป่า นกน้ำ และนกประจำถิ่น
หรือชายเลนอพยพ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น งูเหลือม นาก เสือปลา กบ ปลาตีน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในหาดเลน และมีหอดูนก
จุดชมวิวริมทะเล
กว่าที่จะมาเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติฯ
เริ่มจากกลุ่มนักศึกษาที่ได้ใช้พื้นที่ในการดูนก
ศึกษาธรรมชาติในรายวิชาสัตววิทยา เพื่อทำหน้าที่เป็นทูตสัญจร
เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพในอ่าวปัตตานี
รักและหวงแหนสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น และส่งเสริมการอนุรักษ์
โดยนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ สัมผัสด้วยตนเอง
ใช้ป่าชายเลนและนกเป็นตัวนำในการทำกิจกรรมกับน้อง ๆ ในโรงเรียนประถมศึกษาใน จ.
ปัตตานี ปีละ 10 โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม พิพิธภัณฑ์สัญจร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี
2548-ปัจจุบัน
หลังจากนั้นนักศึกษากลุ่มนี้เรียนในวิชาเทคนิคทางชีววิทยา
(2549) ได้ร่วมกันเขียนป้ายบอกจุดต่าง ๆ ป้ายนิเทศ และกำหนดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นมา โดยได้รับการอนุญาตการใช้พื้นที่จากท่านรองอธิการบดีวิทยาเขตฯ
ต่อมาได้ฝึกซ้อมการเป็นวิทยากรในเส้นทางฯ และก็ได้ทำพิธีเปิดเส้นทางฯเป็นทางการในเวลาไล่เลี่ยกัน นั่นคือหนึ่งในความภูมิใจที่มอบให้สถาบันแห่งนี้
ที่มีความหลากหลายของธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศชายฝั่ง มีหาดเลน ให้เราได้เรียนรู้
ค้นหา
เส้นทางศึกษาธรรมชาติฯ
ได้รับความอนุเคราะห์จากแหล่งทุนภายนอก เช่น UNDPและ
Oxfam ถึงแม้ว่าเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก
แต่ก็นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในท้องถิ่น
จุดย่อยในเส้นทางฯ
ได้ ถูกกำหนดชื่อ เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรม
และเนื่องจากมีความโดดเด่นในแต่ละพื้นที่ต่างกัน มีชื่อเรียกดังนี้
จุดที่
1
นกน้ำสองฤดู
จุดที่
2
ปลา ปู หมู่กุ้ง
จุดที่
3
มุ่งสู่ลานไทร
จุดที่
4
สราญใจบ่อพักน้ำ
จุดที่
5
ข้ามมาชายป่า
จุดที่
6
หรรษาพืชพรรณ
จุดที่
7
ชมตะวันยามอัสดง
เชิญชวนให้ลองสำรวจพื้นที่เส้นทางฯนี้
ที่มีบทบาทเป็นห้องเรียนธรรมชาติ แล้วเล่าสู่กันฟัง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บไซต์บุรงตานี (ในกลุ่มสัตววิทยา/นก)
กล่าวถึงการเข้าใช้ประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม คุณค่าของเส้นทางฯ ลองสังเกตลักษณะของพื้นที่แต่ละจุดย่อยว่า
ชื่อที่กำหนดไว้มีนัยบอกลักษณะเด่นของพื้นที่หรือไม่ หรือ มี นก
ต้นไม้ หรืออะไรที่ตนเองได้เรียนรู้
------------------
เชิญผู้ที่สนใจเข้าชม ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในรอบเขตพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี และศึกษาดูนกนานาพันธิ์ได้ที่...
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ที่อยู่: ตำบล รูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี ปัตตานี 94000
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น