วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนจังหวัดยะลา


ประวัติความเป็นมา
คนไทยนิยมเลี้ยงและนิยมเล่นนกเขาชวามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตจะนิยมเลี้ยงและเล่นกันในราชสำนัก ข้าราชบริพาร ขุนนาง คหบดี และประชาชนที่สูงอายุเท่านั้น มักจะจัดการแข่งขันในงานนักขัตฤกษ์ และงานชมรม สมาคมเกี่ยวกับนกเขาชวารวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ก็มักจัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งคราว แต่ปัจจุบันการเลี้ยงและการจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียง แพร่กระจายมาสู่พ่อค้า ประชาชน และบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาบางส่วน ประชาชนนิยมเลี้ยงและเล่นนกเขาชวามาช้านาน โดยกระจัดกระจายอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ และจัดให้มีการแข่งขันในกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะที่สนใจเท่านั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏยืนยัน
ได้ว่าการจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียงเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักเลงนกเขาว่า การแข่งขันนกเขาชวาเสียงที่ยิ่งใหญ่เป็นที่สนใจของผู้นิยมเลี้ยงนกมากที่สุด คือ การแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี ณ สนามโรงพิธีช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ เทศบาลเมืองยะลา ร่วมกับจังหวัดยะลา ชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงจังหวัดยะลาและชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงภาคใต้โดยการสนับสนุนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันพัฒนาสนามแข่งขัน และกติกาการแข่งขันให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น ตลอดจนความคิดที่จะพัฒนาเสริมสร้างประโยชน์ให้กับท้องถิ่นในด้านเศรษฐกิจจึงได้กำหนดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงชนะเลิศในระดับอาเซียน ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ณ สนามโรงพิธีช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยการใช้ชื่อในการจัดการแข่งขันว่า "การจัดงานแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์กลุ่มประเทศอาเซียนครั้งที่ ๑" สาเหตุที่ใช้คำว่า "อาเซียน" เพราะมีประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเข้าร่วมแข่งขันด้วย คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน ซึ่งประเทศดังกล่าวนี้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับประชาชนในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของไทย ได้มีการแลกเปลี่ยน สนับสนุนเกื้อกูลกันในเรื่องต่าง ๆ มาตลอด ที่สำคัญคือ มีความชื่นชอบและนิยมเลี้ยงนกเขาชวาเสียงเหมือนกัน จึงเกิดเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม คือ สังคมนกเขาชวาเสียงตลอดมา

การจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียงครั้งแรก มีผู้ส่งนกเข้าแข่งขันมากถึง1,206 นกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้นิยมเสียงนกเขาชวาเสียงและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดยะลาและประเทศไทยเป็นอย่างมากวงการนกเขาชวาเสียงมีความตื่นตัวมีการซื้อหาและจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายตลอดจนขยายกิจการฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงเพิ่มขึ้นเกิดธุรกิจนกเขาวาเสียงและสินค้าอื่นๆที่เกี่ยวกับการเลี้ยงนกเขาชวาเสียงเกิดขึ้นตามมาเช่นข้าวเปลือกนกเขาดอกหญ้ากรงนกและอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูแลนกหลังจากนั้นการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนของจังหวัดยะลาได้จัดให้มี การแข่งขันตลอดมาเป็นประจำทุกปี โดยได้พัฒนากิจกรรมต่างๆ ตลอดมาจนกระทั่งครั้งที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อในการจัดการแข่งขันจาก "การจัดงานแข งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์กลุ่ม ประเทศอาเซียน " เป็น "จัดงานแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนครั้ง ที่ ...... . ... .." เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันปีพ.ศ. 2543 ได้จัดการแข่งขันครั้งที่ 14 รวมมีนกเข้าร่วม แข่งขันมาแล้วทั้งสิ้นประมาณ 30 , 000 นก
บรรยากาศความคึกคัก สนุกสนาน รอยยิ้มที่ทักทายกันด้วยความรัก ความเป็นมิตร ของผู้คนมากมายที่ไม่ได้คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนาและฐานะ พร้อมกับความหวัง จะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุก ๆ ปี ในงานการจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนของจังหวัดยะลา จนถือเป็นประเพณีของจังหวัดยะลาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้บรรจุงานแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนลงในปฏิทินการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเผยแพร่ไปสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย


ความสำคัญ

งานแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนของจังหวัดยะลานับเป็นกิจกรรมระดับชาติกิจกรรมหนึ่งที่นอกจากจะเป็นสื่อมิตรภาพที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดความรักความเข้าใจและความร่วมมือซึ่งกันและกันแล้วกิจกรรมดังกล่าวยังช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้ดีขึ้นชาวบ้านหลายครอบครัวมีรายได้จากการผสมนกเขาชวาขายจนสามารถสร้างบ้านใหม่สามารถซื้อรถกระบะสำหรับบรรทุกนกเขาชวาไปขายต่างถิ่นได้ ส่วนผู้มีฝีมือก็ประดิษฐ์กรงนกเขาชวาออกขายได้ราคาดีตามความประณีตของฝีมือ หลายคนเปลี่ยนอาชีพจากการทำเฟอร์นิเจอร์มาทำกรงนกเขาชวาขายบางคนเป็นข้าราชการแต่ทำเป็นอาชีพเสริม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าหลายคนเปลี่ยนมาเย็บผ้าคลุมกรงนกเขาชวาเสียงซึ่งมีรายได้มากกว่าตัดเย็บเสื้อผ้าหลายเท่า นอกจากนี้ในช่วงฤดูกาลของการจัดการแข่งขัน ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผู้คนทั่วทุกสารทิศทั้งในและต่างประเทศทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงนับได้ว่านกเขาชวาเสียงและการจัดงานแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนของจังหวัดยะลา มีบทบาทในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาวบ้านในท้องถิ่นและประเทศชาติได้เป็นอย่างดีตลอดจนได้เสริมสร้างความรักสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างคนในชาติและกลุ่มประเทศในอาเซียนอีกด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้นำรายได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนใน
โรงเรียนสังกัดเทศบาลที่ยากจนและทุนการศึกษาการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกชิงทุนนกเขาชวาอาเซียน ให้กับสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยะลาเป็นประจำทุกปี

ลักษณะนกเขาชวาที่นิยมเลี้ยงเพื่อแข่งขัน
นักเลงนกเขาชวาจะไม่นิยมเรียกคำลักษณะนามของนกเขาชวาว่า "ตัว" แต่จะนิยมใช้คำลักษณะนามว่า "นก" แทน เป็นการยกย่องตามความเชื่อถือของคนโบราณ ที่ถือว่านกเขาชวาเป็นนกที่ให้โชคให้ลาภ และถ้านกเขาชวาลักษณะไม่ดีก็จะให้โทษด้วยไม่เหมือนนกชนิดอื่นที่เลี้ยงไว้ดูเล่นเพียงอย่างเดียว ซึ่งนกชนิดอื่นเรียกคำลักษณะนามว่า "ตัว" ได้ แต่นกเขาชวามักต้องเรียก "นก" เสมอ เช่น "นกเขาชวา ๑๐ นก" เป็นต้น
ภาคใต้ถือว่าการเลี้ยงนกเขาชวาเป็นงานอดิเรก และบางคนยังสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ด้วย หลาย ๆ ครัวเรือนจะมีเสารอกนกจำนวนมากบ้าง น้อยบ้างตามฐานะ และมักจะมีกรงนกเขาชวาแขวนตามชายคาบ้าน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายครัวเรือนที่มีกรงนกผสมพันธุ์ ขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างตามฐานะ ที่สำคัญคือมักจะมีถ้วยรางวัลจากนกเขาชวาที่ชนะการแข่งขันจากสถานที่ต่างๆ เป็นส่วนประดับอาคารชานเรือนของตนด้วย
นกเขาชวาที่นิยมเลี้ยงมี ๒ ประเภท คือ ประเภทนกดีตามตำราเรียกว่า "นกลักษณะ" กับประเภทที่เลี้ยงไว้ฟังเสียงเรียกว่า "นกเสียง" ภายหลังความนิยมนกเขาชวาดีตรงตามตำรา หรือนกลักษณะลดลง เพราะผู้ใดได้นกลักษณะดีตรงตามตำราก็ได้เป็นผู้ชนะตลอดทุกครั้งที่มีการแข่งขัน คนอื่นที่ไม่มีหรือหาได้ไม่ดีเท่าก็จะรู้สึกไม่สนุกเพราะมักแพ้ทุกครั้งความนิยมเลี้ยงนกเสียงจึงมีมากขึ้นในช่วงหลังและนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ การแข่งขันนกเสียงมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้นกเขาชวาผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะผู้เป็นเจ้าของก็จะสนุกและไม่เบื่อ เพราะมีการลุ้นเพื่อให้นกของตนชนะทุกครั้งที่มีการแข่งขัน แต่นกเขาที่จะชนะได้จะต้องขันเสียงกังวานไพเราะ มีจังหวะการขับ และต้องขันทนด้วย ตามกติกาที่คณะกรรมการตัดสินกำหนด ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งในวันที่เข้าแข่งขันโอกาสจะชนะ ก็น้อย ปัจจุบันผู้เลี้ยงนกเขาชวาจึงไม่สนใจรูปร่าง
ลักษณะของนกเขาชวาว่าจะเป็นนกให้คุณหรือ ให้โทษตามตำรา แต่จะมุ่งที่เสียงนกเขาชวาเป็นใหญ่ ถ้าขันเสียงดี ไพเราะมีกังวาน นักเลงนกเขารุ่นใหม่จะนิยมเล่นทั้งสิ้น
เสียงของนกเขาชวามี ๓ ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็ก นักเลงนกเขาชวาทางภาคใต้จัดอันดับราคาเสียง ให้นกเสียงใหญ่มีราคาแพงกว่านกเขาเสียงกลาง และนกเขาเสียงกลางมีราคาแพงกว่านกเขาเสียงเล็กในกรณีที่นกมีความดีเหมือนกันนกที่ขันจังหวะช้ามีราคาดีกว่านกที่ขันจังหวะธรรมดาและจังหวะเร็ว นกที่ขันเสียงท้ายกังวานมากมีราคาดีกว่าท้ายกังวานน้อย และเสียงท้ายยาวที่มีความกังวานดีกว่าเสียงท้ายสั้นที่มีความกังวาน รวมทั้งเสียงหน้ายาวดีกว่าเสียงหน้าสั้นด้วย และนกที่มีความดีเหมือน ๆ กันขัน ๕ จังหวะ จะนิยมมากกว่า ๔ จังหวะ และ ๔ จังหวะจะนิยมมากกว่า ๓ จังหวะ สำหรับการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนจังหวัดยะลานั้นในการแข่งขันทุกครั้งจัดให้มีการแข่งขัน ๔ ประเภท คือ ประเภทเสียงใหญ่ เสียงกลาง เสียงเล็ก และประเภทรวมเสียง
นักเลงนกเขาชวาเสียงจะตั้งชื่อนกของตนเองเป็นชื่อต่างๆ ประจำนกตามความคิด ความเชื่อ และความเป็นมาของนก เช่น ตั้งตามลักษณะรูปร่าง และสีของนก เช่น "นกแก้ว" "หัวจุก" "ช้างเผือก" "สายน้ำผึ้ง" ตั้งเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น "วาสนา" "นำโชค" "ลูกกตัญญู" "เทพนรสิงห์" "เพชรพนม" ตั้งชื่อตามจังหวัดถิ่นที่อยู่ เช่น "ศรีเคดาห์" "ศรีมาเลาะ" "เพชรนครปฐม" "ชีลัตตานี" "สิงห์ ก.ท.ม." "ตาโละกาโปร์" "ศรีอลอสตาร์" "ศรีกระบี่" "หนุ่มชาวเขื่อน" การตั้งชื่อที่ให้ดูน่าเกรงขาม เช่น "ตะเคียนทอง" "ขุนศึก" "จันทร์เพชร" "นางพญา" "ก้องนภา" "สิงห์ทอง" "เพชรมงคล" "เพชรตะวัน" "เพชรทักษิณ" "เพชรสุริยา" การตั้งชื่อตามบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น "เป่เล่" "เป่เล่น้อย" "ปาปิญอง" "ฮิตเลอร์" "มาราโดน่า" "มารีโอ" "ซัมปีโก้" "นโปเลียน" "ไมเคิลแจ๊คสัน" เป็นต้น

ลักษณะของกิจกรรมในงานการแข่งขัน
ในระยะเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันมีกิจกรรมหลักคือการแข่งขันนกเขาชวาเสียงประเภทเสียงต่าง ๆ คือเสียงใหญ่ เสียงกลาง เสียงเล็ก และประเภทรวมเสียง กิจกรรมร่วมได้จัดให้มีการแจกรางวัลบัตรเสารอกแด่เจ้าของนก ผู้โชคดีจะได้รับรางวัลต่างๆ ที่คณะกรรมการได้กำหนดขึ้น ต่อมาในการแข่งขันครั้งที่ ๓ ได้จัดให้มีการแข่งขันแกะเพิ่มขึ้นอีกกิจกรรมหนึ่ง และเมื่อการจัดการแข่งขันครั้งที่ ๕ ได้จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันนกกรงหัวจุก การแข่งขันชนโค และมีการประกวดดนตรีในงานดังกล่าว ต่อมาการจัดงานนกเขาชวาเสียงอาเซียนจังหวัดยะลาได้รับความสนใจ จากประชาชน ทั่วไปแพร่หลายมากขึ้น การจัดกิจกรรมในงานมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การชนไก่ ตกปลา ประกวดพระเครื่อง ประกวดโป้ยเซียน ประกวดร้องเพลง ประกวดดนตรี การออกร้านแสดงสินค้าพื้นเมือง และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับนกเขาชวามากมาย
คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดให้มีรางวัลต่าง ๆ แก่ผู้ชนะในการแข่งขันในแต่ละครั้ง เช่น รางวัลที่ ๑ เป็นรางวัลถ้วยทองคำจากท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในปีที่จัดการแข่งขัน ดังนี้
ครั้งที่ ๑ - ๓ ปี พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ ชิงถ้วยทองคำของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ครั้งที่ ๔ - ๗ ปี พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๕ ชิงถ้วยทองคำของ ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ครั้งที่ ๘ - ๑๐, ๑๓, ๑๔ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘, ๒๕๔๑ , ๒๕๔๒ ชิงถ้วยรางวัลของพณฯนายชวน หลีกภัย
ครั้งที่ ๑๑ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ชิงถ้วยทองคำจากพณฯนายบรรหาร ศิลปอาชา
ครั้งที่ ๑๒ ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ชิงถ้วยทองคำของ ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

นอกจากนี้ยังมีรางวัลอื่น ๆ รองลงมา เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทรทัศน์สี ตู้เย็น สร้อยคอทองคำ พัดลม และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีมูลค่าหนึ่งล้านบาท
เครดิต: http: //www.openbase.in.th/node/7382

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น