วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ร้อยเรื่องเมืองปัตตานี ประเพณีแข่งเรือกอและ

ประวัติ / ความเป็นมา


          เรือกอและ ภาษาพื้นเมืองเรียก เรือโยกอง เป็นเรือประมงหาปลาของชาวประมงภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะ จังหวัดนราธิวาส ทั้งได้ใช้เรือนี้เป็นเรือแข่งขันมาแต่โบราณ และได้หยุดไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาสจึงได้ฟื้นฟูประเพณีแข่งเรือกอและขึ้นใหม่อีกครั้ง
การ แข่งเรือกอและเมื่อ พ.ศ. 2518 นั้น ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสพร้อมใจกันจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทั่วจังหวัดภาคใต้

ครั้งนั้น ได้จัดแข่งหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เรือกอและลำชนะเลิศได้ครองถ้วยพระราชทานประจำปีนั้น ได้แก่ เรือ สิงห์ภักดี ของกลุ่มชาวประมงบาเละฮิเล จังหวัดนราธิวาส

          จากนั้นได้จัดต่อเนื่องเป็นประเพณีทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เรือชนะเลิศแต่ละ ได้แก่
          ปี พ.ศ. 2519 ชนะเลิศ ได้แก่ เรือ นาคราช กลุ่มอำเภอสุไหง-ลก จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2520 ไม่มีการแข่งขัน เพราะมีพระราชพิธีสมโภชช้างสำคัญ
          ปี พ.ศ. 2521-2522 ได้แก่ เรือนาคราช กลุ่มอำเอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2523 ได้แก่ เรือ กระทิงรือเสาะอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2524 ได้แก่ เรือสิงห์ปรีดา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
          ปี พ.ศ. 2525 งดการแข่งขัน เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เสด็จแปรพระราชฐาน ประทับแรมยังจังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2526 เรือชนะเลิศ ได้แก่ เรือสิงห์ตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถเสด็จแปรพระราชฐาน ประทับแรม ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์อีกครั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายธวัชชัย สมสมาน จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ วันที่ 25 กันยายนของทุกปี เป็นวันประเพณีแข่งขันเรือกอและ



กำหนดงาน
          วันที่ 25 กันยายน ทุกปี (จัดคู่กับงานประเพณีของดีเมืองนราและแข่งเรือกอและ ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน) สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่  www.tat.or.th/festival

กิจกรรมมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
จัดให้มีการแข่งเรือกอและในแม่น้ำบางนรา มีการแข่งขันเรือยาว ซึ่งจัดเพิ่มเติมขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2521
มี การจัดขบวนแห่ถ้วยพระราชทานไปตามถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองนราธิวาส จัดขบวนแห่ เรือในแม่น้ำบางนรา กิจกรรมแปรอักษรของนักเรียนโรงเรียนนราธิวาส การแข่งขันกีฬาทางน้ำ มวยทะเล แข่งจับเป็ดในน้ำ ขบวนเรือบายศรี และการแสดง การสาธิตอื่นๆ อีกมาก
กติกาของการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย มีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ ต้องเป็นเรือกอและตามประเพณีท้องถิ่น มีส่วนประกอบสำคัญถูกต้องตามข้อกำหนด ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ และฝ่ายตรวจสอบสภาพเรือรวมฝีพาย กำหนดระยะทางการแข่งขัน 650 เมตา จำนวนฝีพายรวมนายท้ายเรือไม่เกิน 23 คน ฝีพายสำรองไม่เกิน 5 คน ต่อลำ
เรือลำใดเข้าสู่เส้นชัยก่อน ถือเป็นชนะในเที่ยวนั้น หากละเมิดกติกาการแข่งปรับแพ้ได้
การ แข่งเรือกอและ มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา โทนขนาดเล็กและใหญ่ (ตัวผู้ ตัวเมีย) รวม 2 ใบ ฆ้องใหญ่ 1 ใบ บรรเลงเหมือนการแข่งขัน
สิละ



  นับได้ว่าการแข่งขันเรือกอและเป็นประเพณีซึ่งสร้างความสามัคคีระหว่างหมู่คณะเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ให้คนทั่วไปได้รู้เห็นชื่นชม ช่วยสืบทอดงานช่างท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจากการท่องเที่ยวด้วย
ลักษณะของ เรือกอและเรือกอและ ปัจจุบันเป็นเรือกอและชนิดหัวยาว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิมไปบ้างนิยมติดท้ายด้วยเครื่องยนต์เรือ หางยาวแทนใบเรือ เช่นที่ใช้ในอดีต แต่เรือกอและที่เข้าแข่งขัน จะต้องสร้างตามแบบประเพณีท้องถิ่น คือ
          1. ต้องต่อเรือด้วยกระดานเป็นแผ่นๆ ไม่มีลักษณะเรือขุด
          2. ต้องมีกระดูกงู
          3. ต้องมีกง
          4. หัวเรือจะสั้นหรือยาวก็ได้ แต่ต้องมีลักษณะของหัวเรือกอและ

          นอกจากนี้ เรือทุกลำที่เข้าแข่งขันต้องตกแต่งด้วยการเขียนสีเป็นลวดลายขนตัวเรือตามแบบ ประเพณีนิยม มักเป็นลายสัตว์จากวรรคดี หรือตำนานพื้นบ้าน เช่น นาค หนุมาน สิงห์ สมัยโบราณ ลำเรือมีความยาว วัดได้ 20-25 ศอก (1 ศอกเท่ากับ 1 ฟุต โดยประมาณ) นิยมสร้างจากไม้ตะเคียนและไม้ลำพู เรือกอและหัวปาด หรือเรือโยกอง ปัจจุบันสาบสูญหมดแล้ว เรือกอและลำแพกไม่มีสีสันลวดลายสันนิษฐานว่า เริ่มมีขึ้นมาจากชาวประมงในเขต กำปงตะลูแบปัจจุบัน คือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 
ด้วย เหตุที่การประมงทางชายฝั่งภาคใต้ซบเซาลง ประกอบกับไม้ซึ่งจะมาทำเรือหายากขึ้นทำให้จำนวนเรือกอและลดน้อยลงเรื่อยๆ ช่างผู้ชำนาญงานสร้าง งานประดิษฐ์ลวดลายก็ลดจำนวนลงด้วย แต่ยังคงอนุรักษ์แบบของศิลปะโบราณของชาวมุสลิมไว้ได้ ในรูปของงานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยการสร้างรูปเรือกอและจำลองเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งจำหน่ายเป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป / พิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น