วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันได 9 ขั้น สู่ความสุขและพอเพียง อย่างยั่งยืน



อย่าทำให้ตัวเองเสียโอกาสที่จะมีชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 

เพียงเพราะคุณเข้าใจความหมายของคำว่า พอเพียง” แบบผิดๆ

มีคนกล่าวว่า… “เมื่อเรามีมากพอชีวิตเราก็จะมีความสุขแต่ประเด็นที่ค้างคาใจมากที่สุดก็คือมีแค่ไหน ถึงจะเรียกได้ว่า พอ

ผมได้ไปอบรมกับ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ (อจย.)  ในคอร์ส ยักษ์ จับมือ โจน ธรรมธุรกิจ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา อจย. ถามผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนว่า…. เหตุของความพอเพียงคืออะไร?

เฮ้ย!! คำถามนี้ฟังผ่านๆ อาจไม่ได้คิดอะไร แต่พอได้คิดตามว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ 1 คน รู้จักความพอเพียงได้ล่ะ?

มีผู้เข้าร่วมอบรม หลายคนหลายคนยกมือตอบคำถามของอาจารย์  การใช้จ่ายอย่างพอดี” “การรู้จักพอ” “การใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่หามาได้ฯลฯ

คำตอบมากมายยังคงหลั่งไหลออกมาจากความเห็นของผู้เข้าร่วมอบรมเกือบ 100 คน จนกระทั่งมีคำตอบ 1 ที่ดังขึ้นมาทำให้ อจย. หยุดและบอกว่า…….. “นั่นแหละ ใช่เลย

คำตอบนั่นก็คือ…. “การมีคุณธรรม

คุณธรรม คือที่มาของความพอเพียง เมื่อมนุษย์มีคุณธรรมนำชีวิต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเอาเปรียบคนอื่น ความพอก็จะเกิดขึ้นกับตัวเขา

และนอกจากการมี คุณธรรมแล้ว อจย. ยังเพิ่มสาเหตุของความพออีกข้อหนึ่ง นั่นก็คือ การมีความรู้

นั่นคือ เมื่อบุคคลใด มี ความรู้และมี คุณธรรมครบทั้ง 2 ข้อแล้ว ก็จะทำให้เขาเกิดความพอเพียงได้

โดยการนำเอาความรู้ และคุณธรรมนี้ มาพัฒนาให้สามารถ พึ่งตนเองได้คือ ใช้ชีวิตแบบพอประมาณ ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต

และเพื่อให้คนไทยทุกคน สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริงได้ อจย. ได้นำเสนอทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ซึ่งจะทำให้คนที่นำไปใช้มีชีวิตที่ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”  โดยบันได้ 9 ขั้น ประกอบไปด้วย

1.พอกิน
 บันไดขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการมีอาหารการกินที่ดีเสียก่อน เพราะเมื่ออิ่มท้องแล้วเราก็จะได้มีกำลังเดินหน้าต่อไป

2.พอใช้
ขั้นที่ 2 คือ การมีข้าวของเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวก ยารักษาโรคต่างๆ ที่ต้องเอาไว้ใช้ยามจำเป็นอย่างครบถ้วน

3.พออยู่
ขั้นที่ 3 เป็นเรื่องที่อยู่อาศัย คือมีที่อยู่อาศัยที่ดี มีที่หลับที่นอน บังแดด บังลม บังฝนได้

4.พอร่มเย็น
ขั้นที่ 4 คือ การได้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ สงบร่มเย็น เป็นสุข

5.บุญ
ขั้นที่ 5 เมื่อเราสามารถดูแลตัวเองได้ดีแล้ว ก็ให้เอาสิ่งของที่มีมาทำบุญกับ พระ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เพื่อสั่งสมบุญบารมีกันซะก่อน และการทำบุญนี้แหละ จะเป็นเครื่องเตือนใจให้เราไม่โลภ

6.ทาน
ขั้นที่ 6 คือการทำทาน เพื่อสร้างนิสัยของความเอื้อเฟื้อ ความมีเมตตา

7.เก็บรักษา
ขั้นที่ 7 นี้คือการนำผลิตผลของเรา มาทำการเก็บรักษา หรือแปรรูป เพื่อให้ผลผลิตที่เราได้มานั้นอยู่กับเราได้นานๆ

8.ขาย
ขั้นที่ 8 เมื่อเราแปรรูปผลิตภัณฑ์ของเราแล้ว ก็นำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาจำหน่าย เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้เพิ่มมากขึ้น และขั้นนี้ คือขั้นของการสร้างธุรกิจนั้นเอง!!

9.ข่าย
ขั้นสุดท้าย คือการสร้างเครือข่าย สร้างความเข้มแข็ง ด้วยการจับมือกัน เพราะสามัคคีคือพลังที่จะสามารถทำให้เราสามารถที่จะเผชิญหน้ากับทุกๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีภัยพิบัติ หรือภัยธรรมชาติอะไรก็ตาม


บทเรียน 4 ข้อ ที่ผมได้จากบันได 9 ขั้น
1.ความเรียบง่าย คือบันไดขั้นแรกสู่อิสรภาพ
จะเห็นว่าข้อ 14 นั้นจะเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทำชีวิตให้เรียบง่ายมาก-น้อยขนาดไหน? ยิ่งเราทำชีวิตเราให้เรียบง่ายเท่าไหร่ อิสรภาพในการใช้ชีวิตก็ยิ่งอยู่ใกล้มากเท่านั้น

2.จงเป็นผู้ให้ก่อนจะเป็นผู้รับ
หลังจากที่เราใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็นแล้ว จะเห็นว่า ขั้นต่อมาเมื่อเรามีเหลือกินเหลือใช้แล้วก็ยังไม่ได้เอาไปขายนะครับ แต่ให้เอามา ทำบุญ และทำทาน ก่อน

3.จงเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่เรามีเสมอ
สิ่งที่เรามีอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ ผลผลิต หรือข้อมูลความรู้ ก่อนที่จะนำไปขาย ก็ให้แปรรูปมันซะก่อน หากเป็นผลผลิตพากผลไม้ ก็ให้ทำเป็นผลไม้แปรรูปซะก่อน ราคาพุ่งกระฉุด และถ้าเป็นข้อมูลความรู้ ก็ให้เราบ่มเพาะมันด้วยการเอาไปทำให้เกิดผลลัพธ์กับตัวเองซะก่อน และจึงนำมาขาย

4.หัวใจของการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง คือการทำตัวให้เป็นต้นแบบที่ดี
จะเห็นว่าการสร้างเครือข่ายนั้น เป็นบันไดขั้นสุดท้ายของบันได 9 ขั้นเลย เพราะเครือข่ายมันจะจะแข็งแกร่ง และขยายไปได้อย่างกว้างขวางก็ต่อเมื่อ…. ผู้ที่จะมาขับเคลื่อนเครือข่ายนั้นมีชีวิตที่มั่นคง และมั่งคั่งแล้วยังไงล่ะครับ

#โคตรชอบเลย

มีคำพูดนึงที่ อจย. พูดมาแล้วทำให้ผมรู้สึกอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูกด้วยครับ คำพูดนั้นก็คือ… “เราจะฟื้นฟูสังคมที่จุนเจือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันกลับมา

และแน่นอนว่าผมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้แน่ๆ โดยเริ่มต้นจากการทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดี ในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงนี้แหละครับ YES!!

หวังว่าบทความแนวคิดของผมนี้ จะสามารถเป็นหยดน้ำเล็กๆ ที่สร้างแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้าง ไปยังเพื่อนๆ คนอื่นๆ ในสังคมนี้ ให้เข้าใจความหมายของ ความพอเพียงและผันตัวเองมาเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมแห่งการแบ่งปันและหลุดจาก สังคมแห่งการแข่งขันในเร็ววันนะครับ



กิตติ ไตรรัตน์ 
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง National Director ของ The Passion Test ประจำประเทศไทย
ผู้มีความฝันและแรงบันดาลใจที่จะสนับสนุนให้ผู้คน มีอิสรภาพจากภายในใจ
www.KittiTrirat.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น