วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการพัฒนาการศึกษา



ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปี ของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย ในการศึกษาของพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชปณิธานที่จะให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพทรงเห็นว่าการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและต่อการพัฒนาประเทศ ดังกระแสพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท
ซึ่งได้พระราชทานไว้ ณ โอกาสต่างๆ ซึ่งขออัญเชิญมาบางตอนดังนี้
“...การพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดีกินดี
มีความมั่นคงด้วยการให้การศึกษา การศึกษาเป็นเครื่องมือ
สำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็นทรัพยากร
ทางปัญญาที่มีค่าของชาติ...
“...งานด้านการศึกษา เป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
ของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับ

การศึกษาของพลเมือง เป็นข้อใหญ่...

ทรงสนับสนุนให้สร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารและด้อยโอกาส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณส่งเสริมเกื้อหนุนการศึกษาทุกระดับ ทั้งในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบ ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการจัดตั้งโรงเรียนต่างๆ ที่สำคัญอาทิ ปี ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนชาวเขาและเยาวชนในชนบทห่างไกล และพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสนับสนุนโครงการจัดตั้ง โรงเรียนร่มเกล้าสำหรับเยาวชนไทยในท้องถิ่นชนบทห่างไกลที่จังหวัดนครพนม ภายหลังได้มีโรงเรียนร่มเกล้าอีกเป็นจำนวนมากทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ และทรงสนับสนุนให้จัดตั้ง โรงเรียนราชประชาสมาสัยเพื่อเป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนที่เป็นบุตรธิดาของคนไข้โรคเรื้อน ซึ่งมิได้ติดโรคจากบิดามารดา



พระราชทานทุนการศึกษาในทุกระดับนอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทาน

ทุนการศึกษาและรางวัลต่างๆ ทุกระดับการศึกษา เช่น ทุนการศึกษาในมูลนิธิช่วยนักเรียนขาดแคลน ทุนการศึกษาแก่นักเรียนชาวเขา รางวัลแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น ระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้งประเทศ ทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ประสบสาธารณภัย ทรงส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนิน


ทรงมีพระราชดำริด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะ
ในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนา
คุณภาพชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่ ให้สามารถอยู่ได้
โดยการ พึ่งตนเองซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน

กิจการโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทุกประเภท ทรงพระกรุณาฟื้นฟูทุนเล่าเรียนหลวง
และทรงก่อตั้งทุนภูมิพล และทุนอานันทมหิดล ส่งเยาวชนไปศึกษาวิทยาการระดับสูงสาขาต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น สาขาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญแก่เยาวชน ได้แก่ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยทรงมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหนังสือความรู้ที่เหมาะแก่เด็กในวัยต่างๆ รวมทั้งผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้

พระราชทานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

นอกจากจะทรงพระกรุณาสนับสนุนการศึกษาในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่ ให้สามารถอยู่ได้

ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ตัวอย่างของความสำเร็จ
ในเรื่องการพึ่งตนเอง มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบท
ได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้
และนำไปปฏิบัติได้เอง


โดยการ พึ่งตนเองซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยพระราชทานโครงการต่างๆ
เพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่นชนบทให้ช่วยตัวเองได้ เช่น โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำลำธาร โครงการพัฒนาชาวเขา โครงการทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาว โครงการพัฒนาพื้นที่ดินพรุในภาคใต้ โครงการประมงพระราชทาน โครงการโรงเรียนพระดาบส เป็นต้น

ศูนย์ศึกษาการพัฒนา... ตัวอย่างความสำเร็จ
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ตัวอย่างของความสำเร็จในเรื่องการพึ่งตนเอง มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง ดังนั้น พระองค์จึงพระราชทานศูนย์ศึกษาการพัฒนาจำนวน๖ ศูนย์ กระจายอยู่ในภาคต่างๆ ทั้ง ๔ ภาค ตามสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาสรรพวิชา ค้นคว้า ทดลอง สาธิตและดูงานทั้งของเกษตรกรทั้งหลายได้เพิ่มพูนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และได้รับบริการจากทางราชการ โดยประชาชนจะได้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว โดยไม่ต้องติดต่อราชการแบบซับซ้อนดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างจัดไว้ให้ผู้เข้ามาศึกษาดูได้ในลักษณะของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตแล้วนำไปเป็นแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสม

.....................................................




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น