วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี ดินแดนลังกาสุกะ





โบราณสถานและประวัติศาสตร์ (Historic Building)
เมืองโบราณยะรัง (Yarang Ancient Town)
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะรัง

เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายูและอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรังสันนิษฐานว่ามีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร

ศาสนสถาน (Religious site)
มัสยิดกรือเซะ มัสยิดกรือเซะและศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว (The Krue Se Mosque and Chao Mae Kim Kor Niew Shrine)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2121 – 2136)

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี (The Pattani Central Mosque)
มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีสถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

ศาลเจ้าเล่งจูเกียง (The Leng Chu Kiang Shrine)
ศาลเจ้าเล่งจูเกียงสถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
เป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานรูปสลัก ทำด้วยไม้มะม่วงหิมพานต์เป็นรูปของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว (ไม้ประเภทเดียวกับที่นางลิ่มกอเหนี่ยวผูกคอตาย) และเป็นที่เคารพของชาวปัตตานีและเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน นอกจากนี้จะมีพิธีไหว้เทพธิดาและขบวนแห่องค์เทพไปตลอดเส้นทางต่าง งานจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 15 วัน หรือในวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติของไทย

วัดมุจลินทวาปีวิหาร (Wat Mujalinthavapi Viharn)
สถานที่ตั้ง : อำเภอหนองจิก
วัดมุจลินทวาปีวิหาร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ริมเส้นทางหลวงสายปัตตานี-โคกโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่า มาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ ปีพ.ศ. 2388 เดิมมีชื่อว่า "วัดตุยง" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิก และมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมุจลินทวาปีวิหาร" ปัจจุบันเป็นอารามหลวงและมีการบูรณะพระอุโบสถให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสวยงาม

วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม (Wat Chang Hai Rasburanaram)
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์
วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ มณฑป อุโบสถและหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ทวดวัดช้างให้เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถาต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซียแล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้ งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ช่วงเดือนเมษายน วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

พิพิธภัณฑ์ (Museum)
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา (Khatichon Witthaya Museum)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
เป็นศูนย์รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนของชาวมุสลิม ตลอดจนวัสดุเครื่องใช้ในสมัยประวัติศาสตร์อย่างโบราณคดีและศิลปหัตถกรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (Kallayaniwatthana Institute of Arts and Culture)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง

1. พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี : จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติ ผลงานและสิ่งของเครื่องใช้ของพระธรรมโมลี พระพุทธรูป เทวรูปปางต่างๆ พระพิมพ์ พระเครื่อง โบราณวัตถุที่สำคัญ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป เครื่องถ้วยไทย-จีน เหรียญที่ระลึก เงินตราและธนบัตรต่างๆ เป็นต้น
2. พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา : จัดแสดงเรื่องราวให้ความรู้และให้การศึกษาเฉพาะเรื่อง แบ่งเป็นส่วนๆได้แก่ เรื่องเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือและเครื่องใช้พื้นบ้าน ศิลปการแสดงพื้นบ้าน โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากแหล่งชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย ความเชื่อพื้นถิ่นและเทคโนโลยี
เปิดให้เข้าชม : วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-11.30 น. และ เวลา 13.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ

ตลาด (Market)
ตลาดนัดปาลัส (Palas Market )
สถานที่ตั้ง : อำเภอปะนาเระ
อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 เข้าสู่อำเภอปะนาเระ ในช่วงเวลาเช้าของทุกวันพุธ และวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดริมทาง ซึ่งชาวไทยมุสลิมจะแต่งกายแบบพื้นเมืองโพกศีรษะด้วยผ้าบาติกสีฉูดฉาดเดินซื้อของในตลาด เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นชีวิตชนบทของชาวไทยมุสลิมที่มีบรรยากาศเมืองใต้อย่างแท้จริง

สวนสาธารณะและอุทยาน (Park & National Park)
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว (The Saikhao Waterfall National Park)
อุทยานน้ำตกทรายขาวสถานที่ตั้ง : อำเภอปะนาเระ
ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกโพธิ์ ห่างจากตัวอำเภอโคกโพธิ์ประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะ จากนั้นเข้าสู่ตัวอุทยานฯ อุทยานน้ำตกทรายขาวเป็นส่้วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและประกอบด้วยน้ำตกต่างๆ ซึ่งน้ำตกทรายขาว จะเป็นน้ำตกที่สวยที่สุด รองมาเป็นน้ำตกโผงโผง และน้ำตกอรัญวารินตามลำดับ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attractions)
หาดตะโละกาโปร์ (The Talohkapor Beach)
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง
ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 เป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นมีถนนลาดยางเข้าสู่หาดอีกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม บนฝั่งปลูกทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนนอกจากนี้จะมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก

แหลมตาชี (Laem Tachee)
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง
แหลมตาชี ตั้งอยู่ที่ตำบลตะโละกาโปร์ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตรและห่างจากทะเลเพียง 5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่น่าประทับใจกับพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและตกในยามเย็น

หาดแฆแฆ (The Kaekae Beach)
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์
หาดแฆแฆ หาดแฆแฆอยู่ในท้องที่ตำบลน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนอ่าวเล็กๆ มีโขดหินแกรนิตขนาดใหญ่และมีหาดทรายละเอียด ชายหาดแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นชายหาดสาธารณะที่สวยงาม มีผู้คนต่างถิ่นนิยมมาเที่ยวเพื่อชื่นชมความร่มรื่นของธรรมชาติที่งดงามมากมาย

หาดตะโละกาโปร์ (Ta Lo Ka Po Beach)
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 18 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงามมีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม หาดปะนาเระ-

ชลาลัย
หาดปะนาเระ-ชลาลัย (The Panareh-Chalalai Beach)
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์
ตั้งอยู่ที่ตำบลปานาเระ อำเภอปานาเระ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี - ปานาเระ) กิโลเมตรที่ 30 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4075 เข้าไปต่อยังอำเภอปานาเระ อีกประมาณ 13 กิโลเมตร หาดทั้งสองจะยาวต่อเนื่องกัน 4 กิโลเมตร บนฝั่งปะนาเระเป็นชุมชนประมงใหญ่ ส่วนทางใต้ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรจะเป็นหาดชลาลัยซึ่งบนฝั่งเป็นทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
หาดปาตาตีมอ หรือ หาดวาสุกรี (The Wasukri Beach)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรี

หาดปาตาตีมอ หรือ หาดวาสุกรี อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 52กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอสายบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน การเดินทางจากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงสายปัตตานี-นราธิวาส หรืออาจเลือกเดินทางผ่านหาดแฆแฆไปจนถึงอำเภอสายบุรีหรือเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกเข้าสู่อำเภอสายบุรีโดยตรงก็ได้ ลักษณะของหาดทรายเป็นแนวยาวขนานไปกับทิวสน นอกจากนี้ยังมีบังกะโลอีกด้วย

กิจกรรม (Activity)
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง (Yaring Natural Study Centre)
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง
ตั้งอยู่บริเวณริมคลองยามูตรงข้ามที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนยะหริ่ง มีพื้นที่โครงการรวม 500 ไร่ มีทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทองเป็นระยะทางยาวโดยรอบ 1,250 เมตร ตามเส้นทางจะมีระเบียงพักและมีซุ้มสื่อความหมายอธิบายเกี่ยวกับป่าชายเลน มีสะพานทางเดินไม้ยกระดับ ศาลาพักผ่อนและหอชมนก เพื่อชมทัศนียภาพเหนือยอดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนซึ่งหอนี้มีความสูงถึง 13 เมตร
นอกเหนือจากการเดินศึกษาป่าชายเลนตามเส้นทางเดินแล้วยังมีการล่องเรือชมป่าชายเลนซึ่งจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ฯ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติป่าชายเลนตามลำคลองน้อยใหญ่ซึ่งแบ่งเป็น 3 สายคือคลองบางปู คลองกลาง คลองกอและ ตลอดสองฝั่งคลองจะเห็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ นกนานาชนิด

งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (Traditional Fairs and Festivals Celebrations of Chao Mae Lim Kor Niew)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรี
เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวจีนและไทยในจังหวัดปัตตานีอย่างดี ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติจีนหรือหลังตรุษจีน 15 วัน ซึ่งจัดเป็นงานฉลองใหญ่โตทุกปี  งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวโดยการเคลื่อนขบวนแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและเทพอื่นๆ เดินลุยน้ำตรงริมแม่น้ำปัตตานีจากนั้นแห่ไปรอบเมืองตามกำหนดและกลับมายังลานกว้างหน้าศาลเพื่อทำพิธีลุยไฟก่อนที่จะนำกลับไปประดิษฐานที่ศาลในช่วงตอนกลางคืน จะมีการจัดงานมหรสพสมโภช บริเวณลานกว้างมีทั้งงิ้ว มโนราห์ รำลง ภาพยนต์ การแสดงของนักเรียนและร้านขายของราคาถูกมากมาย

งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี (The Saiburi Fishing Competition)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรี
จัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่บริเวณชายหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี กีฬาตกปลาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและจากสภาพภูมิศาสตร์ของหาดที่มีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาเกมส์ อาทิ ปลาสกุลกระโทงแทง ปลาอีโต้มอญ และปลาเศรษฐกิจหลายชนิด จึงเป็นกีฬาที่น่าตื้นเต้นนอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านเช่น การชนแกะและขายสินค้าพื้นเมือง รวมไปถึงอุปกรณ์การประมงด้วย

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ (Other Attractions)
ศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างให้ (The Wat Chang Hai Vocational Training Center)
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์
เกิดขึ้นจากแนวความคิดของผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายพลากร สุวรรณรัฐ ที่มีแรงบันดาลใจให้ต้องจัดทำโครงการนี้ โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในการสนองงานด้านศิลปาชีพ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ใน ปีพ.ศ. 2539 และเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดศูนย์ฯ เพื่อเป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองประจำจังหวัดปัตตานี วิชาที่ฝึกในระยะแรก ก็เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ของภาคใต้ เช่น การทอผ้าไหม การทำกริช และการแกะสลักด้านกริช การทำปืนใหญ่พญาตานีจำลอง การทำเรือกอและจำลอง นอกจากนั้นยังมีการฝึกอาชีพอีกหลาย ๆ สาขา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพและเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ ประกอบด้วยการทำเรือประมงและเรือสำเภาจำลอง การเขียนผ้าบาติก การผลิตภาพสีน้ำมัน การทำดอกไม้จากใบยางพารา ดอกไม้จากผ้าและแป้งข้าวเหนียว การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว การตัดเย็บเสื้อผ้า การปักผ้าด้วยมือและการปักจักรเป็นภาพติดผนังและผ้าคลุมผมของสตรีชาวไทยมุสลิม การจักสานประเภทต่างๆ และการแกะสลักหนังเป็นต้น

หมู่บ้านปะเสยะวอ (The Paseyawor Village)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรี
จากปัตตานีถึงอำเภอสายบุรี ระยะทาง 50 กิโลเมตร แล้วไปต่ออีกราว 2 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าหมู่บ้านปะเสยะวอเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือกอและซึ่งเป็นเรือประมงของชาวปัตตานีและนราธิวาสมีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ระบายสีสันงดงาม จะมีการแข่งเรือกอและที่จัดขึ้นทุกปี



.....................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น