วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประเพณีแห่ลาซัง หรือที่ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "บูยอบือแน"


พิธีลาซัง (ปูยอมือแน) เป็นพิธีฉลองนาหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ลาซังเป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ คือ ลาต้นข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว พิธีนี้มักจะทำในเดือ น 5 หรือ เดือน 6 หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วทุกๆ ปี ชาวนาแถบอำเภอปะนะเระ อำเภอมายอ และอำเภอโคกโพธิ์ ถือปฏิบัติแต่โบราณกาล


เมื่อเสร็จการเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยผู้อาวุโสแก่ประจำหมู่บ้านจะกำหนดวันและ สถานที่ทำพิธีซึ่งมักจะถือย่านกลางหมู่บ้าน ณ กลางทุ่งนาแห่งใดแห่งหนึ่ง และแจ้งกำหนดวันทำการและสถานที่ให้ทราบทั่วกัน เมื่อถึงกำหนดวันทำการทุกๆ คน จะเก็บซังข้าวในนาของตนทุกแปลง นำไปรวมกันมัดเข้าเป็นรูปคนสมมติเป็นชายคนหนึ่ง หญิงคนหนึ่งชายชื่อชมพุก หญิงชื่อสุนทรี ซึ่งมีมตินับถือว่าเป็นผีเสื้อผู้ดลบันดาลประสิทธิ์ประสาทความอุดมสมบูรณ์ ของข้าวกล้าพืชผล และกำจัดศัตรูพืชทั้งมวล (ผีเสื้อเพื้ยนมาจาก ผีเชื้อ“-เชื้อสายหมายถึงบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ทวด คนไทยในแคว้นลาวเหนือเรียก แถนหมายถึงเทวดา) จัดอาหารคาวหวานมี ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวต้ม (ข้าวต้มลูกโยนห่อด้วยใบกะพ้อ) ขนมโดยมากคือขนมต้มข้าว ไก่ต้มและไข่ต้ม ก่อนทำพิธีบวงสรวง จัดแบ่งอาหารที่นำออกมาเป็น 2 ส่วน นำไปถวายวัดที่ใกล้เคียงส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้บวงสรวง เสร็จแล้วใช้เลี้ยงดูซึ่งกันและกัน




พิธีลาซัง (ปูยอมือแน) แห่โต๊ะชุมพุก

ประเพณีลาซัง-โต๊ะชุมพุก คำว่า “โต๊ะ” เป็นคำพูดพื้นบ้านที่เขาเรียก ผู้เฒ่าผู้แก่ ”ชุม” คือการนำเอาไม้ไผ่ - ซังข้าว - เชือก - กระดาษ มาผูกรวมกัน ส่วน”พุก” เป็นการเอารูปหุ่นไปโยนทิ้งเมื่ออันเสร็จพิธีทุกอย่าง ที่สุดก็ผุฟังไป
ส่วน "ลาซัง" อันหมายถึง การอำลาซังข้าว ชาวไทยมุสลิมจะเรียกประเพณีนี้ว่า “ปูยอบือแน” นิยมทำกันในเดือน 5 หรือ 6 ของทุกปี หลังเสร็จฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวบ้าน โดยจะเลือกวันที่เป็นวันมงคลจัดพิธีกรรมขึ้น




 การบวงสรวงจัดตั้งร้านกลางแจ้งไม่มีหลังคา (ศาลเพียงตา) นำเอาเครื่องบวงสรวงมีอาหารต่างๆ ดังกล่าว ดอกไม้ ธูเทียน ดอกมะพร้าว (จั่นมะพร้าว) มะพร้าว อ่อนปอกเปลือก และเฉาะเปลือกเปิดออก นำขึ้นไปตั้งบนร้าน นำรูปนายชุมพุกและนางสุนทรี มาตั้งหน้าร้านผู้เฒ่าในตำบลทำหน้าที่เป็นผู้กล่าวบวงสรวง และกระทำพิธีแต่งงานให้แก่รูปจำลองทั้ง 2 โดยกล่าวทำขวัญแต่งงานโดยตลอด เสร็จแล้วผู้ที่มาชุมนุมร่วมเลี้ยงอาหารซึ่งกันและกันเป็นอันเสร็จพิธีโดยมากนิยมทำกันวันเดียวเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าเสร็จพิธีรวมเที่ยงวันบาง แห่งกระทำกันสามวัน วันต้นทำพิธีดังกล่าว วันที่ 2 วันที่ 3 มีมหรสพแสดงกลางทุ่งนาซึ่งโดยมากใช้หนังตลุงสมโภชในตอนกลางคืน















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น