การจ่ายซะกาต
คือ การจ่ายทรัพย์สินในอัตราส่วนที่ศาสนากำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
จากทรัพย์สินที่สะสมไว้เมื่อครบกำหนดเวลา
โดยจะต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ให้แก่คนที่มีสิทธิ์ได้รับ 8
จำพวกตามที่คำภีร์กุรอานได้กำหนดไว้อันได้แก่ 1) คนยากจน 2) คนที่อัตคัดขัดสน 3) คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม 4)
ผู้บริหารการจัดเก็บและการจ่ายซะกาต
5)ไถ่ทาส
6) ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7) คนพลัดถิ่นหลงทาง
8) ใช้ในหนทางของอัลลอฮฺ
ความจริงแล้วคำว่า "ซากาต"
โดยทางภาษาแปลว่า "การซักฟอก การทำให้สะอาดบริสุทธิ์
และการเจริญเติบโต"และคำว่า "ซะกาต"
นี้ได้ถูกกล่าวควบคู่กับการนมาซในคัมภีร์กุรอานไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง ด้วยเหตุนี้
มุสลิมที่ปฎิบัตินมาซแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาตนั้น ความเป็นมุสลิมของเขาจึงยังไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์ที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมจ่ายซะกาตก็คือ
เพื่อเป็นการยืนยันถึงความศรัทธา นอกจากนั้นแล้ว
การจ่ายซะกาตก็ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายให้มีความสะอาดบริสุทธิ์
ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการสร้างความเจริญให้แก่สังคมอีกด้วย
ที่กล่าวว่าซะกาตมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายซะกาตก็เพราะ
อิสลามถือว่าทรัพย์สินที่มุสลิมหามาได้นั้นถึงแม้ว่าจะหามาด้วยความสุจริตก็ตาม
หากทรัพย์สินที่สะสมไว้นั้นยังไม่ได้นำมาจ่ายซะกาต ทรัพย์สินนั้นก็ยังไม่บริสุทธิ์ เพราะซะกาตเป็นสิทธิ์ของคน 8 ประเภทดังที่กล่าว
การไม่จ่ายซะกาตก็คือการยักยอกสิทธิ์ของคนเหล่านั้น ขณะเดียวกัน
การจ่ายซะกาตก็จะช่วยชำระจิตใจของผู้จ่ายให้หมดจดจากความตระหนี่ถี่เหนียว และ
ความโลภ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสกปรกทางใจอย่างหนึ่ง
หากเรามองหลักการจ่ายซะกาตจากแง่สังคม
เราจะเห็นว่าบรรดาผู้ที่มีสิทธิได้รับซะกาตนั้นมักเป็นผู้ที่เป็นปัญหาในสังคม
ดังนั้นการนำซะกาตไปให้แก่คนเหล่านี้จึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ถูกจุด ขณะเดียวกัน
ถ้าเรามองจากทางด้านเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่าซะกาตจะทำให้ คนยากจน คนอนาถา
ในสังคมมีอำนาจซื้อเพื่มขึ้นเพราะมีการถ่ายเททรัพย์สินจากคนรวยไปสู่คนจน
และเมื่อคนเหล่านี้มีอำนาจซื้อก็จะส่งผลให้มีการผลิตสนองตอบความต้องการ
ทำให้มีการจ้างงานและมีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจติดตามมา
ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่าการจ่ายซะกาต
นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ
โดยผ่านทางการช่วยเหลือสังคมด้วย
ซะกาตมี
2 ประเภทคือ
2.
ซะกาตมาล หรือซะกาตทรัพย์สิน
เป็นซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้ว
ในอัตราที่ต่างกันตามประเภทของทรัพย์สิน ตั้งแต่ร้อยละ 2.5% ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น