วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ยุทธศาสตร์ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา พระมหากรุณาธิคุณ แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้


ยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คือ เข้าใจเข้าถึงพัฒนาในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ที่มีปัญหายืดเยื้อยาวนานมากว่า 10 ปียุทธศาสตร์พระราชทานเข้าใจเข้าถึงพัฒนานับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งหลัก เข้าใจคือเข้าใจปัญหาเข้าใจประชาชนเข้าใจงานที่ปฏิบัติและงานที่เกี่ยวข้องเข้าถึงคือเข้าถึงทุกพื้นที่เข้าถึงจิตใจประชาชนและพัฒนาคือพัฒนาในทุกๆด้านควบคู่กันไปกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจนพัฒนาอย่างเป็นระบบ
โดยทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ต่างได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจเข้าถึงพัฒนามาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กับหลักการการเมืองนำการทหารรวมทั้งใช้แนวทางสันติวิธีเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกันการดำเนินยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น นอกจากจะน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจเข้าถึงพัฒนามาปรับใช้แล้ว

โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้ง ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือ คณะผู้แทนพิเศษของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ส่วนหน้า จำนวน 13 คน โดยมี บิ๊กโด่งพล.อ.อุดมเดชสีตบุตรรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธาน คปต.ส่วนหน้า มีการประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน และการประสานการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนและทุกระดับ โดยเฉพาะในพื้นที่ จชต. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานการแก้ไขปัญหา จชต. ให้บรรลุผลตามนโยบายของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

เมื่อ 6 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา และแบ่งมอบงาน
สำหรับการมอบงานของ คปต.ส่วนหน้า ตามกรอบแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. พ.ศ.2558-2560 กำหนดภารกิจงานไว้ 7 กลุ่ม เพื่อให้ผู้แทนพิเศษฯ ได้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มภารกิจงาน รวมทั้งการดำเนินงานของกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มีการแบ่งมอบความรับผิดชอบไว้ทั้ง 20 กระทรวง เพื่อให้
ผู้แทนพิเศษฯได้ประสานเชื่อมโยงกับกระทรวงที่รับผิดชอบ และหน่วยงานอื่นที่ไม่สังกัดกระทรวง ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหา จชต.ในระยะต่อไปเป็นไปอย่างมีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี และปรากฏผลเป็นรูปธรรมตามคำสั่ง คสช. โดยการแบ่งมอบงานดังนี้
          1.งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พล.อ.ปราการ ชลยุทธ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงาน ในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
          2.งานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ มี บิ๊กแขกพล.อ.สกลชื่นตระกูลอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรมและผลการค้นหากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และพล.ต.ท.ไพฑูรย์ชูชัยยะเป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
          3.งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ/เรื่องสิทธิมนุษยชน มี พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมประชาสัมพันธ์
          4.งานการศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม บิ๊กน้อยพล.อ.สุรเชษฐ์ชัยวงศ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการและบิ๊กเอียดพล.ท.วิวรรธน์ปฐมภาคย์อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
          5.งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขาฯศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และ ศอ.บต. และ นายจำนัล เหมือนดำ รองเลขาฯ ศอ.บต. เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          6.งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐและงานขับเคลื่อนนโยบาย มี พล.อ.จำลอง คุณสงค์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)
และ นายพรชาติ บุนนาค อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของ สมช. สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง
         7.งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี บิ๊กเมาพล.อ.อุดมชัยธรรมสาโรรัชต์อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) และ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขพบปะนักวิชาการสันติวิธี เป็นผู้รับมอบงานในการติดตามการดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงคมนาคม
ขณะที่ในมุมมองของนักวิชาการ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล แห่งสถาบันพระปกเกล้า ให้ความเห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ว่า การจัดตั้ง คปต.ส่วนหน้า หรือ ครม.ส่วนหน้าขึ้นมา นั้นเข้าใจว่าเป็นการนำเอางบประมาณลงไปยังพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่น เพราะแรกเริ่มเดิมทีเวลาจะมีงานหรือกิจกรรมใดๆ ก็จะไปจัดในพื้นที่รอบนอก อาทิ จ.สุราษฎร์ธานี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จะทำให้การกระจายรายได้อะไรต่างๆ ลงไปที่จังหวัดนั้นนั้นโดยไม่ได้ลงไปยังพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น การตั้ง คปต.ส่วนหน้าขึ้นมามีประโยชน์ตรงที่
 1.งบประมาณลงไปถึงพื้นที่ได้อย่างแท้ จริง และ

 2.สามารถทำให้การบูรณาการแต่เดิมที่มีหลายหน่วยงานทำให้กำหนดยุทธศาสตร์แผนงานต่างๆ จะไม่เป็นเอกภาพ แต่เมื่อมีการกำหนดคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นมาก็จะทำให้ยุทธศาสตร์และแผนงานมีความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น

                การที่รัฐบาลได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหานี้ขึ้นมา ก็เพื่อหวังให้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยมีทั้งนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล นิคมอุตสาหกรรมยาง ซึ่งถ้าหากผลักดันได้แล้วจริง ก็จะนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ยกระดับรายได้ได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการทดลองว่าการที่ภาครัฐเข้าไปช่วยให้คนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ที่ดีขึ้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ลดสถิติความรุนแรงได้หรือไม่ ถ้าช่วยได้ก็จะจัดทำเป็นสถิติขึ้นมาและกำหนดเป็นกรอบยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจนต่อไป พล.อ.เอกชัยกล่าว
             พล.อ.เอกชัยยังให้ความเห็นแนวทางดับไฟใต้ด้วยหลักการเมืองนำการทหาร ว่าเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการที่ใช้กำลังทหารด้วยอาวุธเข้าแก้ไขปัญหาจะไม่สามารถตอบโจทย์ช่วยลดความรุนแรงลงได้ ในทางกลับกันหากเราใช้หลักการเมืองนำการทหารด้วยการช่วยเหลือให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยที่ไม่ใช้กำลังอาวุธในการแก้ไขปัญหา หากแต่เน้นงานพัฒนาเข้ามาแทนที่แทน พร้อมทั้งสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะส่งผลให้สถานการณ์ความรุนแรงลดสถิติลงได้

สำหรับพระราชดำรัส เข้าใจเข้าถึงและพัฒนา
พล.อ.เอกชัยระบุว่า การน้อมนำเอาหลักปรัชญาดังกล่าวทุกหน่วยงานในพื้นที่ล้วนยึดถือมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านความมั่นคงเพราะว่าการจะเข้าใจและเข้าถึงคนในพื้นที่เราต้องดูก่อนว่าวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่เป็นอย่างไร เพราะร้อยละ 80% เป็นคนมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น อาจจะเข้าถึงและเข้าใจ เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องศึกษาความเป็นอยู่ของพวกเขาตั้งแต่เกิดจนตาย ว่ามีขนบประเพณีความเป็นอยู่เป็นอย่างไร อาทิ คนมุสลิมไม่ชอบหมูเพราะเป็นสัตว์สกปรก หรือการจะขึ้นบ้านเขาจะต้องถอดรองเท้า รู้ว่าการละหมาดเวลาใดบ้าง ในเมื่อเราเข้าใจ และเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว เราก็ต้องพัฒนาคนในพื้นที่ด้วย การพัฒนานั้นจะต้องพัฒนาบนพื้นฐานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพวกเขา มิใช่พัฒนาตามแบบส่วนกลางที่เป็นทุนนิยมเสรี เพราะคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรก็ต้องอยู่อย่างพอเพียง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น