วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

“ฉลาดรู้” ตามแนวพระราชดำริ

การเรียนรู้ ฉลาดรู้ตามแนวพระราชดำริ หมายถึงอะไร ควรจะได้


เข้าใจก่อนว่า ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ฉลาดหมายถึง เฉียบแหลม ไหวพริบดี หรือปัญญาดีรู้หมายถึง แจ้ง เข้าใจ ทราบดังนั้น ฉลาดรู้ตามแนวพระราชดำริ ควรจะหมายถึง การทำความเข้าใจแนวพระราชดำริและมีไหวพริบที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยความพอมี พอกินและสร้างความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงต่อไป แล้วได้ใช้ความเข้าใจอย่างมีไหวพริบมาปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันของตนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและกาลเทศะของตนซึ่งควรจะประกอบด้วยหลักการตามแนวพระราชดำริ ดังนี้

๑. ฉลาดรู้ที่จะมองอย่างองค์รวม นั่นคือ การจะทำอะไรก็ตามจะต้องมองให้ครบวงจรก่อนว่าในภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ควรจะได้ดำเนินการอย่างไร มีวิธีไหนบ้างที่จะดำเนินการให้เกิดประโยชน์ เมื่อดำเนินการแล้วจะมีผลกระทบกับใครบ้าง จะจัดการอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร ต้องมีการเตรียมการไว้ทุกขั้นตอน

๒. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรอย่างผู้รู้จริง นั่นคือจะทำอะไรต้องศึกษาหาความรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยการตั้งใจศึกษาหาข้อมูลจากหลายๆ ทางให้ทราบแน่ชัด ละเอียด รอบคอบ เมื่อปฏิบัติก็จะต้องมีความเข้าใจจริง ถูกต้อง

๓. ฉลาดรู้ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกระทำสิ่งใดก็ตามหากได้รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นๆ หลายๆ ฝ่าย ย่อมเป็นข้อมูลที่ดีในการตัดสินใจที่จะทำอะไร เพราะความคิดของผู้อื่นจะเพิ่มความฉลาด ให้ได้มีความคิดที่กว้างขวางสามารถสรุปผลได้ถูกต้อง และสอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อคนส่วนใหญ่

๔. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรเป็นขั้นตอน นั่นคือการทำงานอะไรก็ตามควรจะรู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ควรจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง เพื่อให้งานในภาพรวมเป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภาพรวมนั้นต้องการให้คนอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง แต่ก็ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนไปดังพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาประชากรที่พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม๒๕๑๗ ที่ขออัญเชิญมาดังนี้



“...ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชน
ส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด
แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร
และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ
และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...

การที่จะทำอะไรก็ตามควรที่จะมอง
สภาพสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์

๕. ฉลาดรู้ที่จะใช้สิ่งใกล้ตัวและรอบตัว  ให้เป็นประโยชน์การที่จะทำอะไรก็ตามควรที่จะมองสภาพสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ ย่อมสอดคล้องมากกว่า ทั้งเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติหรือสังคม ดังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สังคม คือสภาพแวดล้อมและคน ซึ่งมี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่ ๖ ศูนย์ เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาคที่มีสภาพภูมิศาสตร์ในสังคมที่แตกต่างกัน ให้เป็นสถานบริการเบ็ดเสร็จสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปองค์ความรู้มีอยู่รอบตัว ต้องมีสติ มีสมาธิ เพียงพอที่จะใช้ปัญญาแสวงหาความรู้และปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่งให้ก่อประโยชน์

๖. ฉลาดรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป เช่นใช้น้ำทุกหยดอย่างมีคุณค่า และรักษาไว้ให้มีความสมบูรณ์ตลอดไป และนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างคุ้มค่า มีการดูแลรักษาอย่างดีที่ใดเสื่อมโทรมไปก็ควรดำเนินการซ่อมเสริม หรือทำการใดให้มีดังเดิมหรือมากยิ่งๆ ขึ้น และแนวพระราชดำริเรื่องไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง เป็นแนวคิดของการผสมผสานการอนุรักษ์ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปลูกป่า ๓ อย่าง แต่ให้ประโยชน์ ๔ อย่างซึ่งได้แก่ ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืน รวมทั้งสามารถให้ประโยชน์ได้ ๔ อย่างนอกจากประโยชน์ตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อย่างที่ ๔ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย

๗. ฉลาดรู้ที่จะนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตไทย มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตในปัจจุบัน

ฉลาดรู้จักใช้อะไรก็ตามอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งในชีวิตประจำวันส่วนตัวของแต่ละคน และในการทำงาน
หรือประกอบธุรกิจ หากใช้สิ่งใดอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
ก็จะเกิดประโยชน์กับตัวเองและสังคม

๘. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรด้วยความเรียบง่าย สิ่งใดที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็คิดทำให้ง่ายๆ อย่างโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสียบึงมักกะสันด้วยการใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติมาดูดซึมเอาโลหะหนักซึ่งเป็นต้นตอของน้ำเน่าเหม็น หรือการแก้ปัญหาการพังทลายของหน้าดินด้วยการปลูกหญ้าแฝก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำไปพร้อมๆ กันด้วย

๙. ฉลาดรู้จักใช้อะไรก็ตามอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในชีวิตประจำวันส่วนตัวของแต่ละคน และในการทำงานหรือประกอบธุรกิจ หากใช้สิ่งใดอย่างประหยัดและรู้คุณค่าก็จะเกิดประโยชน์กับตัวเองและสังคมตลอดจนประหยัดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอย่างยั่งยืน นำไปสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง

๑๐. ฉลาดรู้ที่จะ ขาดทุนคือกำไรนั่นคือรู้ว่าการกระทำอะไรในเบื้องต้นจะต้องลงทุนมาก ซึ่งระยะแรกๆ ก็จะขาดทุน แต่กำไรที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวนั้นจะมากมาย

๑๑. ฉลาดรู้จากการปฏิบัติ ทดสอบ ทดลอง จากของจริง อาทิโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่ง ศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตร รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิลและอื่นๆ สอง โครงการศึกษาทดลองดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจสามารถ

ฉลาดรู้ที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ
ดำรงชีวิตและการปฏิบัติงาน นั่นคือ เดินสายกลาง
มีความพอประมาณ ควรมีเหตุผล รวมถึง
มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ข้ามาศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้ได้ และสาม การดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในเชิงธุรกิจ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

๑๒. ฉลาดรู้ รู้ รัก สามัคคี รู้ อะไรอย่างแท้จริง ละเอียดล่วงหน้า รู้จักแยกแยะอะไรดีอะไรไม่ดี รัก ที่จะทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความเมตตาช่วยเหลือสังคม และแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความเข้าใจสามัคคี ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เกิดพลังในสังคม

๑๓. ฉลาดรู้ที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงาน นั่นคือ เดินสายกลาง มีความพอประมาณควรมีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินงานทุกขั้นตอน พร้อมทั้งมีพื้นฐานจิตใจที่มีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ

๑๔. ฉลาดรู้ในการใช้ธรรมะในการดำรงชีวิตและการทำงาน โดยการมีธรรมและวินัย ดังนี้




ฉลาดรู้ที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ
ดำรงชีวิตและการปฏิบัติงาน นั่นคือ เดินสายกลาง
มีความพอประมาณ ควรมีเหตุผล รวมถึง
มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

90 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่
๑) ทาน การให้ทาน แบ่งเป็น ธรรมทาน คือการให้ธรรมะถือเป็นการให้ทานอันสูงเลิศ และอามิสทาน คือการให้วัตถุ
สิ่งของ

๒) ศีล การรักษาศีล การมีศีล คือมีเจตนางดเว้นจาก การทำชั่วความทุจริต และเบียดเบียนทั้งทางกายและทางวาจา

๓) ปริจาคะ การบริจาคหรือเสียสละความสุขสำราญของตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบสุขของ
บ้านเมือง เสียสละความเห็นแก่ตัว นับว่าเป็นการเสียสละอย่างสูงยิ่ง

๔) อาชชวะ ความซื่อตรง ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริตมีความจริงใจซื่อตรงต่อตนเอง หน้าที่ และประเทศชาติ

๕) มัททวะ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยและกริยามารยาทสุภาพอ่อนโยนทั้งทางกาย วาจา และใจ

๖) ตบะ คือการบำเพ็ญตบะ ได้แก่ การทำความเพียรเพื่อเผากิเลสและความชั่วทั้งปวงที่มีอยู่ให้เบาบางลง และหมดไป
ตามลำดับ

๗) อักโกธะ ความไม่โกรธและไม่อาฆาตพยาบาท เป็นคุณธรรมที่สำคัญสำหรับพระราชาและข้าราชการ

๘) อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน การมีอวิหิงสา คือการงดเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ทำตนให้
เป็นคนสงบเสงี่ยม และสำรวมกาย วาจา ใจ ตลอดทั้งเป็นคนสันโดษ สะอาด ประหยัด เรียบง่าย ไม่ทำตนเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ชอบโอ้อวด ชอบความหรูหราฟุ่มเฟือยการทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 91

๙) ขันติ คือ ความอดทนต่อปัญหาอุปสรรคและความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง อดทนต่อแดดฝน ความร้อน ความหนาว
อดทนต่อความหิวกระหาย ต่อความเจ็บไข้ และคำเสียดสีดุด่าว่าร้าย เป็นต้น

๑๐) อวิโรธนะ คือ การวางตนเป็นหลักหนักแน่นในธรรม ไม่มี ความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำ ดี ร้าย หรือการปฏิบัติ
ไม่ให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากธรรม หรือการปฏิบัติไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความถูกต้องดีงาม ความสุจริตและยุติธรรม หรือความเที่ยงธรรมนั่นเอง

สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ ได้แก่
๑) ทาน การให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปัน
๒) ปิยะวาจา การกล่าววาจาไพเราะอ่อนหวาน มีสาระประโยชน์
๓) อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
๔) สมานัตตา การประพฤติตน วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือ ธรรมะ อันเป็นพระราชจริยานุวัตรสำหรับพระมหาจักรพรรดิพระราชาเอกในโลก ทั้งนี้ โดยพระมหากษัตริย์

ผู้ปกครองประชาชนทรงถือและอาศัยธรรมะข้อนี้เป็นธงชัยอันมี ๑๒ ประการ คือ
๑) ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
๒) ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
๓) ควรอนุเคราะห์พระราชวงศ์
๔) ควรเกื้อกูลพราหมณ์และคฤหบดีชน คือ เกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง92 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๕) ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
๖) ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล
๗) ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
๘) ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
๙) ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตกุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
๑๐) ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
๑๑) ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จฯ
๑๒) ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้หลักการดังกล่าวมาทั้ง ๑๔ ข้อ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติงานพัฒนาตามแนวพระราชดำริ และเป็นพระราชจริยวัตร หากได้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจแล้วใช้ความฉลาดหรือไหวพริบมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต หรือการปฏิบัติงานใดๆย่อมทำให้บุคคลนั้นพบแต่ความเจริญ และจะเป็นรากฐานที่ดีของประเทศ ซึ่งเป็นการสนองพระราชดำริแนวทางหนึ่ง


พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการพัฒนาการศึกษา 

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

..................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น