วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ขนมพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม จ.ชายแดนภาคใต้

ขนมกอและห์ (กอแหละขนมกวน) ขนมหวานพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิม จ.ยะลา ใช้เวลาทำนานมาก ทำจากแป้งข้าวเจ้าแดงกวนกับน้ำตาลทรายและน้ำตาลแว่น นึ่งให้สุกแล้วพักไว้ เคี่ยวกะทิจนมีขี้มันเป็นสีแดงเข้ม จากนั้นก็ตักราดลงบนขนม โรยหน้าด้วยมะพร้าวคั่ว


ตาแปอูปีกายู นิยมทานในโอกาสสำคัญหรือโอกาสพิเศษต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำไปชุบแป้งทอดด้วย




ขนมดู ขนมพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสงขลา



โรตีปาแย ชาวยะลามักทานเป็นอาหารเช้า กับน้ำชา กาแฟ



ขนมอาเกาะ (อาเก๊าะ, ตือปงอาเกาะ) ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาล กะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ แต่พิมพ์ของขนมอาเกาะใหญ่กว่า นิยมรับประทานในเดือนรอมฎอน 



รปะตีแก (ลอปะตีแก, กระโดดแทง) ขนมของชาวไทยมุสลิม จ.นราธิวาส หอมหวานกลมกล่อมจากกะทิที่ราดบนแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำใบเตย ราดด้วยน้ำผึ้งโหนด



ขนมซัมบูซะ (ซัมปูซ๊ะ) หน้าตาคล้ายปอเปี๊ยะทอดแต่ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แป้งห่อทำจากแป้งโรตี ไส้มีไส้ผัก เนื้อ ไก่ กุ้ง ทานกับน้ำจิ้ม



กะโป๊ะ (ข้าวเกรียบปลาสด) ของขึ้นชื่อของนราธิวาส ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำลูกชิ้นปลา นิยมทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม 



ฆอเดาะ ทำโดยตีไข่ น้ำตาล ขนุน ให้เข้ากันแล้วนำไปนึ่ง นิยมทานในช่วงรอมฎอน


บูงอ (ขนมดอกไม้) ทำโดยนำแป้งข้าวเหนียว มันเทศต้ม มาผสมรวมกับแป้งและน้ำเกลือ นวดให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมๆ นำไปชุบไข่แล้วทอดในน้ำมันร้อนๆ ทานพร้อมกับน้ำเชื่อม นิยมทานในช่วงรอมฎอน


ขนมอาซูรอ การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน จะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันกวนข้าว กวนโดยนำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟ คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบ ๆ ใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดใส่อาหารดิบต่าง ๆ คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบาง ๆ หรืออาจโรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายกันทาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น