วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การแข่งขันนกกรงหัวจุกของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


การเตรียมนกก่อนแข่งขัน มีดังนี้

1. การเตรียมอาหารและเตรียมน้ำให้มาก เพราะนกขาดน้ำ เสียงนกจะแหบ รวมทั้งเตรียมน้ำสำรองในเวลาพักนกด้วย
2. การเตรียมกรงที่จะใส่นกกรงหัวจุกเข้าประกวด โดยเปลี่ยนกรงก่อนสัก 3-4 วัน เพื่อให้ นกเคยชินกับกรง
3. การฝึกสอนนกให้บ่อยมากยิ่งขึ้น

4. การบำรุงให้นกเสียงดี และร้องได้นาน





มารยาทของผู้ส่งนกเข้าแข่งขัน มีดังนี้
1. ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
2. ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3. การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี
        


นกกรงหัวจุก  เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง

ลักษณะทั่วไปของนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุกเป็นนกในวงศ์นกปรอด  บางครั้งจะเรียกว่า  นกปรอดหัวโขน  เป็นนกที่มีรูปร่างน่ารัก  ที่มีลักษณะลำตัวใหญ่กว่านก กระจอกเล็กน้อย มีลักษณะเด่นคือ  หัวจะมีขนยาวคล้ายจุกสีดำ มีคอสั้น ปีกสั้น หางยาว ขนปกคลุมด้านบนลำตัว คอและด้านล่าง ลำตัวสีขาว หางด้านล่างมีสีแดง ปลายหางด้านล่างมีสีขาว ที่แก้มทั้งสองข้างและที่ก้นจะมีสีแดง  ลำตัวจะมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม  ส่วนท้องจะมีสีขาว ปีกและหางมีสีน้ำตาล

ลักษณะเด่นของนกกรงหัวจุก
ลักษณะเด่นคือ  มีเสียงร้องไพเราะ  นกชนิดนี้มักเป็นนกที่ไม่ค่อยตื่นกลัว  หรือตกใจง่าย  กระโดดหากินไปตามต้นไม้อย่างคล่องแคล่ว และส่งเสียงร้องอย่างสม่ำเสมอ อาหารได้แก่ พวกผลไม้และแมลง รังทำด้วยหญ้าและ กิ่งไม้สานกันอย่างบอบบาง เป็นรูปถ้วยเตี้ยๆ  อยู่ตามพุ่มไม้หรือต้นไม้เตี้ยๆ  วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง นกกรงหัวจุก  ยังมีชื่อเรียกตามแหล่งที่พบอีกเช่น ในภาคเหนือจะเรียกว่า นกปิ๊ดตะหลิว หรือฟิดจะลิว เป็นนกที่ไม่ค่อยมีปัญหา  เรื่องการเจ็บป่วย ติดโรคยาก  ถ้าเลี้ยงดูให้ดี  จะมีอายุยืนถึง 10 ปี เป็นนกที่นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อไว้ดูเล่นและแข่งขันเสียงร้อง
แหล่งที่พบนกกรงหัวจุก

พบบริเวณป่า ตามภูเขา เรือกสวนไร่นาและบริเวณที่มีการเพาะปลูก อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง  ป่าละเมาะ  นิยมอยู่ในพื้นที่ป่าโปร่ง  โดยจะอยู่กันเป็นกลุ่มตามพุ่มไม้หรือต้นไม้เตี้ยๆ  พบมากทางภาคใต้ และภาคเหนือของไทย เขตจังหวัดระนองจะพบในบริเวณชายป่าทั่วไป พบทั่วไปในบริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พบมากในอำเภอลำทับ อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม และจะพบมากในเขตอำเภอควนกาหลง อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

แหล่งที่มาของนกกรงหัวจุกนกกรงหัวจุกที่เลี้ยงในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่จะนำมาจากทางภาคเหนือและต่างประเทศ ดังนี้
นกกรงหัวจุกในประเทศไทย
1.นกกรงหัวจุกจากภาคเหนือมาจากจังหวัเพชรบูรณ์,พิษณุโลก,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,เชียงใหม่,เชียงราย,พะเยา
2. นกกรงหัวจุกจากภาคใต้ มาจากจังหวัดกระบี่, ตรัง, ระนอง, พังงา และนครศรีธรรมราชนกกรงหัวจุกจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศพม่า ผ่านเข้ามาทางภาคเหนือและทางจังหวัดระนองของไทย
แหล่งขายนกกรงหัวจุก

จังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งขายนกกรงหัวจุกแหล่งใหญ่ของไทยแหล่งหนึ่ง ในปีหนึ่งๆ จะมีการนำนกกรงหัวจุกมาขายนับ 100,000 ตัว โดยเฉพาะที่บ้านกูแบอีเต๊ะ ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งซื้อขายนกที่สำคัญของทางภาคใต้ เมื่อได้นกมาแล้ว ก็จะนำนกกรงหัวจุกมาขุนให้สมบูรณ์ แข็งแรงแล้วก็จะขายต่อไป โดยมีผู้ซื้อดังนี้
     
ผู้ซื้อในประเทศ
ผู้ที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก จะมาหาซื้อนกกรงหัวจุกไปเลี้ยง จะมาจากจังหวัดนราธิวาส, ยะลา, ตรัง, กระบี่, นครศรีธรรมราช, สงขลา, พังงา และจังหวัดปัตตานีเอง
   
ผู้ซื้อจากต่างประเทศ
มีผู้ซื้อจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์ มาซื้อนกกรงหัวจุกจากจังหวัดปัตตานีราคาของนกกรงหัวจุกนกกรงหัวจุกที่มีการซื้อขายกันในปัจจุบันนี้มีหลายราคา ขึ้นอยู่กับรูปร่าง จำนวนคำที่ร้อง สำนวน ท่าทางและลีลา และอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบ รวมทั้งนกกรงหัวจุกที่มีสีขนแปลกแตกต่างไปจากนกกรงหัวจุกธรรมดา นกกรงหัวจุกที่มีขนสีขาวทั้งตัว 

นกกรงหัวจุกที่มีขนลาย หรือนกกรงหัวจุกที่มีสร้อยที่หน้าอกติดกันเหมือนคอหมีควาย ที่หน้าอกเป็นรูปตัววี ซึ่งราคาของนกกรงหัวจุกที่ซื้อขายกัน มีดังนี้
       1. นกกรงหัวจุกที่ผู้ซื้อมาขาย ผู้ขายที่จังหวัดปัตตานี ก็จะคัดนกกรงหัวจุกที่มีลักษณะดีออกไปใส่กรงเดี่ยวไว้ ราคานกกรงหัวจุกที่ได้คัดนี้ จะมีราคาหลักหลายร้อยบาทจนถึงหลักพันบาทต่อตัว
       2. นกกรงหัวจุกที่เหลือจากที่ผู้ขายคัดแล้ว ผู้ขายก็จะใส่กรงรวมขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ผู้ซื้อจากจังหวัดอื่นๆ มาเลือกซื้อ จะมีราคาหลักร้อยบาทต่อตัวขึ้นไป
       3. นกกรงหัวจุกที่มีขนสีผิดไป จากนกกรงหัวจุกที่มีขนสีปกติ โดยเฉพาะนกกรงหัวจุกที่มีขนสีขาว จะมีราคาหลักหมื่นบาทต่อตัวขึ้นไป
       4. นกกรงหัวจุกที่ประกวดแข่งขันประชันเสียง และได้รางวัลแล้ว ก็จะมีราคาตั้งแต่หลักหลายพันบาท จนถึงหลักหมื่นบาทต่อตัว
       ซึ่งการซื้อขายนกกรงหัวจุกทั้ง 4 แบบนี้ จะตั้งราคาเท่าไหร่ก็แล้วแต่ความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่จะตกลงซื้อขายกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างนกกรงหัวจุกกับชุมชน
ใช้แข่งขันเพื่อสร้างความสามัคคี และการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาของคนในชุมชนสืบทอดประเพณีท้องถิ่น เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การแข่งขันนก    กรงหัวจุกจะใช้  4  ยก โดยการนำนกกรงหัวจุกไปแขวนไว้บนราว แต่ละยกใช้เวลา 20 นาที ตลอด 1 ยก จะมีกรรมการเดินดู ถ้านกกรงหัวจุกตัวไหนไม่ร้อง
ก็จะยกกรงลง จะทำอย่างนี้ไปจนครบ 4 ยก ทำให้เกิดความเพลิดเพลินในการฟังเสียงอันไพเราะของนกกรงหัวจุก ทำให้มีจิตใจเบิกบาน อารมณ์สดชื่น

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ       
Picture
1. ทำรายได้ให้กับช่างทำกรงนก ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 100 - 20,000 บาท ขึ้นกับวัสดุที่ใช้และความสวยงาม
2. เป็นการสร้างอาชีพ ในการเพาะเลี้ยงลูกนกไว้จำหน่าย
3. ทำให้มีรายได้หมุนเวียนในหมู่บ้าน  ตั้งแต่ กรง  -  อาหาร - ยา - อุปกรณ์การเลี้ยงนก

ประโยชน์ของการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
1. จะเป็นการให้พวกวัยรุ่นลดละเลิก ในเรื่องติดยาเสพติด เพราะจะมาสนใจเลี้ยงนกกรงหัวจุก
2. เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3. เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5. เป็นการสร้างรายได้ และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6. เป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7. หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้CREATE A FREE WEBSITE
POWERED BY

...................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น