เมื่อประมาณ 300 ปีเศษในเกาะชวา อินโดนีเซีย มีเจ้าเมืองเมืองหนึ่งได้จัดทำกริชขึ้นเจ้าเมืองบังคับให้ช่างกริชทุกคน
ส่งกริชเข้าประกวดเมื่อถึงกำหนดวันแข็งขันกรรมการผู้ตัดสินกริชสำรวจรายชื่อช่างตีกริชทั้งหมดปรากฏว่ามีช่างผู้หนึ่งไม่ได้ส่งกริชประกวดเจ้าเมืองจึงให้ทหารไปเอาช่างผู้นี้มาเมื่อช่างผู้นี้มาถึงวังก็มอบกริชของตนให้กรรมการพิจารณา ลักษณะด้ามทำด้วยเหง้าไม้ไผ่ฝักทำด้วยกากหมาก ทำให้เจ้าเมืองโกรธเพราะกริชไม่สวยเหมือนช่างกริชคนอื่นๆ ที่ประดับกริชค้วยทองคำเพรชพลอยอย่างสวยงามเจ้าเมืองก็เอากริชที่ไม่สวยนี้โยนทิ้งในสระน้ำและเนรเทศช่างผู้ทำออกจากเมือง
ก่อนออกจากเมืองนั้นช่างผู้นี้ได้กล่าวกับเจ้าเมืองว่ากริชที่ดีนั้นไม่ได้อยู่ที่เครื่องประดับตกแต่งแต่อยู่ที่ความขลังหรือความศักดิ์สิทธิ์
วันรุ่งขึ้นเจ้าเมืองได้พบปลาขนาดใหญ่ในสระลอยพร้อมมีดกริชปักอยู่เมื่อนำปลาขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นกริชที่เจ้าเมืองขว้างทิ้งเมื่อวานเมื่อเจ้าเมืองนึกคำพูดของช่างกริชรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่ได้เนรเทศช่างคนสำคัญ
เมื่อช่างตีกริชได้มาถึงปัตตานีก็เดินทางมาถึงเมืองรามันและพักอยู่ที่นั้นจนเจ้าเมืองรามันทราบเรื่องราวจึงให้ช่างผู้นี้ตีกริชให้ดูสักเล่มเมื่อทำเสร็จเจ้าเมืองได้ดูมีความประทับใจเป็นอย่างยิ่งจึงยกย่องช่างผู้นี้ปาแนซาเฆาะ หรือนายช่างผู้ยิ่งใหญ่ปาแนซาเฆาะได้ถ่ายทอดรูปแบบและเทคนิคในการตีกริชแก่ลูกศิษย์จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้เสื่อมความนิยมการใช้กริชเมื่อมีการออกกฎหมายห้ามพกพาอาวุธในที่สาธารณะ
จนกระทั่งในปัจจุบันมีช่างกริชกลุ่มหนึ่งได้รื้อฟื้นศิลปะการทำกริชโบราณให้ได้รับความนิยม จนกระทั่งกริชเป็นสินค้า otop ประเภทหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
ประวัติกริช และการก่อเกิดกลุ่มทำกริชรามันห์..
กริช เป็นศาสตราวุธชนิดหนึ่ง มีลักษณะปลายแหลมมีขนาดสั้นบ้าง ยาวบ้าง ความยาวเฉลี่ยประมาณ 12-16 นิ้ว รูปตรงแต่ปลายเรียวแหลมเล็กก็มี ตรงกลางป่องก็มี เป็นรูปคดไปคดมาอย่างที่เรียกว่าคดกริชก็มี คดแต่ตอนปลายเพียงคดเดียวก็มี ชาวมลายูถือว่านักรบผู้ใดถือกริชหลายคด ผู้นั้นนับเป็นเป็นนักรบผู้ยิ่งยง และมีอำนาจเหนือกองทัพ มีคมสองคมใช้สำหรับฟันด้ายก็มี มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะ แต่การจะกำไว้ในมือได้สะดวก ด้ามและฟักมักแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม บางด้ามประดับด้วยเงิน ทองหรือทองแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะผู้เป็นเจ้าของเป็นประการสำคัญ
กริชเป็นอาวุธประจำตัว ที่เคยนิยมใช้กันในภาคใต้ตลอดไปจนถึงชวา มาเลเซีย และประเทศใกล้เคียง เคยเป็นอาวุธประจำชาติของชวา และมาเลเซีย รวมทั้งถูกจัดอยู่ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ ของทั้งสองประเทศมาก่อน กริช นอกจากจะเป็นอาวุธสำคัญแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งถึงความเป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ผู้เป็นเจ้าของหรือวงตระกูลด้วย กริชถือเป็นของสำคัญ สามารถใช้แทนตัวเจ้าบ่าว ที่ติดภารกิจอื่นได้และจะได้รับการพกพาติดตัวตลอด แม้แต่เวลาอาบน้ำหรือเข้านอน
ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 แต่หลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย และพระเจ้าแผ่นดิน เคยพระราชทานกริช แก่ข้าราชบริพารใช้เหน็บเอวทางด้านซ้ายก็มี
เมื่อ ประมาณ 200 – 300 ปีก่อน เจ้าเมืองรามันห์หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปัจจุบัน ประสงค์จะให้มีกริช เป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง และต้องการมีกริชประจำตัวด้วยถึงกับเชิญช่างผู้ชำนาญการจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อว่า ช่างบันไดซาระ มาทำกริชที่เมืองรามันห์ในรูปแบบปัตตานีและรูปแบบรามันห์ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกริชรูปแบบนี้ถูกเรียกขานในท้องถิ่นว่า กริชรูปแบบบันไดซาระ ตามชื่อของช่างทำกริชชาวชวาผู้นั้น ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการสืบทอดการทำกริช ในพื้นที่เมืองรามันห์ โดยเฉพาะที่ตำบลตะโล๊ะหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน กริชที่เมืองรามันห์นิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นกพังกะ คือนกที่มีปีกและตัวสีเขียวปากยาวสีแดงอมเหลือง คอขาวบ้างแดงบ้าง นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กริชมีหลายรูปแบบ เช่น กริชแบบกลุ่มบาหลี และมดุรา กริชแบบชวา กริชแบบคาบสมุทรตอนเหนือ กริชแบบบูกิส กริชแบบสุมาตรา กริชแบบปัตตานี กริชแบบซุนดา หรือซุนดัง และกริชแบบสกุลช่างสงขลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น