หลักการและเหตุผล
จากการที่ สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมมือกับกรมราชองครักษ์
ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดทำโครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันผลของโครงการดังกล่าวทำให้มีสมาชิก
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เดิมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นเพียงอาชีพเสริม
เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่มวลสมาชิก ซึ่งมีอาชีพกรีดยางและทำสวนผลไม้ตามฤดูกาลเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันสามารถเป็นอาชีพที่เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้อย่างเป็นที่น่าพอใจยิ่ง
สมาชิกมีฐานะอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ เพราะผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำไปจำหน่ายให้แก่
ชุมชน กลุ่มสมาชิกราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน บุคคลทั่วไปส่วน ที่เหลือก็นำไปจำหน่ายให้แก่
โครงการฟาร์มฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่นาไปแปรรูปเป็นการเพิ่มมูลค่า และรักษา อายุผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานสามารถนำไปจำหน่ายในงานโอท๊อป
(OTOP) งานมหกรรมแสดงสินค้า
จนเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป
ดังนั้นในปี 2558 นี้ คณะทำงานโครงการพระราชดำริ
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถคณะที่ 1 จังหวัดสงขลา จึงมีความประสงค์ที่จะจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มขึ้น และต่อยอดในส่วนที่จัดตั้งแล้วและยังดำเนินการอยู่
เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ สามารถจัดตั้งเป็นธนาคารอาหารชุมชนได้ตามแนวพระราชดำริฯ
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าเป็นอาชีพเสริมที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา
2. เพื่อขยายเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจฯ
ให้มีการเชื่อมโยงเกิดการพึ่งพากันเองได้
3. เพื่อเป็นแห่งผลิตอาหารให้แก่ชุมชน
4. เพื่อจัดตั้งธนาคารอาหารชุมชน
5. เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน
6. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการนำไปประกอบอาชีพ
เป้าหมาย
ได้แก่สมาชิกราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 6,000 คน โครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในความรับผิดชอบของ
คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ 4 พื้นที่ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา (กรม
สน.พล.ร.15) จำนวน 4 แห่ง
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ.ควน อ.เทพา
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ.โคกพะยอม อ.เทพา
3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ.พุทธนิมิต อ.เทพา
4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ.ลำไพล อ.เทพา
1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักบ้านโคกพยอม ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 บ.โคกพยอม
ต.เกาะสะบ้า อ.เทพา จ.สงขลา ประธานกลุ่มชื่อ นายโกศล จันทรจิตร มีสมาชิก 23 คน
รูปแบบการดำเนินการ เป็นการปลูกพืชปลอดสารพิษ เพาะเห็ดนางฟ้า เลี้ยงโค
เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ทำปุ๋ยหมัก และผลิตภัณฑ์จากกระจูด
2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลาในกระชังบ้านควน หมู่ที่ 7 บ้านควน
ต.เกาะสะบ้า อ.เทพา จ.สงขลา ประธานกลุ่มชื่อ นายสุเชษฐ์ ทองสุข จำนวนสมาชิก 35 คน
รูปแบบการดำเนินการ เป็นการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบในกระชังและปลูกแตงโม
3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโครงการเพาะชำกล้าไม้และขยายพันธุ์กล้าไม้เลขที่
253/3 หมู่ที่ 1 บ.ลำไพล ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ประธานกลุ่มชื่อ น.ส.เสาวลักษณ์
แซ่ติ้ว จำนวนสมาชิก 30 คน รูปแบบการดำเนินการ เป็นการเพาะพันธุ์พืช กล้าไม้
กิ่งชำ กิ่งตอน แล้วนำมาจำหน่าย
4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์อาหารเศรษฐกิจพอเพียงบ้านพุทธนิมิต เลขที่ 94
หมู่ที่ 9
บ.พุทธนิมิต ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ประธานกลุ่มชื่อ นางญวง
กาญจนเพ็ญ จำนวนสมาชิก 37 คน รูปแบบการดำเนินการ เป็นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
และกลุ่มร้านค้าสวัสดิการ
*ข้อมูลจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น