“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
เบตง เป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทยเรา ถูกตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2441 คำว่า “เบตง” (Betong) มาจาก ภาษามลายู ว่า “Buluh Betong” หมายถึง ไม้ไผ่ หรือ ไผ่ตง
เราตามไปดูสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองเบตงกันนะครับ เริ่มต้นกันด้วย กราบไหว้พระ เพื่อความเป็นสิริมงคลกันก่อนนะครับ
วัดพุทธาธิวาส (Buddhadhiwat Temple)
” สถาปัตยกรรมที่งดงาม จัดสร้างอย่างมีชั้นเชิง ลดหลั่นตามสภาพความลาดเอียงของภูมิประเทศ
ก่อเกิดเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ที่มานมัสการมิเคยขาด “
วัดเบตง คือชื่อเดิมของวัดพุทธาธิวาส ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ลาดเอียงลงมาจรดถนนรัตนกิจด้านทิศเหนือ บนเนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา ได้รับอนุญาตให้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีคณะผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างคือพระพิทักษ์ธานี (เล็ก) นายอำเภอเบตง นายพุ่ม คชฤทธิ์ นายกิมซุ้ย ฟุ้งเสถียร และนายผล สุภาพ ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2510 วัดพุทธาธิวาส มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนนิยมมาสักการะบูชา 3 สิ่งคือ พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ พระพุทธธรรมกายมงคลปยุรเกศานนท์สุพพิธาน และวิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ
มีสถาปัยตกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์ขนาดความสูงเท่ากับตึก 13 ชั้น มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานนาม และเสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดฉัตรเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2536 ปัจจุบันเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาเบตง
พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน
เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประเภททองสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปองค์นี้ได้หล่อจากประเทศจีน และจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญในพระพุทธศาสนาประจำเมืองเบตง
มัสยิดกลาง อำเภอเบตง (The Central Mosque)
“อารยธรรมอันงดงามของศาสนาอิสลาม คือ จารีตประเพณีสำคัญ ที่สั่งสมมายังลูกหลาน ก่อเกิดเป็นการกระทำที่หนักแน่น แต่แฝงด้วยข้อคิดที่จรรโลงไว้ซึ่งหลักธรรมคำสอน และแนวทางการปฏิบัติอันเป็นเอกภาพ “
หอนาฬิกาคู่บ้านคู่เมือง (The Clock Tower of Betong)
หอนาฬิกา
ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างถนนสุขยางค์กับถนนรัตนกิจ
เป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่ที่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมายาวนาน
เปรียบเป็นสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของเมือง
ทำการก่อสร้างด้วยหินอ่อนอันเลื่องชื่อจากจังหวัดยะลา
ซึ่งได้รับการยอมรับในเรื่องของความ
แข็งแรง
สวยงามและคงทน ส่วนความเป็นหนึ่งของหอนาฬิกา
เบตงคงอยู่ที่การมีนกนางแอ่นนับหมื่นตัวจากไซบีเรียมาเกาะอยู่รอบ
ๆ หอนาฬิกา จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์คู่หอนาฬิกาและคู่เมืองเบตงในยามค่ำคืน
และด้วยความมีจิตใจโอบอ้อมอารีของผู้คนชาวเบตง ที่ไม่รบกวนความเป็นอยู่ของมัน
เหล่านกนางแอ่นจึงอยู่คู่เบตงให้นักท่องเที่ยวชมจนทุกวันนี้
เค้าว่ากันว่าหากใครโดนนกนางแอ่นขี้ใส่แล้วล่ะก็
จะได้กลับมาที่เบตงอีกครั้ง
และที่ใกล้ๆกับสีแยกหอนาฬิกา
มีตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในโลก ไปชมภาพกันครับ
ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในโลก (The World Biggest Mailbox)
ตู้ไปรษณีย์แห่งนี้
ตั้งอยู่ ณ มุมถนนสุขยางค์ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ 140 ซม. ตู้มีความสูงถึง 290 ซม. นับจากฐานขึ้นไป
รวมความสูงทั้งหมดประมาณ 320 ซม. อายุร่วม 80 ปีแล้วครับ
ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ (Betong Mong Kol Rit Tunnel)
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์
ตั้งอยู่ ณ
บริเวณถนนอมรฤทธิ์ตัดกับถนนภักดีดำรง
เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหา
การจราจร และการขนส่งระหว่างชุมชนเมืองในปัจจุบัน กับชุมชนเมืองใหม่ บริเวณถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความ
ยาว 273
เมตร กว้าง 9 เมตร
สูง 7 เมตร
ผิวการจราจรคู่กว้าง 7 เมตร
รถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทางเดินเท้าข้างละ 1
เมตร มีรางระบายน้ำทั้งสองข้างถนน
มีการติดตั้งไฟฟ้าให้แสงสว่างตลอดตัวอุโมงค์เพื่อความปลอดภัย พร้อมระบบระบายอากาศตามหลักวิศวกรรมสากลครับ
และที่อยากให้เยี่ยมชมอีกหนึ่งสถานที่ คือ สนามกีฬากลางหุบเขา ครับ ซึ่งใครจะรู้ว่าในพื้นที่กลางหุบเขาเช่นนี้ จะมีความยิ่งใหญ่ของสนามกีฬา เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของชาวเบตง ที่นอกจากใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแล้วสถานที่แห่งนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย
อุโมงค์ปิยะมิตร (Piyamitr Tunnel)
อุโมงค์ปิยะมิตร เป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการเพื่อหลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียง ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ล้อมรอบด้วยป่าทึบ
ภายในอุโมงค์มีความกว้างพอสำหรับคนเดินได้ มีความยาวของอุโมงค์ ประมาณ 1 กิโลเมตร ในอดีตมีทางเข้า-ออก 9 ทาง แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 6 ทาง โดยปัจจุบันยังคงมีกลิ่นอาย และร่องรอยของการ
ดำรงชีวิตที่หลงเหลืออยู่ครับ
และที่จะขาดไปไม่ได้เลย ก็คือ ป้ายใต้สุดในสยาม ยังไงล่ะครับ
ป้ายใต้สุดสยาม (The Southern)
หลักเขตป้ายใต้สุดสยาม ตั้งอยู่บริเวณชายแดนปลายสุดถนนสุขยางค์ ตามทางหลวงหมายเลข 410 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นแนวเขตแดนระหว่างอำเภอเบตง กับรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ความเป็นที่สุดของสถานที่นี้คือ ป้ายที่มีข้อความว่า “ใต้สุดสยาม” และรูปแผนที่ประเทศไทยสีทองซึ่งสลักบนหินอ่อน เพื่อการันตีว่าเป็นจุดสุดท้ายของผืนแผ่นดินไทยทางตอนใต้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกัน ว่าได้มาเที่ยวแล้วครับ
และมีสถานที่อีกที่หนึ่งที่แนะนำให้ทุกท่านได้ไปเยือน ซึ่งก็คือ สวนดอกไม้เมืองหนาว งงกันใช่ไหมล่ะครับ ว่าที่เบตงจะมีสวนดอกไม้เมืองหนาวได้ยังไงครับ ซึ่งทำให้เราอยากรู้เหมือนกันว่าที่ใต้สุดแดนสยาม จะมีสวนดอกไม้เมืองหนาวได้อย่างไร อากาศมันจะหนาวเหรอ ?? มันสูงแค่ไหนกันเชียว ??? ถึงwfhปลูกดอกไม้พวกนี้ได้ , ณ จุดนี้สูงมากกว่า 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลครับ ทำเลอยู่ในหุบเขา ดูแล้วน้ำท่าบริบูรณ์ ถึงว่า ดอกไม้เมืองหนาวจึงมีขายอยู่ในตลาดเบตง และมีแหล่งปลูกอยู่ที่นี่นั่นเอง เป็นโครงการดอกไม้เมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯครับ
สถานที่ท่องเี่ที่ยวในเบตง ยังมีอีกมากมายหลายที่ อาทิ ศาลเจ้าโต๊ะนิ ,ป่าบาลา-อาบา,วัดกวนอิม ,ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า บ้านกาแป๊ะกอตอ ,อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และบ่อน้ำร้อนเบตง เป็นต้น
อาหารขึ้นชื่ออย่างแรกต้่อง ไ่ก่สับเบตง ครับ
“ปลาจีนนึ่งบ๊วย” ( Steamed Chinese Fish with Plum )
หมี่เบตง และซีอิ๊วเบตง (Betong Noodles & Betong Soya Sauce)
หมี่เบตง เป็นอาหารขึ้นชื่อของเบตง มีคุณสมบัติพิเศษ คือเส้นเหนียวนุ่ม เมื่อนำไปผัดเส้นจะไม่ขาด ทำให้ผู้ที่ได้รับประทานติดใจในความเหนียวนุ่มของเส้นหมี่ หมี่เบตงมี 2 ชนิด คือ หมี่สีเหลืองเหมือนหมี่ทั่วไป ที่จะต้องนำไปนึ่งให้สุกแล้วนำมาจับเป็นก้อน เอาไปผึ่งแดดแล้วบรรจุลงถุง ส่วนหมี่ซั่วนั้นมีเส้นสีขาว ซึ่งต่างกันที่หมี่ซั่วนั้นไม่ต้องนึ่ง แต่นำไปตากแดดแทน ส่วนซีอิ๊วเบตง ซีอิ๊วที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
ยังมีอาหารคาวหวานให้ได้ชิมอีกมากมาย อาทิเช่น เฉาก๊วยโบราณ
ขอจบด้วยภาพแห่งความสุข ความประทับใจ สำหรับเมืองใต้สุดแดนสยามแห่งขวานทองของไทยเรากันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น