วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน


บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ได้แก่ คนเจ็บป่วย หญิงที่มีประจำเดือน หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถก็สามารถถือศีลอดได้ หญิงตั้งครรภ์ และคนแก่ชราที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ

1. คนป่วยมากจนไม่สามารถถือศีลอดทั้งวัน ต้องชดใช้ภายหลัง
2. หญิงมีประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร ต้องชดใช้ภายหลัง
3. คนเดินทางไกล ต้องชดใช้ภายหลัง
4. หญิงที่มีครรภ์ การถือศีลอดนั้น ถือเป็นข้อบังคับสำหรับนาง หากว่าการถือศีลอดนั้นไม่ทำให้เกิดความยากลำบากเกินไปสำหรับนาง และการถือศีลอดนั้นไม่ทำให้นางกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อบุตรของนาง ซึ่งในกรณีนี้ นางจะต้องทำการถือศีลอดและไม่อนุญาตให้นางงดเว้นจากการถือศีลอด




สำหรับกรณีที่การถือศีลอดนั้น ทำให้นางกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนาง และทำให้นางได้รับความยากลำบาก ในกรณีนี้ นางได้รับอนุญาตให้งดถือศีลอด แต่นางจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่นางขาดไป

ซึ่งในกรณีหลังนี้ เป็นการดีกว่าสำหรับนาง ที่จะละเว้นจากการถือศีลอดและเป็นการไม่เหมาะสมต่อนางที่จะทำการถือศีลอด เนื่องจากได้มีนักวิชาการบางท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า ในกรณีที่การถือศีลอดจะทำให้นางกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อบุตรของนาง เป็นความจำเป็นที่นางจะต้องงดเว้นจากการถือศีลอด และไม่เป็นที่อนุญาตให้นางทำการถือศีลอด (Al-Mirdaawi กล่าวไว้ใน al-Insaaf (7/382))

สตรีที่ตั้งครรภ์หรือเป็นผู้ที่กำลังให้นมบุตรอยู่นั้น จัดเป็นผู้เจ็บป่วยหากนางกังวลว่าการถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนาง ก็ให้นางงดเว้นจากการถือศีลอด และทำการชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไป ต้องชดใช้ภายหลัง และแจกอาหารตามจำนวนวันที่ขาดไป วันละ 1 ลิตร ถ้าหากไม่ชดใช้จนล่วงเข้าปีที่ 2 ต้องแจกอาหารวันละ 2 ลิตร และทวีขึ้นเรื่อย ๆ ไป

5. คนแก่มากหรือป่วยจนรักษาไม่หาย ไม่ต้องชดใช้การถือศีลอด แต่ต้องแจกอาหารในอัตราเดียวกับหญิงมีครรภ์
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเดือนรอมฎอน คือเพื่อเพิ่มความยำเกรงพระเจ้าให้มากขึ้น ต้องการให้เราทำทานมากขึ้น รวมถึงยังให้ฝึกฝนตนเองไว้ให้พร้อมสำหรับการญิฮาด (เสียสละ) ตลอดชีวิต สุดท้ายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคัมภีร์กุรอานให้มากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น