หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (Royal Thai Marine Corps) มีหน้าที่บังคับบัญชา
นาวิกโยธิน คือ ทหารเรือที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ
เพื่อปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากในน่านน้ำตามปกติ โดยมุ่งเน้นการรบภาคพื้นดิน นับ
เป็นการรบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสนับสนุนการรบของทหารเรือ
และอาจทำการรบร่วมกับทหารจากหน่วยรบอื่นๆ เช่น ทหารบก หรือ ทหารอากาศก็ได้
นาวิกโยธินจึงเปรียบเสมือนทหารเหล่าราบของกองทัพเรือนั่นเอง
ทหารเรือฝ่ายนาวิกโยธินนับว่ามีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น
ทหารนาวิกโยธิน มีประวัติมาช้านานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีคำว่า “นาวิกโยธิน” แต่เดิม ทหารนาวิกโยธิน ไทยใช้ชื่อว่า “ทหารมะรีน” ทับศัพท์ตามภาษาต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงเหล่าทหารเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบอย่างทหารบก โดยให้ทหารมะรีนลงประจำเรือรบ ประจำตามป้อมค่ายของทหารเรือและตามฐานทัพเรือทั้งในประเทศและนอกประเทศทหารมะรีนที่ลงประจำในเรือรบสมัยเรือใบ มีหน้าที่ ยิงปืนใหญ่ และเมื่อเรือเข้าเทียบกันก็จะตะลุมบอนรบกันด้วยอาวุธสั้น เช่นดาบ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งหมดกำลังต่อสู้ต้องยอมแพ้ในที่สุด
ทหารเรือฝ่ายนาวิกโยธินนับว่ามีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น
ทหารนาวิกโยธิน มีประวัติมาช้านานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีคำว่า “นาวิกโยธิน” แต่เดิม ทหารนาวิกโยธิน ไทยใช้ชื่อว่า “ทหารมะรีน” ทับศัพท์ตามภาษาต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงเหล่าทหารเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบอย่างทหารบก โดยให้ทหารมะรีนลงประจำเรือรบ ประจำตามป้อมค่ายของทหารเรือและตามฐานทัพเรือทั้งในประเทศและนอกประเทศทหารมะรีนที่ลงประจำในเรือรบสมัยเรือใบ มีหน้าที่ ยิงปืนใหญ่ และเมื่อเรือเข้าเทียบกันก็จะตะลุมบอนรบกันด้วยอาวุธสั้น เช่นดาบ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งหมดกำลังต่อสู้ต้องยอมแพ้ในที่สุด
สำหรับทหารนาวิกโยธินของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ
ในปัจจุบันมีภารกิจในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การรบทางบกและการรบพิเศษ
การรักษาความปลอดภัยให้แก่ที่ตั้งหน่วยทหารของกองทัพเรือ ณ ที่ตั้งปกติบนบก
จัดเตรียมและฝึกอบรมกำลังทหารนาวิกโยธินให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะปฏิบัติตามภารกิจ
ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยาการของทหารนาวิกโยธิน รวมทั้งปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ
ตามที่กองทัพเรือจะมอบหมาย โดยมีที่ตั้งหน่วยระดับกองพลอยู่ที่ กรมทหารราบที่ ๑
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หน่วยรองในระดับกรมและกองพัน
มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส นอกจากนั้น หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ได้ส่งกำลังไปปฏิบัติภารกิจในภาคต่าง ๆ ของประเทศ ดังนี้
ภาคตะวันออก
ได้ประกอบกำลังกับหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ เป็น
กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
ดำเนินการรักษาความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย
รวมทั้งต่อสู้ภัยคุกคามจากภายในและภายนอกประเทศในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้จัดกำลังกองร้อยปืนเล็ก
เพิ่มเติมกำลังไปสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.)
ในภารกิจป้องกันสถานีเรือ และหน่วยเคลื่อนที่เร็วตามลำแม่น้ำโขง
ภาคใต้
ได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส
ซึ่งเดิมมีภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)
ที่มีการก่อตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ค่ายกรุงชิง
ทหารนาวิกโยธินได้เข้าปราบปรามและยึดค่ายกรุงชิงได้สำเร็จ
และได้รับมอบหมายให้มีภารกิจดูแลความสงบเรียบร้อยและปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้กลุ่มต่าง
ๆ ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ต่อมาจนปัจจุบัน
เนื่องในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
กองทัพเรือได้รับพระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช “ราชนาวิกโยธิน” จึงได้กำหนดให้วันดังกล่าว เป็น “วันทหารนาวิกโยธิน” สำหรับความเป็นมานั้น พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ อดีต
ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้เคยกล่าวไว้โดยสังเขป ดังนี้
“วันหนึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ๒๕๐๒
นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน
ได้ปฏิบัติหน้าที่เวรราชองครักษ์ ณ ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญกับการทรงดนตรีอยู่นั้น
ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ขึ้นไปร้องเพลงนาวิกโยธิน
นาวาเอก สนองฯ ได้กราบบังคมทูลข้อเท็จจริงว่า “เพลงนาวิกโยธิน” ยังไม่มีและได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธินต่อพระองค์
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เหล่าทหารนาวิกโยธิน ต่อมาในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช “ราชนาวิกโยธิน” แด่ทหารนาวิกโยธิน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ทหารนาวิกโยธินเป็นอย่างยิ่ง
และต่อมาคณะนายทหารนาวิกโยธิน ก็ได้ร่วมกันประพันธ์คำร้องขึ้น
และได้กำหนดให้วันที่ ๒๘ มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันทหารนาวิกโยธิน” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒
วงโยธวาทิตของนาวิกโยธินสหรัฐและวงดุริยางค์ราชนาวี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์
มาร์ช “ราชนาวิกโยธิน” บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นปฐมฤกษ์ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ
นับตั้งแต่นั้นตราบจนปัจจุบัน เพลง มาร์ช “ราชนาวิกโยธิน” จึงเป็นเพลงประจำหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินที่มีคุณค่ายิ่งแก่ทหารนาวิกโยธิน
สืบต่อมา “วันทหารนาวิกโยธิน”
เพลงพระราชนิพนธ์
มาร์ชราชนาวิกโยธิน หรือ Royal Marines March เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่
๒๙ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ พล.ร.ต.สนอง นิสาลักษณ์
ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธินใน ขณะนั้น
ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำกรมนาวิกโยธิน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒
และได้โปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒
โดยวงดนตรีประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกัน
ประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย ประพันธ์คำร้องโดย
พลเรือโทจตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และ พลเรือโทสุมิตร ชื่นมนุษย์
นามปากกา-นักเดินทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น